รัชดาวัลย์
นาง รัชดาวัลย์ แอ๊ว สวนจันทร์

แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับผู้นำ


แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับผู้นำ

แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับผู้นำ

          แนวคิดเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้นำ(trait approach) ซึ่งเชื่อว่าตัวผู้นำต้องมีคุณลักษณะพิเศษที่เหนือกว่าบุคคลอื่นๆ แนวคิดนี้จึงพยายามศึกษาคุณลักษณะของผู้นำที่ประสบความสำเร็จแล้วนำคุณลักษณะที่ศึกษาพบมากำหนดเป็นคุณลักษณะของผู้นำ  

           แนวคิดเชิงพฤติกรรม (behavioral approach) แนวคิดนี้มุ่งศึกษาแบบฉบับพฤติกรรมของผู้นำเพื่อค้นหาว่า ผู้นำที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้นจะใช้แบบฉบับพฤติกรรมการนำอย่างไร เพื่อที่จะนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ

           แนวคิดผู้นำเชิงสถานการณ์ (situational approach) แนวคิดนี้มุ่งศึกษาความสอดคล้องระหว่างพฤติกรรมของผู้นำกับความต้องการของสถานการณ์ที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของผู้นำในการนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมาย

          แนวคิดภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน (transactional approach) แนวคิดนี้จะมุ่งเน้นศึกษาทักษะในการบริหารจัดการของผู้นำว่าบริหารจัดการอย่างไรถึงจะประสบความสำเร็จตามที่คาดหวัง และอีกแนวคิดหนึ่งคือ แนวคิดภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนแปลงสภาพ (transformational approach) แนวคิดนี้มุ่งเน้นศึกษาว่า จะนำอย่างไรให้ผู้ตามปฏิบัติงานได้เหนือกว่าความคาดหวัง

 

ความหมาย ผู้นำ

        ผู้นำ (Leader)    คือ

บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งหรือการเลือกตั้งหรือการยกย่องจากกลุ่มให้ทำหน้าที่ของตำแหน่งผู้นำ เช่น การชี้แนะ สั่งการ และช่วยเหลือให้กลุ่มสามารถปฏิบัติงานได้สำเร็จตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ได้มีการเขียนชื่อผู้นำแตกต่างกันออกไปตามลักษณะงานและองค์การที่อยู่ เช่น ผู้บริหาร ผู้จัดการ ประธานกรรมการ ผู้อำนวยการ อธิการบดี ผู้บัญชาการเหล่าทัพ ผู้ว่าราชการ นายอำเภอ กำนัน เจ้าคณะจังหวัด เจ้าอาวาส ปลัดกระทรวง คณบดี

ลักษณะของผู้นำ

        แบ่งผู้นำออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

1.   ผู้นำแบบเป็นทางการ (Formal Leaders) คือ ผู้บังคับบัญชาในหน่วยงาน เพราะว่าผู้บังคับบัญชานั้นคือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ ให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้า

2.   ผู้นำแบบไม่เป็นทางการ (Informal Leaders) คือ ผู้นำที่ไม่ใช่ผู้บังคับบัญชา เพราะไม่มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าในองค์การ แต่สมาชิกในหน่วยงานให้การยอมรับ และยกย่องให้เป็นผู้นำ เพราะมีคุณสมบัติบางประการที่หน่วยงานหรือสมาชิกในองค์การต้องการ ให้การยอมรับ หรือให้ความไว้วางใจ เช่น ประสบการณ์ ความรู้ความสามารถ มนุษย์สัมพันธ์ เป็นต้น

ประเภทของผู้นำ

        ผู้นำแบบเผด็จการ  เป็นผู้นำที่มีความเด็ดขาดในตัวเองถือเรื่องระเบียบวินัย กฎเกณฑ์ข้อบังคับเป็นหลัก ในการดำเนินงานการตัดสินใจต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับผู้นำแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น ในแง่   การบริหารงานทางด้านวิชาการด้านธุรกิจจะเปรียบเสมือนกิจการที่เป็นเจ้าของบุคคลเดียว     ที่มีการดำเนินการและตัดสินใจเฉพาะผู้ที่เป็นเจ้าของกิจการเท่านั้น

        ผู้นำแบบประชาธิปไตย ถือว่าเป็นบุคคลที่มีความสำคัญในโลกปัจจุบัน ให้สิทธิ์ในการออก ความคิดเห็น สิทธิในการเรียกร้อง รวมไปถึงการเคารพสิทธิของผู้อื่นด้วยการเป็นประชาธิปไตย จึงเป็นลักษณะหนึ่งที่สังคมค่อนข้างจะยอมรับกันมากกว่าผู้นำประเภทอื่น ๆ

        ผู้นำแบบตามสบาย เป็นผู้นำที่ไปเรื่อย ๆ มีความอ่อนไหวไปตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น      เป็นผู้นำที่เป็นที่รักของผู้ร่วมงานอย่างมาก ผู้นำประเภทนี้จึงมีมากมายตามแต่ละกิจกรรมต่าง ๆ บางครั้ง อาจมอบว่าเป็นบุคคลที่ไม่มีจุดยืนเป็นของตัวเอง หรือมองโลกในแง่ดีซึ่งผู้ใต้บังคับบัญชาที่ขยันอาจไม่ชอบลักษณะผู้นำประเภทนี้

ประเภทการใช้อำนาจของผู้นำ

        การใช้อำนาจเด็ดขา อาจจะเป็นในวงการทหารหรือตำรวจ จะเห็นได้อย่างเด่นชัดซึ่งจำเป็นต้องมีความเด็ดขาดในการสั่งการ เพราะทหาร ตำรวจ จะต้องมีวินัยในการปกครองซึ่งกันและกัน บรรดาตำรวจที่มีอาวุธอยู่ในมือด้วยแล้ว หากขาดวินัยก็จะเสมือนกับกองโจรที่สามารถกระทำผิดได้ตลอดเวลา

        การใช้อำนาจอย่างมีศิลปะ  ผู้นำโดยทั่วไปเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ มีความอดทนรวมไปถึงประสบการณ์ในการบังคับบัญชาคน หากการทำงานโดยเอาใจเขามาใส่ใจเราแล้วผลงานต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจะต้องเป็นที่ยอมรับของคนโดยทั่วไป

        การใช้อำนาจด้วยวิธีการปรึกษาหารือ  เป็นลักษณะของการใช้อำนาจวิธีการหนึ่งซึ่งใช้กันอย่างมากมาย เพราะผู้บริหารที่เปิดใจกว้างย่อมได้รับการยอมรับของผู้ร่วมงานด้วยกัน โดยเฉพาะในเรื่องของการสอนงานแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาในลักษณะการใช้อำนาจด้วยวิธีการปรึกษาหารือ

        การใช้อำนาจแบบมีส่วนร่วม  บางคนอาจจะบอกว่าการใช้อำนาจแบบมีส่วนร่วมถือเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดเนื่องจากผู้บริหารเปิดใจกว้าง ผลผลิตที่ได้จะมีประสิทธิภาพสูงสุดแต่จะต้องขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบของแต่ละคน ในทางทฤษฎีแล้ว การใช้อำนาจให้เป็นประโยชน์อาจเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมรวมถึงลักษณะของการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรมนั้น ๆ

คุณสมบัติที่ดีของผู้นำ

        มีความรู้ ความสามารถ

        เป็นผู้มีสังคมดี

        เป็นผู้ที่มีแรงกระตุ้นภายใน

        เป็นผู้ที่มีทัศนคติที่ดีและมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี

ลักษณะของผู้นำที่จะทำให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพสูงสุด

        ต้องเป็นนักเผด็จการ หมายถึง ผู้บริหารสามารถจะสั่งการได้อย่างเด็ดขาด ผลผลิตที่ได้มาส่วนใหญ่จะมาด้วยปริมาณ

        ต้องเป็นนักพัฒนา ผู้นำประเภทนี้จะต้องมีผู้ร่วมงานที่รู้ใจ สามารถสร้างสรรค์งานใหม่ ๆ ตลอดเวลา

        ต้องเป็นนักบริหาร  ผู้นำประเภทนี้จะใช้การทำงานด้วยวิธีใหม่ ๆ เปิดโอกาสให้สมาชิกได้ร่วมแสดงความคิดเห็น

        ต้องเป็นนักเผด็จการอย่างมีศิลปะ  ผู้นำประเภทนี้เป็นนักพูดที่เฉลียวฉลาด จะใช้การพูดเป็นการชักชวนให้เกิดการทำงานด้วยความเต็มใจ

ลักษณะผู้นำที่มีประสิทธิผลต่ำ

          ผู้หนีงาน (Deserter) เป็นลักษณะผู้นำที่เปลี่ยนมาจากแบบเอาเกณฑ์ในทางเลวลง บริหารงานแบบขาด   ความสนใจ ไม่เน้นทั้งด้านงานและคนมักหนีงาน บางทีขัดขวางการทำงานของคนอื่นหัวหน้างานชนิดนี้มีอยู่มาก

          นักบุญ (Missionary) เปลี่ยนมาจากแบบสัมพันธ์    เป็นลักษณะหัวหน้างานที่ใจบุญ นึกถึงคนมากกว่างาน ถือว่าความสัมพันธ์อันดีต่อกันในระหว่างผู้ร่วมงาน สำคัญกว่าผลผลิตของงาน

 

          ผู้เผด็จการ (Autocrat) เป็นลักษณะของผู้บริหารที่เปลี่ยนแบบมาจากแบบเอางาน หัวหน้างานแบบนี้    มุ่งแต่งานอย่างเดียว ไม่คิดถึงสัมพันธภาพกับใคร

          ผู้ประนีประนอม (Compromiser) เป็นลักษณะผู้นำที่เปลี่ยนมาจากแบบประสาน หัวหน้างานแบบนี้ทราบว่าการมุ่งทำงานให้สำเร็จและการสร้างสัมพันธ์ภาพกับผู้ร่วมงานเป็นสิ่งสำคัญ แต่เขาไม่มีความสามารถพอ   ที่จะตัดสินใจลงไปได้ว่าจะทำอย่างไร

ที่มา  :  ต้นฉบับหนังสือเพขรแท้แห่งไม้เรียง  จัดทำโดยมูลนิธิร่วมพัฒนาพิจิตร

(จากกิจกรรมอบรมพัฒนา ผู้นำ      สำนักพุทธัมผาซ่อนแก้ว  จ.เพขรบูรณ์   พ.ศ.2549)

 

จากการศึกษาเรื่องนี้   ข้าพเจ้าเห็นว่าท่านผู้อ่านน่าจะได้รับประโยชน์  ดังต่อไปนี้

1.    สามารถเข้าใจในความหมาย  ประเภท  คุณลักษณะ  บทบท  หน้าที่    

       ของผู้นำและสามารถนำหลักการไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ตามความเหมาะสม

2.    ผู้บริหารองค์การต่างๆที่ได้ศึกษาเรื่องผู้นำ นำผลจากการศึกษาไปพัฒนาตนเอง 

       จนกระทั่งเป็นผู้นำที่มีคุณลักษณะครบถ้วนของการเป็นผู้นำที่ดีสามารถนำพา

       องค์การไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่ต้องการ

3.      นิสิตบริหารการศึกษาและบุคคลทั่วไปได้ศึกษาค้นคว้าและสามารถนำผลจากการศึกษาไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานในฐานะผู้บริหารหน่วยงานหรือ

      หัวหน้างาน

 

หมายเลขบันทึก: 278523เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2009 21:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 15:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

เรียนท่านรัชดาวัลย์

  • ผู้นำทำให้ดู อยู่ให้เห็น เน้นให้กำลังใจ ครับท่าน

ขอคารวะค่ะท่าน สมเป็นนักปราชญ์ จริงๆ ขออนุญาตจดจำและนำไปใช้ ขอบคุณ และขอบคุณ ที่ท่านให้เกียรติเข้ามาเยี่ยมชม

ผู้นำที่ดีมีเยอะ ...แต่ผู้นำที่แย่ก็มีแยะ บทความน่าสนใจดี อ่านแล้วเห็นสัจธรรม ประเภทผู้บริหาร รับดอกไม้ 1 ช่อ

ภาพเคลื่อนไหว

ขอบคุณที่ช่วยทบทวนให้เมื่อวานไม่ค่อยเข้าใจ(มัวแต่หลับ) วันนี้แจ่มแล้ว

                               

จริงด้วย พี่ก็เป็นเยี่ยงนั้น (ดังภาพ)เลยทบทวนใหม่

เฮ้อ... เป็นผู้นำนี่ยากจังนะคะ ตอนนี้ขอเป็นผู้ตามดีกว่า(ไม่เจ็บตัวค่ะ)

ถ้าเราเป็นได้ทั้งผู้นำและผู้บริหารก็ถือว่าเยียมยอดใช่ไหมค่ะ

สักวันหนึ่งเมื่อถึงกาล.......พี่ว่าทั้งครูนวยและน้องนราวัฒน์ ...ทำได้และ ที่สำคัญ" เก่งเสียด้วย "

ขอบพระคุณพี่แอ๊วที่นำบทความดีๆ มาให้ศึกษาค่ะ ได้ความรู้อีกเยอะเลยค่ะ

การเป็นผู้นำยากนะคะ แต่เป็นผู้บริหารง่ายกว่า ดังนั้นการจะเป็นผู้นำที่ดีได้ต้องอาศัยความศรัทธาร่วมด้วย เก่งอย่างเดียวไม่พอหรอกคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท