กระบวนการเรียนโดยใช้บริบทเป็นฐาน


การพัฒนาบริการปฐมภูมิ โดยใช้แนวทางในการพัฒนาสมรรถนะ ของผู้ให้บริการโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในอำเภอ

กระบวนการเรียนโดยใช้บริบทเป็นฐาน (Context Based Learning)

              วัน ก่อนผมได้มีโอกาสไปงานประชุม ยุทธศาสตร์การพัฒนาบริการปฐมภูมิในบริบทของระบบบริการสาธารณสุขระดับอำเภอ จัดโดย โครงการสนับสนุนการปฏิรูประบบบริการสาธารณสุข  โดยการสนับสนุนของ EU หรือ ที่รู้จักกันในชื่อ (
Health care reform projectที่เดิมคุณหมอสงวน อดีตเลขา สปสช. เป็นแม่งาน ต่อมามีคุณหมอยงยุทธ พงษ์สุขภาพ  เป็นกลจักรหลัก เป็นการพูดถึง การพัฒนาบริการปฐมภูมิ  โดยใช้แนวทางในการพัฒนาสมรรถนะ ของผู้ให้บริการในชุมชน โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในอำเภอ ใช้ชื่อ  (การจัดการเรียน โดยใช้บริบทเป็นฐาน(Context Based Learning)  
             สำนักนี้เชื่อในการเรียนรู้ร่วมกัน ใช้ทรัพยากรในพื้นที่ สร้างความสัมพันธ์ ในการทำงาน

เป็นหลักในการพัฒนา บริการปฐมภูมิได้  โดยได้ลงพื้นที่ วิจัย ทั้งในเขตชนบท อ.ภาชี จ.อยุธยา,

.เทพา  . สงขลา ,.ราษีไศล จ.ศรีษะเกษ และ เขตเมือง ที่ อ.เมือง จ. นครราชสีมา และ จ.อยุธยา
ช่วงหลังได้ อาจารย์ สุรเกียรติ อาชานานุภาพ จาก เวชศาสตร์ชุมชน  รามา และ DR. Patrick Martiny จาก EU มาเป็นหลัก  งานนี้มีการเชิญผู้เกี่ยวข้องในการทำงานปฐมภูมิ   จากส่วน ต่าง ๆ มาแลกเปลี่ยน และให้ข้อคิดในการทำงาน   หลังจากที่ประชุม พบหลายประเด็นสามารถนำมาปรับใช้ในการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ ได้ จึงขอนำมาบอกเล่าต่อ
             
               การจัดการเรียนโดยใช้บริบทเป็นฐาน(Context Based Learning) เพื่อ พัฒนาสมรรถนะของผู้ให้บริการปฐมภูมิที่อยู่ในชุมชน จากการที่ทีมผู้ให้บริการเป็นทีมขนาดเล็ก ทำให้ทุกคนที่อยู่ในทีม จำเป็นต้องทำหน้าที่คล้ายกันและสามารถทำหน้าที่แทนกันได้  ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า ประสิทธิผลของบริการต้องไม่ลดลง การจัดการเรียนโดยใช้บริบทเป็นฐาน พยายามมาเสริมจุดนี้
              กระบวนการเรียนโดยใช้บริบทเป็นฐาน (Context Based Learning) พัฒนาขึ้นมาจากกิจกรรมการพัฒนาองค์ความรู้และการพัฒนาบุคลากร ที่มีการดำเนินการอยู่แล้วในหลายพื้นที่ ในลักษณะที่เป็นการใช้ทรัพยากรที่อยู่แล้วภายในอำเภอ โดยจัดกิจกรรมที่ทำให้เกิดการเรียนในลักษณะผสมผสานไปกับการให้บริการในระบบ ปกติ

หลักการพื้นฐานของการจัดการเรียนโดยใช้บริบทเป็นฐานคือ การจัดการเรียนในลักษณะ การเรียนแบบผู้ใหญ่ (Adult learning)” และให้มีผลกระทบต่องานประจำให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยมีหลักการสำคัญของการจัดการเรียนดังนี้

เหมาะสมกับสถานการณ์ในขณะนั้นของผู้เรียน  เป็นการเรียนรู้ในทางปฏิบัติมากกว่าการเรียนรู้ในทางทฤษฎี   มีการเชื่อมจากการปฏิบัติสู่ทฤษฎีอย่างเป็นระบบ

ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้จากปัญหาที่พบมากกว่าความสำคัญของรายวิชา

เชื่อมโยงการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ผ่านมาของผู้เรียน

ผู้เรียนเป็นผู้กำหนดทิศทางการเรียนรู้ตามความจำเป็นที่จะต้องเรียน

ผู้เรียนจัดการการเรียนรู้ด้วยตัวเองเป็นหลักเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียน

ประเมินผลง่าย และเป็นระบบ ก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน เช่น สามารถประเมินได้ว่า รู้และทำได้ตั้งแต่ก่อนเรียน (ไม่ต้องเรียนเพิ่ม) หรือรู้และทำได้หลังจากที่ได้มีการเรียนเพิ่มเติม

เป้าหมาย  ที่เป็นผลลัพธ์สำคัญของการเรียนโดยใช้บริบทเป็นฐานแบ่งเป็น 2 ระยะ
ระยะสั้น เป็นการเพิ่มสมรรถนะของผู้เรียน จนเกิดความมั่นใจในฐานะผู้ชำนาญการในการให้บริการที่สถานบริการที่อยู่ในชุมชน
ระยะยาว เป็นการบ่มเพาะวัฒนธรรมการเรียนรู้ ให้กลายเป็นวัฒนธรรมถาวรของระบบบริการสาธารณสุขในระดับอำเภอ

ผล พลอยได้สำคัญคือ การเชื่อมโยงระหว่าง ผู้ให้บริการ สถานบริการ และองค์ประกอบต่างๆ ภายในระบบบริการของอำเภอ อันจะส่งผลให้สถานบริการที่อยู่ในชุมชนมีความเข้มแข็ง ในบริบทของระบบบริการสาธารณสุขระดับอำเภอที่เป็นหนึ่งเดียว หรือมีคุณลักษณะของการมีระบบบริการสาธารณสุขแบบบูรณาการ

               
                  ขอยกตัวอย่าง กรณีศึกษาอำเภอ ราษีไศล   การ ใช้โรงพยาบาลและสถานีอนามัย เป็นฐานแห่งการเรียนรู้ เมื่อเทียบกับแห่งอื่น โดยทำความตกลงร่วมกัน ใน คปสอ. ระยะเวลาเรียน สัปดาห์ละ 3 วัน ทั้งวัน    จำนวน 5 สัปดาห์ กลุ่มละประมาณ 4 คน มีการเตรียมทีมพี่เลี้ยง แพทย์ บุคลากรในโรงพยาบาล พยายามให้ภาระแก่แพทย์น้อยที่สุด สร้างแรงใจถึงประโยชน์ที่เกิดขึ้น มีการทานอาหารร่วมกัน  ทางผู้เรียนพยายามให้มีหลากหลาย ทั้ง เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน ,พยาบาลวิชาชีพ ,

หัวหน้าสถานีอนามัย    เตรียมสถานที่  อุปกรณ์สนับสนุน เช่น อุปกรณ์ IT , หนังสือ  , สถานที่ศึกษาด้วยตนเอง      มีการชี้แจงก่อน เริ่มต้นกระบวนเรียน

                การจัดการเรียน  

 1.  OPD case   เลือกcaseที่น่าสนใจ 2-3 case การ observation แลกเปลี่ยนกับแพทย์ หรือพยาบาลวิชาชีพ ที่บริการเฉพาะด้าน

2. ช่วงบ่ายเข้า Ward  เรียนรู้ Sign & Symptoms.โดยการให้เจ้าหน้าที่ใน ward เลือก case หรือตาม round

3.  การทำหัตถการ ที่จำเป็น  ที่สามารถฝึกได้ ที่ ER และ ward เช่น ใส่ NG tube, foley cath  โดยมีพี่เลี้ยง

4.       การศึกษาการค้นคว้าด้วยตนเอง ช่วงบ่าย 2 ชม. โดยเน้นการบันทึกที่ตนเองได้เรียนรู้

5.       การเรียน ทฤษฎี ในบางหัวข้อที่จำเป็น

6.       การสรุปบทเรียน รายสัปดาห์ กับพี่เลี้ยง

การเรียนด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค มุ่งเน้นทบทวน งานประจำ เพื่อใช้เกิดมาตรฐานเดียวกันทั้งอำเภอ  มีความมั่นใจในการดูแล เช่น high risk  pregnancy 
              การใช้สถานีอนามัย เป็นฐานในการเรียน ได้ศึกษาการปฏิบัติงานที่อื่น  วิจารณ์ข้อดี เก็บบทเรียน

                การจัดเวทีแลกเปลี่ยน โดยให้ สอ. เสนอกรณีที่ตนเองเกิดความประทับใจ (เรื่องเล่า)

ผลด้านบวก

                 ด้านความรู้ ,relationship ,ด้านสังคม  ,การให้คำปรึกษา ระหว่าง รพ. PCU

ผลด้านลบ

                ขาดคนทำงาน  ,  Case ไม่ครบตามที่หวัง  , ถ้าเตรียมไม่ดีเกิด   ความรู้สึกแง่ลบระหว่างกัน

ก็เป็นตัวอย่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน  โดยบริบทของแต่ละพื้นที่   เพื่อใช้เป็นธงนำ  ทั้งในเรื่องความรู้ ความสัมพันธ์ และระบบส่งต่อ 
ที่อื่น เช่น  ที่ภาชี มีจุดเด่นในการเยี่ยมบ้านนำเจ้าหน้าที่ใน โรงพยาบาลมีหมู่บ้านรับผิดชอบ มีการออกเยี่ยมบ้าน ปรับ attitude เจ้าหน้าที่ มีการเชื่อมกับ สอ.
               ที่ เทพามีการเปลี่ยน รูปแบบ การนิเทศ แบบเป็นพี่เป็นน้อง ลงสม่ำเสมอ มีการเรียนรู้ในช่วงวันหยุดทุกเดือน 6 เดือนโดยแพทย์ family medicine (ที่นี่มีแพทย์ วว . family medicine 3 ท่าน   ส่วนเขตเมืองเน้นไปทางปรับระบบการบริหารครับ             

เป็นอย่างไรครับ  เกิดความคิดในการพัฒนา หรือ ต่อยอดอย่างไร   ช่วยให้ข้อเสนอแนะด้วยครับ

 

หมายเลขบันทึก: 278549เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2009 22:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มาจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นแนวคิดที่ดีครับมีข้อสังเกตุ

๑.อาจมีโจทย์ต้องแก้คือเจ้าหน้าที่ที่มีงานเพิ่มขึ้นมีความสุขและความภูมิใจมากขึ้นจริงหรือ รึว่าเราคิดแทนเขา

๒.สังคมรอบข้างไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงานหรือประชาชนยอมรับในระดับใหน?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท