ไม่เลิกระบบ กบข. ข้าราชการก็ช้ำต่อไป


นายมนัส แจ่มเวหา รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง จะออกมาเปิดเผยว่า จะหารือกับ กบข. เพื่อหาทางปรับสูตรการคิดเงินบำนาญให้กับข้าราชการที่เป็นสมาชิก กบข. ใหม่แต่ก็ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจน

ไม่เลิกระบบ กบข. ข้าราชการก็ช้ำต่อไป

เมื่อเดือนที่แล้ว ข้าราชการกลุ่มใหญ่ได้เดินทางมาประท้วงที่กระทรวงการคลัง เพื่อขอให้ยกเลิกระบบกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เพราะเห็นว่าผลประโยชน์ที่ได้รับนั้น ต่ำกว่าระบบบำนาญแบบเดิม อะไรจึงเป็นอย่างนั้น แม้เรื่องนี้ รมว.คลังกรณ์ จาติกวณิช จะยืนยันแล้วว่าไม่มีการเลิกระบบกองทุน กบข. ก็ตาม แต่ก็ควรจะไปแกะไส้ในดูว่า สมาชิก กบข. รุ่นบุกเบิกกองทุนที่ตั้งขึ้นเมื่อปี 2539 ซึ่งใช้ระบบสมัครใจเข้าเป็นสมาชิกกองทุน
ไม่ได้
บังคับเหมือนปัจจุบัน เกิดข้อเปรียบเทียบที่รู้สึกใจหายเพราะสมาชิกของกองทุนจะได้รับเงินบำนาญน้อยกว่าคนที่ไม่เป็นสมาชิกถึง 30%  หรือพูดง่าย ๆ ว่า ข้าราชการที่ไม่ได้เป็นสมาชิก กบข.ได้รับเงินบำนาญหลังเกษียณ 100 บาท แต่คนที่เป็นสมาชิก กบข. ได้เงินบำนาญ 70 บาท

สาเหตุที่เป็นเช่นนั้น เพราะสมาชิก กบข. จะได้สิทธิพิเศษรับเงินก้อนใหญ่จากกองทุน กบข.ตอนที่เกษียณอายุ ขณะที่คนที่ไม่เป็นสมาชิกไม่ได้ เมื่อมองส่วนนี้ ก็จะเห็นว่าคนที่เป็นสมาชิกคิดโดยรวมแล้วไม่น่าจะได้เงินน้อยกว่าคนที่ไม่เป็นสมาชิก แต่ไม่เป็นเช่นนั้น เพราะตอนที่ถูกโฆษณาชวนเชื่อให้เป็นสมาชิก กบข. ในสมัยเริ่มต้น พบว่ากองทุน กบข. ประเมินผลตอบแทนให้กับสมาชิกปีละ 9%  เมื่อรวมกับเงินประเดิมที่รัฐบาลให้เพื่อจูงใจให้ข้าราชการเข้าเป็นสมาชิก กบข. เงินที่สมาชิกจ่ายเองและเงินที่รัฐบาลจ่ายสมทบเบ็ดเสร็จ สมาชิกจะได้เงินก้อนเป็นหลักล้าน
หรือหลายล้านบาท  นี่เป็นเหตุผลสำคัญทำให้คนที่ตัดสินใจเป็นสมาชิก กบข. เพราะเห็นว่าได้เงินก้อนโตหลังเกษียณมาตุนไว้ก้อนหนึ่ง ถึงเงินบำนาญจะลดลงไปบ้าง หักกลบลบกันแล้วยังดูคุ้มกว่าการรับบำนาญแบบเดิม แต่ผลตอบแทน
ที่กองทุนประเมินไว้ปีละ
9% ระยะยาว 20-30 ปี  เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ซึ่งต้องย้อนกลับไปดูว่า กองทุน กบข.
ตั้งตอน
ปี 2539 เป็นช่วงก่อนวิกฤตปี 2540 ดอกเบี้ยเงินฝากในตลาดขณะนั้นอยู่ที่สูงสุดประมาณ 18% ทำให้มีการคาดว่าผลตอบแทนของกองทุน กบข. ที่ 9% เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ยาก

แต่เมื่อเกิดวิกฤตปี 2540 ถือเป็นคนละเรื่องจนมาถึงปัจจุบัน ดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ 2-3% แต่อัตราเงินเฟ้อ
ที่สูงขึ้น
8-9% และกองทุน กบข. สร้างผลตอบแทนให้กับสมาชิกปีละ 5% เท่านั้น เมื่อคิดรวมเป็นเงินก้อนที่จะได้

ตอน
เกษียณแล้วเหลือหลักแสนบาท หรือหลักล้านบาทต้น ๆ เท่านั้น  ทำให้สมาชิก กบข. รุ่นบุกเบิกกลับมานั่งคิดว่าเมื่อเปรียบเทียบกับเพื่อนข้าราชการที่ไม่เป็นสมาชิกได้รับเงินบำนาญ 100%  แต่ตัวเองที่ได้รับเงินบำนาญแค่ 70%
จึงดูเหมือนตัวเองเสียรู้เพราะหากคิดระยะยาวอายุยืนจะได้รับผลตอบแทนน้อยกว่าคนที่ไม่ได้เป็นสมาชิก นอกจากนี้ ปัจจุบัน กบข. ยังเปิดโอกาสให้สมาชิก กบข. ที่เกษียณแล้วเก็บเงินไว้ให้กองทุนบริหารต่อได้ หรือให้เพิ่มสัดส่วน
ส่งเงิน
เข้ากองทุน กรณีที่ยังไม่เกษียณ ซึ่งหากไปบริหารเองในยามนี้ คงดีกว่า กบข. บริหารให้ไม่ได้ ก็ต้องพยายามคิดสิ่งที่ได้ดีกว่าคนไม่เป็นสมาชิก โดยไม่ไปคิดถึงเรื่องเงินบำนาญที่ได้น้อยกว่า อย่างไรก็ตาม สมาชิก กบข. ดังกล่าว
ยังบอกว่า ความรู้สึกนี้คงเป็นเฉพาะกับสมาชิก กบข.ในรุ่นแรก ๆ เท่านั้น เพราะในรุ่นหลังข้าราชการทุกคนถูกบังคับให้เป็นสมาชิก กบข. หมดแล้วคงไม่มีข้อแตกต่างให้มานั่งคิดมาก

ในเรื่องนี้ แม้ว่านายมนัส แจ่มเวหา รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง จะออกมาเปิดเผยว่า จะหารือกับ กบข. เพื่อหาทางปรับสูตรการคิดเงินบำนาญให้กับข้าราชการที่เป็นสมาชิก กบข. ใหม่แต่ก็ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจน
เพราะหากคิดตามหลักแล้วเมื่อเงินบำนาญมากขึ้น ก็จะไปส่งผลให้เงินก้อนที่เป็นสมาชิกลดน้อยลง เป็นงูกินหาง
ได้มากขึ้นทางหนึ่ง ไปลดลงอีกทางหนึ่ง ไม่มีทางเป็นไปได้จะได้เงินบำนาญมากขึ้นโดยที่เงินก้อนไม่ลดลง อย่างไรก็ตาม เหตุผลหนึ่งที่ทำให้สมาชิก กบข. รู้สึกได้ผลตอบแทนน้อยกว่า เพราะผลตอบแทนไม่ได้อย่างที่คาดคิดไว้ตอนเข้าเป็นสมาชิกใหม่ ๆ ซึ่งสูงมากยากที่ใครจะทำได้ ซึ่งตอนนี้ทาง กบข. ได้พยายามทำความเข้าใจกับสมาชิกตลอดเวลาว่าผลตอบแทนที่สมาชิกจะได้อยู่ที่
5% ต่อปีเท่านั้น เพราะนี้เป็นผลตอบแทนเฉลี่ยระยะยาว 20-30 ปี  ตลอดการเป็นสมาชิกของ กบข. ซึ่งอยู่ในวิสัยที่จะทำได้ นอกจากนี้ประเด็นเรื่องของอายุคนที่ยืนยาวขึ้นก็มีผลทำให้สมาชิก กบข. รู้สึกได้ผลตอบแทนน้อยกว่าคนที่ไม่เป็นสมาชิก เพราะก่อนหน้านี้คนมีอายุเฉลี่ย 68-70 ปี

ดังนั้น คนที่เป็นสมาชิกรับเงินก้อนไปก่อนก็รู้สึกว่าคุ้มกว่ารับเงินบำนาญของคนที่ไม่ได้เป็นสมาชิก แต่ปัจจุบันคนอายุยืนมากบางคนอายุถึง 80 ปี ทำให้สมาชิกเริ่มมองว่าหากอายุยืนเช่นนั้น ผลประโยชน์ที่ได้รับเงินก้อนรวมกับ
เงินบำนาญจะน้อยกว่าคนที่ไม่ได้เป็นสมาชิก ที่รับเงินเต็ม ๆ ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้เป็นตัวแปรที่จะมากำหนดได้ยาก ว่าใครได้ผลตอบแทนมากกว่าใคร

ทั้งนี้ ไม่ว่าใครจะให้เหตุผลอย่างไร วันนี้สมาชิก กบข. ต้องระทมทุกข์เหมือนหนีร้อนมาพึ่งเย็น มีแต่ทุนหายกำไรหด เมื่อไปพิจารณาวัตถุประสงค์ของกองทุน กบข. ตอนตั้งก็จะเห็นชัดว่ารัฐบาลต้องการปรับปรุงระบบบำเหน็จบำนาญ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าระบบบำเหน็จบำนาญตาม พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 ซึ่งจะใช้เงินเดือนเดือนสุดท้ายเป็นหลักในการคำนวณ ทำให้รัฐบาลไม่สามารถปรับปรุงอัตราเงินเดือนของข้าราชการที่ยังรับราชการอยู่ให้สอดคล้องกับภาวะค่าครองชีพที่แท้จริงได้ เพราะหากมีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนของข้าราชการ ก็จะส่งผลให้รายจ่ายบำเหน็จบำนาญของข้าราชการที่ออกจากงานไปแล้วเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งรัฐบาลมีภาระผูกพันในการจ่ายบำเหน็จบำนาญ และภาระการจ่ายบำเหน็จบำนาญในอนาคตจะเพิ่มสูงมาก

ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงตั้งกองทุน กบข. ขึ้นมาซึ่งแน่นอนว่าภาระของรัฐบาลต้องน้อยลง จะถือว่าข้าราชการตกหลุมพรางของรัฐบาล เพื่อลดรายจ่ายก็ไม่น่าจะเป็นเรื่องเกินเลย แต่วันนี้ข้าราชการต่างก็รู้แล้วว่าเสียรู้รัฐบาลไปแล้ว แต่ก็ไม่สามารถทำอะไรได้มากกว่านี้และต้องก้มหน้ายอมรับสภาพกันต่อไป แต่การที่จะมีการเลือกเลขาธิการ กบข.


คนใหม่ในเร็ว ๆ นี้ ก็ขอให้ได้คนใจซื่อ มือสะอาด ไม่รับใช้นักการเมืองและเห็นแก่ผู้ได้ประโยชน์ของข้าราชการเป็นหลัก และไม่เป็นเครื่องมือของนักการเมือง

20 กรกฎาคม 2552 โพสต์ทูเดย์ (คอลัมน์ หุ้นส่วนประเทศไทย)

หมายเลขบันทึก: 278391เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2009 15:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)
ด.ต.ศักดิ์สิทธิ์ อภิบาลคนดี

ปัจจุบัน มีเงินเดือน 20,830 บาท ถ้าจะลาออกจากราชการ ภายใน ต.ค.52 นี้

กรุณาช่วยคำนวนว่าจะได้รับเงินจาก กบข.

กรณ๊ เอา บำเหน็จจะได้เท่าไร

กรณี เอา บำนาญจะได้เท่าไร

คุณ 1. ด.ต.ศักดิ์สิทธิ์ อภิบาลคนดี [IP: 118.172.131.21]

ถ้าต้องการทราบว่า จะได้รับเงินจาก กบข. เท่าไร ต้องไปคำนวณที่เว็บไซต์ของ กบข. นะครับ

http://www.gpf.or.th/index.asp ที่ระบบ GPF Web Service แต่ต้องสมัครใช้ระบบก่อน ล่าสุด วันที่ 10/08/52 เวลา 15.00 น. ผมทดสอบตรวจสอบของผมดู ปรากฎว่า ปิดบริการชั่วคราวเพื่อปรับปรุงระบบ ไม่รู้เมื่อไหร่จะเปิดให้ตรวจสอบเองได้ ยังไง โทรถาม กบข. นะครับ

อย่าคิดอะไรมาก น่าถือว่ารัฐจัดการความเสี่ยงของชีวิตข้าราชการหลังเกษียณ เพราะบางท่านรับราชการโดยไม่ได้อยู่ในภูมิลำเนาเกษียณที่ไหนก็ไม่รู้ อย่างน้อยได้เงินก้อนมาเป็นทุนสำรองในการประกอบอาชีพหรือหาที่อยู่อาศัยและยังมีเงินบำนาญประจำเดือนใช้จ่ายซึ่งหลังเกษียณแล้วใครจะทราบว่าจะมีชีวิตยืนยาวเพียงใด เพราะปัจจุบันโรคที่ไม่ได้เกิดจากโรคมีมาก คนสูงอายุอย่างเราท่านก็คงไม่เป็นภาระให้กับบุตรหลาน เงินที่ได้รับจากกองทุนก็กรุณาลงทุนอย่างยั่งยืน เช่นซื้อสลากออมสิน สลาก ธกส. พันธบัตรรัฐบาล หรือทำประกันชีวิตไว้เพื่อเป็นมรดกกับบุตรหลานบ้าง

ผมเป็นสมาชิก กบข.คนหนึ่งพอทราบข้อมูลลึกๆที่กบข.ไม่เคยแจ้งให้สมาชิกทราบตอนเปิดรับสมัคร เช่น หักเงินบำเหน็จ/บำนาญ 30 % และให้อายุราชการแค่ 35 ปี คิดได้ไง ไม่ทราบใครคิดเอาเปรียบกันเห็น ยกตัวอย่างเช่น ผมรับราชการอายุ 18 ปี ตอนนี้ผมอายุราชการ 32 ปี และยังเหลืออายุราชการอีก 10 ปี รวบทั้งหมด 42 ปี นี่ยังไม่รวบทวีคูณอีก 9 ปี 6 เดือน ผมเห็นว่าน่าจะมีทางออกให้พวกผมด้วย เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการทำงานต่อไป

ตอนที่ผมสมัครเข้า กบข. จนท,ที่มาชี้แจงทำความเข้าใจ สำหรับผมถ้าเกษียณอายุจะได้รับเงินประมาณ สองล้านกว่าบาท พอมาถึงตอนนี้ถึงรู้ว่า จนท.ที่มาชี้แจงก็ไม่เข้าใจระบบ กบข.สักเท่าไร และก็คิดต่อไปว่าเราถูกรัฐบาลหลอกเสียแล้ว ถึงตอนนี้ผมเองก็ยังไม่เข้าใจเลยว่า กบข. เพื่อข้าราชการตรงใหน เงินก้อนที่ให้เรามาตอนเกษียณอายุ หรือเกษียณอายุก่อนกำหนดเหมือนกับว่า กบข. ให้เรายืมเงินหนึ่งก้อนแล้วเรียกเก็บคืนรายเดือนก็คือส่วนที่หายไป 30 % ถ้าคนเงินเดือนมากก็จะถูกหักคืนมาก กำหนดเวลาในการหักคืนก็คือ ตลอดชีวิตของสมาขิกที่รับเงินนั้งเอง น่าจะเรียก กบข.ว่า กองทุนเบียดบังข้าราชการมากว่า ถึงตอนนี้ถ้าให้ผมลาออกจาก กบข.ได้ แล้วไปใช้ระบบเดิมผมจะไม่เอาเงินที่หักไปคืนเลย แต่มันก็แก้อะไรไม่ได้ตอนนี้มีอยู่เดียวที่น่าจะทำได้คือ เพิ่มเงินที่ได้รับจาก 70 % เป็น 90 % อย่างนี้พอรับได้ เพื่อนผมเกษียณอายุก่อนกำหนดได้รับเงินบำบาญระบบเก่าสองหมื่อสามพันกว่าบาทอยู่อย่างสบายไม่มีหนี้สิน สุดท้ายหวังว่าท่านที่มีความรู้ความสามารถมีสงสารสมาชิก กบข.บ้าง ช่วยกรุณาปรับสูตรใหม่ให้สมาชิกได้รับบำนาญมากว่า 70 % ขอกราบขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้เป็นอย่างสูง

กองทุนนี้ตั้งขึ้นมาเพื่อใคร ? สมาชิก หรือ ผู้บริหาร ? ตอบให้ชื้นใจหน่อยครับ..

ข่าราบการ กบข. ช้ำจริงๆ เพราะมองไม่เห็นอนาตตจริงๆ

จ.ส.อ.นัตตพงษ์ มงคล

เป็นกองทุนที่ไม่ฟังเสียงสมาชิก ยกเลิกได้แล้ว ถ้าแก้ไขไม่ได้

กบข. คุณเป็นนิติบุุคคล คุณควรใช้เสียงสมาชิกส่วนใหญ่มาบริหารจัดการด้วยนะ มิใช้ใช้เสียงคณะกรรมการแค่ เก้าคน สิบคน มายืนหยัดอย่างนั้น อย่างนี้ ที่คิดไปแล้ว หากไม่ดี ก็ควรคิดใหม่ ทำใหม่ก็ได้นะ กบข.ตั้งมาได้ ก็ยุบเลิกได้ หากทำไม่ได้ก็บอกเหตุผลมา

พ.อ.โชติพัฒน์ ไตรภูวนาถ

อยากให้มีการพิจารณาปรับให้สูงขึ้นมากกว่า70 %

วิงวอนรัฐบาลใหม่ ช่วยข้าราชการ กบข.ด้วย ปรับปรุงสูตรคำนวณบำนาญให้มันดีกว่าเดิมอีกสักนิด ให้ข้าราชการเก่าที่จะเกษียณหรือลาออกก่อนเกษียณได้มีบำนาญหลังจากเกษียณแล้ว ให้พออยู่ได้ จักเป็นพระคุณอย่างสูง

กระผมจะเกษียนแล้วเงินเดือน 24000 บาท เข้า กบข.รับราชการมา 30 ปี ได้เงินจาก กบข. ประมาณ 400000 บาท รับบำนาญ

เข้า กบข.ประมาณ 11,000 บาท คิดดูว่ากระผมจะอยู่อย่างไร

เพลินพิศ สิกขเจริญ

เห็นดว้ยในการเปลี่ยนสูตรคำนวณเงินบำนาญเพิ่มจาก70%เพราะตอนสมัครไม่ได้แจ้งชัดเจนว่าจะได้บำนาญลดลง

ถ้ารู้จะไม่สมัครเป็นสมาชิกหรอก

อยากให้คิดสูตรคำนวนใหม่เป็น 45 ปีก็ยังดีเพราะตอนออกจากราชการแล้วจะได้มีบำบาญ

เทียบเท่ากับเขาบ้าง

อยากให้เปิดโอกาสคนรับราชการ 20 ปีขึ้นไปรับบำนาญได้

ขอแสดงความคิดเห็นควรจะลดจากบำนาญปกติแค่ ๑๐% ปัจจุบันลดตั้ง๓๐%ซึ่งไม่พอค่าใช้จ่าย ในการดำรงชีพหลังเกษียณอายุตอนสมัครเข้าเป็นสมาชิกโฆษณาชวนเชื้อบอกว่าจะได้เงินก้อนเป็นล้านสรุปแล้วเงินที่ได้ซื้อรถยนต์ยังไม่ได้คันเลยหน้าจะมีการปรับปรุงให้ดีขึ้กว่าในปัจจุบันมากๆ(สองเท่า)ที่จริงแล้วรัฐบาลแก้กฏหมายได้

มีกระแสความคิดแย้งจากสมาชิกส่วนใหญ่ (อาจจะทุกคนที่เป็นสมาชิก) คณะกรรมการ กบข.หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดย กค.

หรือกรมบัญชีกลางระดมความคิด ระดมสมอง แล้ววิเคราะห์ผลการวิจัย (ที่เคยวิจัยหรือเสนอผลการวิจัยมาแล้วหรือไม่ไม่ทราบ)

มิใช่นิ่งต่างแบ่งรับแบ่งสู้ ตอบให้ชัดเจนว่าว่า 30% เพราะอะไร ไม่สามารถลดได้กว่านี้เพราะอะไร มิเช่นน้ันสมาชิกก็ต้ังกระทู้

ไปจนกว่าส้ินสภาพสมาชิก ฝาก รบ.ชุดใหม่ลงมาดูด้วยความเป็นกลางจริง

ที่บอกว่าบำนาญจะลดลง 30% นั้น ไม่ถูกต้องครับ บำนาญเดิม เขาเอาเงินเดือนขั้นสุดท้าย มาคำนวณ แต่ กบข เอาเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือน สุดท้าย และต้องไม่เกิน 70% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายด้วย แถมคุยว่าจะได้ดอกผลจากเงินชดเชย เงินประเดิม เงินสะสม เงินสมทบ ไม่น้อยกว่า 9% ไม่ได้อย่างคุย บางปีขาดทุนย่อยยับ ไม่มีใครรับผิดชอบ บางคนตายก่อนเกษียณไม่ได้เงินประเดิมเงินสมทบ อีก ก็ขอเชิญชวนข้าราชการทุกประเภทร่วมกันวิงวอนรัฐบาลใหม่ให้แก้สูตรให้ได้ คงไม่เอาถึงขนาด ไม่ต่ำกว่า 95% อย่างที่เคยเสนอดอก แค่ไม่เกิน 80 - 90% ของเงินเดือนเฉลี่ย 36 เดือนสุดท้าย ก็คงพอเหมาะที่จะอยู่ในสังคมได้ในบั้นปลายของชีวิต

เห็นพ้องคุณเจริญ28กค.54ค่ะ/ตั้งใจช่วยดูแลประชาชนจริงจะเฉยช้าอยู่ใยคิดให้ใหม่อย่างเป็นกลางกันเถอะ ขรก.ก็ทำคุณมามากโขนะกว่าจะถึงเวลาเกษียนๆแล้วเขาก็ยังไปพัฒนาประเทศได้อีกนะหากช่วยฐานทุนกันสมน้ำสมเนื้อ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท