บทสรุปจากการศึกษาดูงาน
จากการเรียนในชุดวิชา EDUC101 พื้นฐานการศึกษาและการศึกษาเรียนรวม หน่วยที่3 การศึกษาแบบเรียนรวมและการศึกษาพิเศษ ทำให้ได้รับความรู้และการฝึกทักษะต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็น การรับรู้ความรู้สึกของเด็กพิเศษโดยการจำลองสถานการณ์ว่าเป็นเด็กที่มีความบกพร่องในด้านต่างๆ ให้รู้และเข้าใจความรู้สึกของเด็กพิเศษเพื่อเป็นประโยชน์ในการสอนเด็กพิเศษในอนาคต จะเป็น การรับรู้ความรู้สึกของเด็กพิเศษโดยการ จำลองสถานการณ์ว่าเป็นเด็กที่มีความบกพร่องในด้านต่างๆ ให้รู้และเข้าใจความรู้สึกของเด็กพิเศษเพื่อเป็นประโยชน์ในการสอนเด็กพิเศษในอนาคต เศษ จากการศึกษาดูงานที่เรื่องการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ ณ โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ในว่าที่ 8 สิงหาคม 2548 ทำให้ได้มีโอกาสสัมผัสประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนในสภาพการณ์จริง
เมื่อได้เข้าไปสัมผัสการเรียนรู้กับเด็กพิเศษในโรงเรียนมัธยมสาธิต ดิฉันได้พบเด็กคนหนึ่งเรียนอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่2 ชื่อน้องปันปัน ดูจากภายนอกไม่ว่าจะเป็นรูปร่างหน้าตา ผิวพันธุ์ แทบจะสังเกตไม่ได้เลยว่าเป็นเด็กออทิสติก ทางโรงเรียนจะจัดครูพี่เลี้ยงคอยนั่งข้างๆเพื่อช่วยเหลือน้องในเรื่องต่างๆ การเรียนและกิจวัตรต่างๆของน้องจะถูกกำหนดไว้อย่างเป้นระเบียบในตาราง น้องจะต้องทำทุกอย่างตามตาราง หากผิดหรือแตกต่างไปจากนั้นน้องจะโวยวายทันที ครูพี่เลี้ยงก็จะมีกลวิธีในการจัดการคือ จะให้น้องกระโดดกบจนกว่าจะรู้สึกเหนื่อย อาการนั้นก็จะสงบลงเอง และจากการสังเกตจะเห็นได้ว่าน้องจะชอบดนตรี ชอบวิชาศิลปะ และมีความสามารถทางด้านคอมพิวเตอร์ที่โดดเด่นกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
การศึกษาดูงานเกี่ยวกับการศึกษาแบบเรียนรวมที่ โรงเรียนโสตศึกษา จังหวัดนนทบุรี ศูนย์การศึกษาพิเศษ จังหวัดนนทบุรี ศูนย์การศึกษาเขต 5 จังหวัดสุพรรณบุรี และโรงเรียนสุพรรณบุรีปัญญานุกูล ทำให้ได้รับประสบการณ์ความรู้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นความรู้ในเรื่องของ ประเภทความบกพร่องของเด็กพิเศษซึ่งมีอยู่ 9ประเภท ได้แก่ ความบกพร่องทางด้าน การได้ยิน การเห็น ทางด้านสติปัญญา ทางร่างกายหรือสุขภาพ การเรียนรู้ การพูดและภาษา พฤติกรรมหรืออารมณ์ บุคคลออทิสติก และพิการซ้อน ได้ความรู้ในเรื่องการให้การดูแลช่วยเหลือ ซี่งเด็กพิเศษเหล่านี้ต้องการการดูแลและการบำบัดรักษาอย่างเร่งด่วนและถูกวิธี เพื่อให้มีพัฒนาการใกล้เคียงกับคนปกติและสามารถอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างปกติสุข ทั้งยังได้เรียนรู้วิธีการจัดการศึกษาให้กับพวกเขาเหล่านั้น ซึ่งทางโรงเรียนและศูนย์การศึกษาที่เข้าไปศึกษาดูงาน ได้มีวิธีจัดการเรียนรู้ให้กับเด็กพิเศษโดยฝึกพัฒนาการทางด้านร่างกายให้ ทั้งยังมีเทคนิคการสอนที่พัฒนาทางด้านอารมณ์ไปพร้อมๆกัน ในขณะเดียวกันก็มีการจัดกิจกรรมชมรมพิเศษต่างๆเพื่อฝึกวิชาการอาชีพเพื่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันอีกด้วย
เมื่อได้เข้าไปสัมผัสกับสภาพจริงของเด็กพิเศษพบว่า เด็กเหล่านั้นยังต้องการการดูแลเอาใจใส่ พร้อมทั้งการให้โอกาสอย่างแท้จริงจากสังคม ปัจจุบันมีสถานศึกษาหลายแห่งที่เปิดรับเด็กพิเศษเหล่านี้เข้าไปเรียนรวมกับเด็กปกติ แต่มีบุคลากรเพียงไม่กี่คนที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถดูแลพวกเขาได้ และก็มีสถานศึกษาหลายแห่งเช่นกันที่เปิดสอนเฉพาะเด็กพิเศษ แต่ก็ยังมีบุคลากรไม่เพียงพอต่อความต้องการ ดังนั้นจะเป็นไปได้หรือไม่ว่า การเรียนการสอนในคณะครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์ในทุกสาขาวิชาของแต่ละมหาวิทยาลัย จะเปิดการเรียนการสอนเกี่ยวกับหลักสูตรการสอนสำหรับเด็กพิเศษ เพื่อให้ครูในอนาคตทุกคนมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถสอนเด็กพิเศษร่วมกับเด็กปกติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นางสาวกมลชนก ชื่นตา
รหัส 4711101005
สาขาวิชาภาษาไทย
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นางสาว กมลชนก ชื่นตา ใน inclusive-t05
ใช้คำว่าพิการซ้อนครับ ไม่ใช่พิการซ้ำซ้อน
เห็นด้วยอย่างยิ่งครับเพราะในสังคมมีทั้งเด็กปกติและเด็กพิการ