ชาช่วยลดกลิ่นปาก[+English]


 

...

คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล ทำการศึกษาพบว่า การใช้น้ำยาบ้วนปาก (mouthwash) ที่มีชาเป็นองค์ประกอบ วันละ 2 ครั้ง ร่วมกับการแปรงฟันถูกวิธี 28 วัน ช่วยบรรเทาอาการเหงือกอักเสบ (gingivitis) ระยะแรกได้ ทำให้กลิ่นปากลดลง

การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า สารประกอบหลายชนิดในชาช่วยยับยั้ง (block) การเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ทำให้การเกิดพลัค (plaque) หรือคราบจุลินทรีย์บนผิวฟันได้

...

เหงือกอักเสบเป็นจากคราบจุลินทรีย์หรือพลัค ทำให้เหงือกบวม แดง ร้อน อักเสบ ตามมาด้วยการย่อยสลายเศษอาหาร เสมหะ น้ำมูก น้ำลาย เศษเซลล์ในช่องปาก ทำให้เกิดแก๊สที่มีกำมะถัน และเกิดกลิ่นปาก

ทุกวันนี้มีการวัดสารประกอบกำมะถันที่ระเหยได้ (volative sulphur compounds) ทำให้วัดปริมาณกลิ่นปากว่า มีมากหรือน้อยได้ ไม่จำเป็นต้องทำการวิจัยด้วยการให้คนมาดมกลิ่น (อีกต่อไป...)

...

การป้องกันกลิ่นปากทำได้โดยวิธีการดังต่อไปนี้

  • (1). แปรงฟันให้ถูกวิธีด้วยแปรงขนอ่อน และยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ วันละ 2-3 ครั้งๆ ละ 2-3 นาที
  • (2). แปรงลิ้นวันละครั้ง โดยใช้ขนแปรงสีฟันวางขวางกับลิ้น แล้วถูเบาๆ (ถูแรงๆ อาจทำให้ลิ้นเป็นแผลได้)
  • (3). ใช้ไหมขัดฟันให้ถูกวิธีวันละครั้ง
  • (4). ดื่มน้ำให้พอ สังเกตจากช่วงกลางวันควรปัสสาวะทุกๆ 2 ชั่วโมง สีปัสสาวะไม่เหลืองเข้ม การดื่มน้ำน้อยทำให้คอแห้ง และปริมาณน้ำลายลดลง
  • (5). บ้วนปากหลายๆ ครั้งหลังกินอาหาร หรือดื่มเครื่องดื่มทุกชนิด เพื่อลดโอกาสเกิดฟันผุ ฟันสึก
  • (6). ตรวจฟันกับหมอฟันทุกๆ 6-12 เดือน

...

แนะนำให้อ่าน

  • วิธีใช้ไหมขัดฟัน > [ 1 ] , [ 2 ] , [ 3 ] , [ 4 ]
  • วิธีใช้แปรงซอกฟัน (กรณีเหงือกสึก ช่องว่างระหว่างฟันกว้าง) > [ Click ]
  • แปรงฟันระวังเหงือก > [ Click ] 

... 

ต้นฉบับเรื่องนี้คือ 'Gargling tea can beat bad breath' = "การบ้วนปากด้วยชาช่วยกำจัด (beat = ตี กำจัด ทำร้าย) ลมหายใจเหม็น (bad = เลว; breath = ลมหายใจ กลิ่นปาก)"

คลิกที่ลิ้งค์ > คลิกลำโพงหรือธงชาติ > ฟัง + ออกเสียงตาม 3 รอบ + ย้ำเสียงหนัก (accent) ตรงพยางค์แต้มสี-ขีดเส้นใต้-ตัวหนา

  • 'gargle' > [ ก๊า - เกิ่ว ] > noun, verb = บ้วนปาก น้ำยาบ้วนปาก > [ Click ]
  • ตัวอย่าง > Gargle with this tea mouthwash. = กลั้วคอด้วยน้ำยาบ้วนปาก(ที่มีชา)ชนิดนี้

...

คำ 'gargle' มาจากภาษาฝรั่งเศสโบราณ ทำให้การออกเสียงไม่ค่อยตรงกับตัวเขียนเท่าไร การเรียนภาษาก็เป็นแบบนี้ คือ ใครใช้บ่อยจะได้เปรียบ เพราะภาษาทุกภาษามักจะมีอะไรที่ไม่ค่อยตรงไปตรงมา ทำไมเหมือนใจคนก็ไม่ทราบ 

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ 

 > Thank MailOnline

ที่มา                                                                      

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า >  > 21 กรกฎาคม 2552.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.

หมายเลขบันทึก: 278807เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2009 17:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณเรื่องราวดีๆ ครับ

ขอขอบคุณพวกเราทุกๆ ท่าน ทุกๆ ความเห็นเช่นกันครับ...

สวัสดีค่ะอาจารย์

-ติดตามเรื่องราวที่อาจารย์มาเล่าสู่กันฟังตลอดกับเรื่องราวดีๆ และความรู้ใหม่ๆค่ะ

-ได้รับความรู้ใหม่ๆเพิ่มขึ้นมากมายค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท