ปลาทะเล(โอเมกา3)ลดเสี่ยงลำไส้อักเสบ


 

...

โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังชนิดมีแผล (ulcerative colitis / UC) พบได้ประปรายในฝรั่ง (ชาวตะวันตก) การศึกษาใหม่พบว่า การกินไขมันโอเมกา-6 สูงเพิ่มเสี่ยงโรคนี้ (UC) [ BBC ]

อ.ดร.แอนดรูว์ ฮาร์ท และคณะ แห่งมหาวิทยาลัยอีสท์ แองเกลีย (East Anglia U; Anglia น่าจะมาจากชื่อเผ่าคนอังกฤษส่วนใหญ่ คือ แองโกล-แซกซอน / Anglo-Saxon ซึ่งข้ามทะเลมาจากยุโรปตอนกลาง ขับไล่ชาวเคลต์เดิมให้กลายเป็นชนกลุ่มน้อย), นอร์วิช UK, ทำการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 200,000 คน

...

ผลการศึกษาพบว่า การกินไขมันไม่อิ่มตัวชนิด "โอเมกา-6" ชื่อ 'linoleic acid (กรดไลโนเลอิค)' เพิ่มเสี่ยงโรคนี้

โอเมกา-6 พบมากในน้ำมันพืชส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่กะทิ น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันปาล์ม เช่น น้ำมันทานตะวัน ดอกคำฝอย ถั่วเหลือง ข้าวโพด วอลนัท ฯลฯ

...

ส่วนการกินกรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิด "โอเมกา-3" ซึ่งพบมากในน้ำมันปลา ปลาทะเลที่ไม่ผ่านการทอด เช่น ปลากระป๋อง ฯลฯ ลดความเสี่ยงโรคนี้ 77%

คณะวิจัยนานาชาติวิเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษาโภชนาการยุโรป ( EPIC / European Prospective Investigation into Cancer and Nutrition)

...

กลไกที่เป็นไปได้ คือ โอเมกา-6 เปลี่ยนเป็นกรดอะราคิโดนิค (arachidonic acid) ซึ่งเป็นส่วนประกอบผนังเยื่อหุ้มเซลล์ลำไส้ใหญ่

การมีสารนี้มากเกินทำให้ธาตุไฟกำเริบ (inflammation; inflam- = ไฟ การอักเสบ) เกิดการอักเสบเรื้อรัง

...

กลุ่มตัวอย่างที่กินโอเมกา-6 มากที่สุด เป็นโรคนี้มากขึ้นเกิน 3 เท่า (300%) เมื่อเทียบกับคนที่กินน้อยที่สุด

คน UK กินโอเมกา-6 ชนิดกรดไลโนเลอิคเฉลี่ยวันละ 10 กรัม เทียบเท่าน้ำมันทานตะวัน 3 ช้อนชามาตรฐาน = เนยเทียมชนิดแพง ทำจากน้ำมันพืชที่ไม่ใช่ปาล์ม-น้ำมันมะพร้าว 9 ช้อนชา

...

การศึกษานี้เป็นการศึกษาแรกเริ่ม จำเป็นต้องรอผลการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุนหรือคัดค้านต่อไป ทว่า... สอดคล้องกับแนวคิดที่ว่า การกินโอเมกา-3 น้อย, กินโอเมกา-6 มากน่าจะไม่ดีกับสุขภาพ

ไขมันที่คนเรากินแบ่งเป็น 5 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่

  • (1). ไขมันทรานส์หรือไขมันจากโรงงาน > "อันตรายมากที่สุด" พบมากในเบเกอรี ขนมกรุบกรอบ ขนมสำเร็จรูป เนยขาว ครีมเทียม ฯลฯ
  • (2). ไขมันอิ่มตัว > "อันตรายมาก" พบมากในกะทิ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม น้ำมันหมู น้ำมันสัตว์ มันหมู
  • (3). โอเมกา-6 (ไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง) > "น้อยๆดี-มากไปไม่ดี" พบมากในน้ำมันพืชส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่น้ำมันมะพร้าว-น้ำมันปาล์ม เช่น ทานตะวัน ถั่วเหลือง ข้าวโพด ฯลฯ
  • (4). โอเมกา-9 (ไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว) > "ดีมาก" พบมากในน้ำมันมะกอก รำข้าว คาโนลา เมล็ดชา ถั่วลิสง
  • (5). โอเมกา-3 (ไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง) > "ดีพิเศษ" พบมากในปลาทะเลที่ไม่ผ่านการทอด น้ำมันปลา เมล็ดปอป่าน (แฟลกซีด), นัท (ถั่วเปลือกแข็ง เช่น อัลมอนด์ ฯลฯ)

...

แนวทางการกินอาหารเพื่อสุขภาพตอนนี้เน้นให้หลีกเลี่ยงน้ำมันข้อ (1), (2) + โน้มไปทางข้อ (4), (5) + กินถั่วหลายๆ ชนิดหมุนเวียนกัน เพื่อให้ได้น้ำมันข้อ (3) และได้เส้นใย (ไฟเบอร์) ชนิดดีมากจากพืชตระกูลถั่ว หรือเส้นใยชนิดละลายน้ำ

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

... 

 > Thank BBC

ที่มา                                                                      

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า >  > 24 กรกฎาคม 2552.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.

หมายเลขบันทึก: 279721เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2009 13:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท