“จิตแห่งการสร้างสรรค์” สร้างนวัตกรรมไปสู่ความสำเร็จ


“จิตแห่งการสร้างสรรค์” สร้างนวัตกรรมไปสู่ความสำเร็จ

“จิตแห่งการสร้างสรรค์” สร้างนวัตกรรมนำไปสู่ความสำเร็จ

 

               ยี่สิบกว่าปีที่ผ่านมา  มีนักจิตวิทยา นักสังคมวิทยา และนักประสาทวิทยา ต่างให้ความสนใจไปที่ ความคิดสร้างสรรค์และการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์โดยมีความพยายามศึกษาค้นคว้า  เพื่อที่มาของความคิดสร้างสรรค์ว่ามีต้นกำเนิดจากสิ่งใด  แต่อย่างไรก็ดีมีสิ่งหนึ่งที่นักวิชาการต่างๆ เห็นพ้องต้องกันคือ ความคิดสร้างสรรค์นั้นไม่ได้เกิดขึ้นมาอย่างฉับพลันเหมือนกับปาฏิหาริย์ แต่จากการวิจัยพบว่าความคิดสร้างสรรค์นั้นเกิดมาจากการเชื่อมโยงภายในของเส้นประสาทในระบบประสาท

                 Edward De Bono หนึ่งในนักคิดคนสำคัญเจ้าของผลงานหนังสือ “Lateral Thinking (1967)” และ “Six Thinking Hats (1985)” ที่ได้รับเผยแพร่อย่างกว้างขวาง และได้รับการนำมาใช้ในองค์กรชั้นนำของโลกมากมาย อาทิ Siemens, Bosch, 3M หรือ Nokia ได้เสนอแนวทางในการคิดแบบใหม่ที่เรียกว่า การคิดทางข้าง (Lateral Thinking)
              การคิดทางข้างเป็นวิธีการคิด และการแก้ปัญหาที่แตกต่างไปจากกรอบวิธีการคิดแบบเดิมๆ โดยเน้นให้เราใช้จินตนาการทุกชนิด รวมไปถึงสิ่งที่เราคิดว่าไม่สามารถที่จะทำมันได้ หรือดูน่าขบขัน มาใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาซึ่งวิธีการ คิดข้างทางของ” De Bono สอดคล้องกับแนวคิด จิตแห่งการสร้างสรรค์(Creating Mind) ซึ่งเป็น 1 ใน 5 จิต ที่ Howard Gardner ระบุไว้ในหนังสือ “Five Minds for the Future” ว่า...
             การที่เราจะสามารถยืนหยัดอยู่ในโลกอนาคตได้อย่างมีความสุขทั้งในด้านการดำเนินชีวิต และในด้านการทำงานนั้น เราจะต้องปรับตัวเองให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัฒน์ ด้วยการพัฒนากระบวนการรับรู้และกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ ควบคู่ไปกับการพัฒนาและขัดเกลาในด้านจิตใจทั้ง
5 ด้าน อันประกอบไปด้วย
             1.  จิตแห่งวิทยาการ (Disciplined Mind) 
หมายถึง  ความรู้ความชำนาญในศาสตร์วิทยาการ ในการมองแบบภาพรวม โดยเข้าใจและประยุกต์ใช้วิทยาการแขนงต่าง ๆ เพื่อตอบโจทย์หรือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงได้  รวมไปถึงความสามารถเชิงพฤติกรรมในการแสวงหา  พัฒนาความรู้  และทักษะอย่างไม่มีวันสิ้นสุด
             2.   จิตแห่งการสังเคราะห์ (Synthesizing Mind)
  หมายถึง  ความสามารถในการแยกแยะประเด็น
ที่สำคัญจากสิ่งต่าง ๆ
ที่พบเห็นหรือรับรู้  และสามารถที่จะจำแนกแยกย่อยพิจารณาทำให้เข้าใจสิ่งต่าง ๆ 
ที่เคยอยู่กันเป็นองค์รวมให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น

             3.   จิตแห่งการสร้างสรรค์  (Creating Mind)
หมายถึง กระบวนการทางความคิดในการสร้างสิ่งใหม่ๆ ที่สร้างสรรค์และหลุดจากกรอบเดิม และสามารถนำความคิดสร้างสรรค์มาใช้ในการแก้ไขปัญหา

             4.  จิตแห่งความเคารพ (Respectful Mind) หมายถึง   การอ่อนน้อมถ่อมตนให้เกียรติและเคารพ

ในความคิดของผู้อื่น รวมถึงเปิดใจรับฟังความเห็นของผู้อื่นที่แตกต่างจากความคิดของตัวเอง

Howard Gardner :  จิตแห่งความเคารพมี 2 ประเภท

1)            ความเคารพนำไปสู่ความสมานฉันท์

      2)    ความเคารพคือพื้นฐานของความสำเร็จ
             5.  จิตแห่งคุณธรรม (
Ethical Mind)  หมายถึง  ความคิดที่ยึดหลักจริยธรรม คุณธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคมและส่วนรวม และสอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นความรู้คู่คุณธรรม
            ซึ่งจิตแห่งการสร้างสรรค์ (Creating Mind) ตามแนวคิดของ Gardner นั้นหมายถึงการมีกระบวนการทางความคิดในการสร้างสิ่งใหม่ๆ ที่สร้างสรรค์ และหลุดออกจากกรอบวิธีการคิดแบบเดิมๆ
            การมี จิตแห่งการสร้างสรรค์สะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงและสร้างความแตกต่าง (Change and Differentiation) จากสิ่งเดิมหรือแนวทางเดิมที่มีอยู่ ด้วยการเปิดรับทั้งจากภายในและภายนอก (Inside Out and Outside In)
              ในขณะเดียวกัน จิตแห่งการสร้างสรรค์ยังสามารถนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหา เนื่องจากเป็นการมองปัญหาในมุมที่แตกต่างซึ่งอาจทำให้สามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุด โดยผลงานความคิดสร้างสรรค์จำนวนมากนั้น เกิดขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ในการแก้ไขปัญหาทั้งสิ้น
                นอกจากนี้การแก้ไขปัญหาด้วย
ความคิดสร้างสรรค์ประเทศสิงคโปร์ ได้นำไปเป็นหลักสูตร
ที่ใช้ในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล  เพราะเชื่อว่าบุคคลเป็นทรัพยากรสำคัญในการพัฒนาประเทศ 

จนทำให้สิงคโปร์กลายเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จมากทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม  และการเมือง
ในปัจจุบัน

             De Bono ยังย้ำเสมอว่าความคิดสร้างสรรค์ไม่ใช่พรสวรรค์แต่เป็นทักษะที่สามารถสร้าง  และพัฒนาได้ด้วยเทคนิคต่างๆ ซึ่งไม่ใช่เรื่องบังเอิญ  และไม่ได้เกิดขึ้นมาอย่างฉับพลัน  เหมือนกับปาฏิหาริย์
             ดังนั้น  การที่ชาติหรือบุคคลจะสร้างนวัตกรรมขึ้นมาได้ จึงต้องมีจิตแห่งการสร้างสรรค์ประกอบรวมอยู่ในตัวของบุคคลนั้น ซึ่งความคิดสร้างสรรค์จะเป็นการช่วยขยายมุมมองใหม่ๆ ทางความคิด และแนวทางการแก้ปัญหาต่างๆได้อย่างครอบคลุม และถูกต้อง
           ซึ่งสามารถสรุปได้ว่า  แนวคิดด้านการพัฒนาจิตใจทั้ง 5 ด้านนี้  เกิดขึ้นจากการผสมผสานแนวคิด
ในการขับเคลื่อน  และการพัฒนาประเทศ  อีกทั้งยังเป็นแนวทางในการบ่มเพาะ และสร้างแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้กับบุคลากรภายในประเทศได้ดีอีกด้วย

          โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างเสริมจิตแห่งการสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นกับบุคลากรภายชาติ ถือเป็นอีกเป้าหมายหนึ่งที่ต้องปลูกฝังแนวคิดนี้ ให้กับทุนมนุษย์ของคนในชาติ เพื่อยกระดับความสามารถของบุคลากร นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้เกิดความยั่งยืนต่อไป

หมายเลขบันทึก: 278545เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2009 22:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 13:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เป็นการพัฒนาจิตที่สร้างสรรค์ดีมากเลยค่ะ

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ ที่สรรหามาให้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท