บัตรเครดิต ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ไว้


การรูดบัตร เสร็จถือว่าธุรกรรมเสร็จสิ้น การเซ็นต์ชื่อเป็นเพียงการยืนยันเท่านั้น

              ข้อดีของการใช้บัตรเครดิต คือทำให้เราไม่ต้องพกเงินสดติดตัว เป็นจำนวนมากๆ เวลาซื้อสินค้า และการใช้บัตรเครดิตเราก็ยังได้ลดเปอร์เซ็นต์จากการส่งเสริมการขาย และยังสะสมแต้มเพื่อแลกสินค้าได้ด้วย

              แต่จากการใช้บัตรเครดิตในการเติมน้ำมัน ผมเห็นสลิปที่เกิดจากการรูดบัตรเครดิต ที่เราเซ็นๆ กัน ไม่ได้ถูกส่งไปตรวจสอบกับทางธนาคารแต่อย่างใด ซึ่งผมก็เพิ่งเข้าใจว่าธุรกรรมการจ่ายเงินผ่านอิเล็กทรอนิกส์ เกิดขึ้นเรียบร้อยตอนที่เค้ารูดบัตรเราไปแล้ว ถ้าเรามีเงินในบัญชี ครบ 45 วันเมื่อไหร่เราก็ต้องนำเงินไปจ่ายเค้า ถ้ามีปัญหาเมื่อไหร่ ทางร้านค้าที่เก็บสลิปไว้ค่อยส่งสำเนาสลิปไปให้เค้า

              ดังนั้นการเซ็น หรือไม่เซ็นในสลิปไม่มีผลอะไรเลย ซึ่งอันนี้ตรงกับที่ผมเคยเดินทางไปอเมริกาเมื่อ 12 ปีที่แล้ว (พ.ศ.2538) การใช้บัตรเครดิตนั้นใครเอาไปใช้ก็ได้ เมื่อนำไปรูดแล้วก็ไม่ต้องมีการเซ็นใดๆ ซึ่งสมัยก่อนผมยังไม่มีบัตรเครดิตเป็นของตนเอง ก็เลยนำของภรรยาไปรูดแทน ซึ่งทางร้านค้าเค้าไม่สนใจว่าบัตรเป็นของใคร ขอเพียงบัตรไม่โดน Blacklist เป็นพอ

              และเมื่อเร็วๆ นี้มีเหตุการณ์เกี่ยวกับบัตรเครดิต ของภรรยา คือ อ.อ้อย เค้าไปเติมน้ำมันที่ปั้ม ปตท. ตรงสามแยกไปสุโขทัย เป็นปั๊มใหญ่ เมื่อเติมน้ำมันเสร็จ ภรรยาผมก็ส่งบัตรเครดิตให้เด็กปั๊มนำไปรูดบัตร โดยเด็กคนนั้นเค้าก็ขี่จักรยานไปกดอีกที่หนึ่งที่ไม่ไกลกันมาก เสร็จแล้วก็ขี่จักรยานกลับมา นำบัตรมาคืนพร้อมกับสลิปให้เซ็น ซึ่งภรรยาผมก็เซ็น รับบัตรคืน แล้วก็ขับรถออกไป ดูเหมือนเหตุการณ์ ก็น่าจะปกติดี ไม่น่ามีอะไร

 

                แต่ว่าอีก สามวันให้หลัง ภรรยาผมได้รับโทรศัพท์จาก ผู้หญิงท่านหนึ่ง โทรมาถามว่าใช่อาจารย์วารีรัตน์ หรือเปล่าคะ  ภรรยาผมก็ตอบว่าใช่ ทางผู้หญิงท่านนั้นก็แนะนำตัว ว่าชื่อ อ.เยาวเรศ ซึ่งทำงานอยู่คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร นี่เอง และสาเหตุที่โทรมาก็เพราะว่า บัตรเครดิตของอาจารย์เค้า สลับกับภรรยาผม ซึ่งภรรยาผมก็รีบเปิดกระเป๋าดูบัตรเครดิต ก็พบว่าบัตรเครดิตของอาจารย์เยาวเรศ อยู่ในกระเป๋าจริงๆ ก็เลยคุยกันสืบสาวราวเรื่องไปพบว่า

             อาจารย์เยาวเรศ เค้าไปซื้อสินค้า และใช้บัตรเครดิตจ่ายเงินไป ทางพนักงานของร้านเค้า นำสลิปมาให้อาจารย์เค้าเซ็นต์ แต่อาจารย์เค้าเซ็นต์ไม่เหมือนในบัตร พนักงานเค้าก็ให้เซ็นต์ใหม่ ขอให้เซ็นต์ให้เหมือนในบัตร อาจาร์เค้าก็เลยเอะ ใจ พอดูบัตร ก็ถึงบางอ้อ ว่าจะเซ็นต์เหมือนได้อย่างไรเล่า ก็นี่ไม่ใช่บัตรของฉัน

 

             ซึ่งอาจารย์เค้าก็เลยต้องทำเรื่องยกเลิก การใช้บัตรครั้งนั้น แต่ก็ปรากฏว่าไม่สามารถยกเลิกได้ และที่ร้ายไปกว่านั้นก็คือ ครั้งที่ไปเติมน้ำมันที่ ปตท. เด็กปั๊มที่เติมน้ำมัน ก็ไม่ได้ใช้บัตรเครดิตของภรรยาผมในการรูดจ่ายค่าน้ำมัน แต่เค้ากลับใช้บัตรของ อ.เยาวเรศ รูดไปสองครั้ง แต่นำสลิปไปให้รถสองคันเซ็นต์ แล้วก็นำบัตรของภรรยาผมไปให้อาจารย์เยาวเรศ และนำบัตรของอาจารย์เยาวเรศมาให้ภรรยาผม และต่างคนก็ต่างไม่ได้ตรวจสอบ ต่างก็เซ็นต์ในสลิป แล้วก็ไม่ได้อ่านชื่อในบัตร ต่างคนต่างเก็บบัตรแล้วขับรถออกไป

             ซึ่งอาจารย์เยาวเรศ ก็บอกว่านำบัตรของของภรรยาผมไปใช้มาหนึ่งครั้งแล้ว ก็สามารถใช้ได้ แต่นับว่าเหตุการณ์ครั้งนี้ยังดีที่เป็นคนรู้จักกัน จึงนำบัตรมาแลกเปลี่ยนกันได้ และอาจารย์เยาวเรศ และภรรยาผมก็ รับผิดชอบในค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการใช้บัตรสลับกัน

          ดังนั้นเหตุการครั้งนี้จึงเป็นอุทาหรณ์ ว่า 

  1.  
    1. ทุกครั้งที่ใช้บัตรเครดิตควรเดินตามไปดูพนักงานที่เค้านำบัตรไปรูด ว่าเค้ารูดคร้งเดียวหรือไม่ เพราะ กรณีนี้ รูดจ่ายค่าน้ำมันสองครั้งติดก็ไม่มีปัญหา
    2. เมื่อเซ็นต์สลิปควรสังเกตุในสลิปว่าใช่ชื่อเราหรือไม่
    3. เมื่อได้รับบัตรคืนควรพิจารณาดูว่าเป็นบัตรเราหรือไม่ 
    4. การรูดบัตร เสร็จถือว่าธุรกรรมเสร็จสิ้น การเซ็นต์ชื่อเป็นเพียงการยืนยันเท่านั้น
    5. กรณีที่บัตรหายต้องรีบแจ้งอายัด เราควรจดเบอร์โทรศูนย์ และหมายเลขบัตรเราเอาไว้
    6. บัตรที่มีวงเงินเยอะๆ ควรจำกัดการรูดเงินเอาไว้ ปกติใช้เกิน 5 หมื่นบริษัทจะโทรมาถาม (กรณีกรุงไทย)

           ผมไม่รู้ว่ามีกรณีอื่นๆ หรือประสบการณ์อื่นๆ อีกหรือไม่ ถ้ามีก็มาแลกเเปลี่ยนกันนะครับ เป็นความรู้และประสบการณ์

หมายเลขบันทึก: 278750เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2009 15:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 12:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เรียน ท่านอาจารย์หนึ่ง

  • มีอยู่ครั้งหนึ่ง ผมซื้อตั๋วเครื่องบินกับเอเย่นต์ และเอเย่นต์เขาจะนำตั๋วมาส่งในวันนั้น พร้อมกับมาเก็บเงินด้วย
  • ผมจึงฝากบัตรไว้กับเพ็ญ เจ้าหน้าที่ธุรการ พอเขาเอาตั๋วมาให้พร้อมกับนำเครื่องรูดบัตรมาด้วย เพ็ญก็ส่งบัตรของผมให้เขารูด (ธนาคารกรุงเทพฯ) แล้วโทรมาหาผมว่าจะทำอย่างไร
  • ผมบอกให้เพ็ญเซ็นแทน พยายามเซ็นให้เหมือนในบัตร ซึ่งเขาก็เซ็นแทน เป็นเงิน ๒ พันกว่าบาท ซึ่งผมก็ได้จดบันทึกเอาไว้ พอถึงรอบที่กำหนด ธนาคารก็เรียกเก็บเงินตามรายการนี้ไป
  • ซึ่งผมก็ได้ความรู้ตั้งแต่นั้นว่า ธนาคารเขาไม่ได้สนใจรายเซ็น เขาสนใจธุรกรรม และหากไม่มีการแจ้งอายัดหรือทักท้วง รายการนั้นก็ผ่าน
  • เดี๋ยวนี้ผมจึงต้องจดบันทึกรายการจ่ายของบัตรทุกใบว่าเกิดขึ้นเมื่อไร เป็นเงินเท่าไร และเดือนหนึ่งเราจะต้องไปจ่ายค่าใช้จ่ายที่เกิดจากบัตรเครดิตเท่าไร ผมจะจดไว้หมด และไม่เคยมีปัญหาเรื่องบัตรหาย บัตรสลับเปลี่ยนมือ เพราะตรวจสอบทุกครั้งจนเป็นนิสัยครับ

เป็นข้อคิดที่สะกิดใจดีจริงๆ ค่ะ

  • ระวังการรูดบัตรตามปั๊มน้ำมันจ้ะอ.หนึ่ง
  • มีอาจารย์บางท่านเคยไปรูดบัตรที่ปั๊มแห่งหนึ่งในพิดโลกแล้วโดนปลอมแปลงบัตรด้วย  เพราะปกติเราจะนั่งอยู่แต่ในรถกันไม่ได้ตามไปดูถึงที่รูดบัตร
  • แต่สำหรับหว้านะคะไม่มีปัญหาค่ะ  ระวังตลอดอยู่แล้ว
  • ขอฝากดูแลน้องสาวไว้ด้วยคนหนึ่งนะคะ
  • เป็นลูกน้องสายตรงหว้าเลยค่ะ กำลังให้เขาลองเขียนบันทึกจ้ะ พอดีเค๊าดูแลห้องบันทึกเสียงของราชภัฏค่ะ เผื่อจะได้แลกเปลี่ยนกะอาจารย์บ้าง
  • http://gotoknow.org/blog/kitty2525/279407

สวัสดีครับ อ.บีแมน อ.ลูกหว้า

ขอบคุณครับสำหรับประสบการณ์ที่แลกเปลี่ยนกัน

เป็นประโยชน์อย่างมากครับอาจารย์ ทุกท่านควรจะเข้ามาอ่านนะครับเรื่องเล็กๆของใครอีกหลายคนอาจเป็นเรื่องใหญ่ของคนอีกมากมายนะครับ ขอบคุณสาระเรื่องเล่าดีๆนะครับ

เครดิตอยู่ที่บัตร ไม่ได้อยู่ที่คนใช้บัตร

ผมมีบัตรเสริมของพ่อ ตอนสมัครพ่อทำให้ ไม่รู้ว่าเซ็นยังไง

ตอนใช้ก็เซ็นยังไงก็ใช้ได้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท