ควาความตระหนักรู้ และความพร้อมของชุมชน เมื่อเกิดภัยพิบัติในอนาคต


ภัยพิบัติ

ความตระหนักรู้ และความพร้อมของชุมชน เมื่อเกิดภัยพิบัติในอนาคต             

 ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันเป็นที่รับรู้กันถึงความถี่ของการเกิดขึ้น และความรุนแรงของภัยธรรมชาติ ที่สร้างความเสียหายอย่างมากมายและกว้างขวาง และมีหลายประเภทตั้งแต่ พายุ น้ำท่วม แผ่นดินไหว แผ่นดินถล่ม แผ่นดินยุบตัว ทั้งนี้จากข้อมูลของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติพบว่าตั้งแต่ต้นปี 2551 จนถึงวันที่  4 พย. มีการแจ้งเตือนภัยพิบัติทั้งสิน 420 ครั้ง ทั้งทางบกและทางทะเล ทั้งในประเทศไทยเอง และประเทศเพื่อบ้าน ที่อาจจะส่งผลกระทบมาถึงประเทศไทย

ในขณะที่ประเทศไทยได้รับผลกระทบอย่างหนักจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย สึนามิ ทั้งชีวิตและทรัพย์สินที่อยู่อาศัย ทรัพยากร รวมทั้งผลกระทบต่อเนื่องในเรื่องของระบบเศรษฐกิจ และฐานทรัพยากร บทเรียนจากความเสียหายที่เกิดขึ้น ทำให้ชุมชนที่ได้รับความเสียหายอย่างหนัก เช่น ชุมชนบ้านน้ำเค็ม อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา  ชุมชนนี้ตัดสินใจว่าพวกเขาจำเป็นต้องมีแผนเตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติ ที่หมู่บ้านเกาะปันหยี อ.เมือง จ.พังงา ซึ่งเป็นเกาะที่มีเสี่ยงภัยสูง อยู่โดดเดี่ยวห่างจากบริการภาครัฐและแผ่นดินใหญ่ และต้องพึ่งพาการขนส่งทางทะเล ซึ่งเป็นเรื่องหลักที่น่าเป็นห่วงและเป็นสาเหตุในการระดมชุมชนเพื่อดำเนินงานเตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติ ในขณะที่บางชุมชนมีความตระหนักรู้ค่อนข้างต่ำในเรื่องภัยพิบัติเนื่องจากไม่ค่อยมีภัยเกิดขึ้น และหลายชุมชนไม่เคยเกิดภัยพิบัติขึ้นในชุมชน การดำเนินงานด้านการสร้างการเตรียมความพร้อมจึงเป็นเรื่องใหม่ และเป็นการยากต่อการทำความเข้าใจกับชุมชนให้เห็นถึงความสำคัญ

ปัจจัยที่ส่งผลอย่างสำคัญในการสร้างความพร้อมคือ การมีส่วนร่วมของชุมชน และชุมชนรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ ทั้งชุมชนบ้านน้ำเค็ม และบ้านเกาะปันหยี มีกระบวนการอย่างชัดเจนในการสร้างทีมงานอาสาสมัคร การจัดทำแผนการเตรียมความพร้อมของชุมชน การสร้างความเข้าใจร่วมกันถึง วิธีการปฏิบัติตัว ระบบสัญญาณเตือนภัยในชุมชน สัญลักษณ์ ป้ายบอกเส้นทาง จุดปลอดภัยของชุมชน รวมถึงการฝึกซ้อมแผน

อย่างไรก็ตามในหลายพื้นที่ที่ได้มีการริเริ่มงานเตรียมความพร้อมของชุมชน เช่นที่บ้านท่าคลอง อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ บ้านท่าเลน อ.เมือง จ.กระบี่ จะให้ความสำคัญกับงานเตรียมความพร้อมที่ส่งผลถึง การหาเลี้ยงชีพของชุมชน ดังนั้นการที่จะทำให้ชุมชนเกิดความตระหนักในเรื่องการสร้างความพร้อมของชุมชนในการรับมือภัยพิบัติ อาจจะเริ่มต้นที่การวิเคราะห์ผลกระทบ การลดความเสี่ยง การสร้างความมั่นคงทางด้านการหาเลี้ยงชีพในชุมชนและนำไปสู่การดำเนินงานด้านการจัดทำแผนเตรียมความพร้อมของชุมชนต่อไป

หมายเลขบันทึก: 279411เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2009 14:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 15:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีครับพี่

ผมได้ไปพบครูกับนักเรียนที่รวมกล่มกันเป็นอาสาสมัครฟื้นฟูชายฝั่งทะเล ที่สมุทรสาคร

พวกเขาประสบปัญหากับการที่คลื่นเซาะชายฝั่งไปมากจนเสาไฟฟ้า โรงเรียน และหมู่บ้านหายไปในทะเล จากที่เคยมี 200 หลังคาเรือน เหลือแค่ประมาณ 20 หลังคาเรือน แล้วมีแนวโน้มว่าถ้าพายุเข้าแรง คงจะหายไปอีกหลายหลัง ผมเลยเริ่มจะสนใจเรื่องนี้ขึ้นมา (ทั้งๆที่เคยดูในทีวีก็เฉยๆ แต่ไปดูของจริงแล้วตระหนักทันที) ผมก็เลยอยากรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ว่าจะหายข้อมูลเพิ่มเติมได้จากที่ใด (ขออภัยมันไม่ได้เกี่ยวกับสึนามิโดยตรง)แต่มันก็ใกล้เคียง

ผมว่าการให้ชุมชนได้รับรู้ สิ่งเหล่าเป้นสิ่งที่ดีมาก เพราะชุมชนเป็นประการแรกและสามารถรับรู้ ถึงการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ ย่อมสามารถรับรู้ถึงภัยพิบัติและสัญญานต่างๆ ที่เกิดขึ้น

หวัดดีค่ะ คุณchijak สนใจเรื่องชุมชนพร้อมรับภัยพิบัติเหรอค่ะ ดีใจจังมีคนมาร่วมขบวนการ พอดีกำลังทำอยู่ค่ะ สภากาชาดไทย โดยฝ่ายสถานีกาชาด สำนักงานบรรเทาทุกข์ฯ สภากาชาดไทย กำลังทำ โดยตอนนี้เราทำที่ จ.ระนอง พังงา ตรัง สตูล ตั้งแต่ปี2550 ปี2553 กำลังเปิดชุมชนใหม่ทั่วประเทศ 48 ชุมชน ต้องการคนในชุมชนและอาสาสมัครที่อยู่ในชุมชนเสี่ยงภัยพิบัติอุทกภัย วาตภัย ดินโคลนถล่ม มาร่วมงานค่ะ และอยู่ระหว่างการพิจารณาทำเรื่องชุมชนที่มีปัญหาคลื่นกัดเซาะชายฝั่ง อยู่ค่ะ ถ้าสนใจmailมาคุยที่[email protected] นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท