ใครป่วย


การนั่งตรวจคนไข้ในโรงพยาบาลเป็นรายคน ดู OPD แล้วเขียนใบสั่งยาไม่อาจแก้ปัญหาให้ผู้ป่วย ญาติ และชุมชนได้

    การรักษาผู้ป่วยจิตเวชนับเป็นงานหนึ่งที่มีความซับซ้อนในตนเองค่อนข้างมาก การนั่งตรวจคนไข้ในโรงพยาบาลเป็นรายคน ดู OPD แล้วเขียนใบสั่งยาไม่อาจแก้ปัญหาให้ผู้ป่วย ญาติ และชุมชนได้ สำคัญเพียงการเปลี่ยนแนวคิดว่าการใช้ความรู้ด้านเวชศาสตร์ครอบครัวอย่างถูกต้องและเต็มเวลาต่างหากที่จะเป็นคำตอบของการดูแลผู้ป่วย การเยี่ยมบ้านอย่างมีแบบแผนและการใช้ ผังเครือญาติ อย่างพิจารณาและทำความเข้าใจทำให้เราพบว่าปัญหาการเจ็บป่วยของคนที่มาหาเราอาจไม่มีทางหายหรือดีขึ้นหากไม่เข้าไปพิจารณาการเจ็บป่วยของอีกคนที่อยู่ในครอบครัวที่อาจไม่เคยโผล่หน้ามาให้เราเห็นเลยก็ไม่มีทางแก้ไขความเจ็บป่วยนี้ได้

    วันนี้พาทีมงานออกเยี่ยมบ้านและติดตามผู้ป่วยจิตเวชที่ต้องติดตามการรักษา พบว่าถ้าเราแบ่งผู้ป่วยง่ายๆอาจแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มคือ

๑.กลุ่มที่สร้างความรำคาญและหวาดกลัวให้กับชุมชน

๒.กลุ่มที่ไม่เป็นภัยต่อชุมชนแต่เป็นภาระแก่ครอบครัวและญาติ

๓.กลุ่มที่ไม่สร้างภาระแก่ใคร ดูแลตัวเองได้ เพียงแค่ต้องกินยาและพบเจ้าหน้าที่หรือแพทย์เป็นระยะ อาการอาจขึ้นๆลงๆ.......ซึ่งไม่น่าต่างจากเบาหวานเท่าใดนัก หรือใครว่าไม่จริง?

 

หมายเลขบันทึก: 277456เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2009 16:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สนับสนุนด้วยครับคนครับคุณหมอ ซึ่งผมได้เขียนถึงเรื่องการดูแลสุขภาพจิตของแม่ผมแล้ว ซึ่งผมได้ประสบกับตนเองครับ ลองอื่นดูนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท