มุ่ยฮวง
นาง ศันสนีย์ เกษตรสินสมบัติ

วิจัยเชิงปฏิบัติการในระดับไร่นา ตอนที่3


การศึกษาดูงานเพื่อเรียนรู้สิ่งที่ดี สามารถนำไปปรับใช้และพัฒนาการดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้ฯ ได้ เป็นกระบวนการหนึ่งของการวิจัยครั้งนี้

              จากตอนที่แล้ว ผู้เขียนนำผลการจัดเวทีเรียนรู้ ครั้งที่ 1 ซึ่งเป็นกระบวนการในการทำการวิจัยเชิงปฏิบัติการในระดับไร่นา ของศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียงบ้านคลองอ้อม โดยหนึ่งในความต้องการของผู้ร่วมวิจัยคือการไปศึกษาดูงาน ณ ศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียงที่ประสบความสำเร็จ ดังนั้นทีมวิจัยจึงได้พิจารณาเลือกที่จะไปศึกษาดูงานที่ศูนย์เรียนรู้ฯ บ้านสายเพชร อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยศูนย์แห่งนี้ เป็น 1ใน 40 ศูนย์ปราชญ์ชาวบ้านของประเทศอีกด้วย

               ครั้งนี้ผู้เขียนก็จะนำบรรยากาศและสิ่งที่ทีมวิจัยได้เรียนรู้จากศูนย์เรียนรู้ฯ บ้านสายเพชร จากการไปศึกษาดูงานมาฝากค่ะ

           ทีมวิจัยเดินทางมาถึงศูนย์เรียนรู้ฯ บ้านสายเพชร ก็มีเครื่องดื่มกับขนมสอดไส้ มาไว้บริการโดยทุกคนต้องช่วยเหลือตัวเอง ไม่มีใครมาชงเครื่องดื่ม หรือเสริฟให้ และยังต้องล้างถ้วยกันเองด้วย  นี่คือการเรียนรู้อย่างแรกเมื่อมาถึงที่นี่ เพราะต้องการให้ทุกคนรู้จักการพึ่งพาตนเอง เริ่มตั้งแต่เรื่องเล็กๆ ใกล้ตัว เพื่อจะได้พัฒนาไปสู่เรื่องการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

           จากนั้น วิทยากร พี่มนู  อยู่ยงค์ ก็ปฏิบัติหน้าที่ กล่าวต้อนรับคณะดูงานและแนะนำปราชญ์ชาวบ้านหรือวิยากรประจำฐานเรียนรู้

          โฉมหน้าปราชญ์ชาวบ้าน ซึ่งวันนี้มา 8 คน จาก 29 คน  และการเรียนรู้ที่ 2 คือ ที่นี่จะมีการพัฒนาศักยภาพปราชญ์อย่างต่อเนื่องและมีการทดสอบสมรรถนะและความรู้ความสามารถของปราชญ์ทุกปี โดยใช้แบบทดสอบ ซึ่งผู้ที่สอบผ่าน 80 เปอร์เซ็นต์ จึงจะได้รับแต่งตั้งเป็นปราชญ์ของที่นี่

               คณะดูงาน (ทีมวิจัย)  ตั้งใจฟังการบรรยายความเป็นมาของศูนย์ฯ  การเรียนรู้ในเรื่องที่ 3 คือ การบริหารงานของศูนย์ มีทีมงานที่เป็นปราชญ์ รับผิดชอบการปฏิบัติหน้าที่ไว้อย่างชัดเจน เช่น เป็นผู้ดูแลควบคุมด้านการเงิน เป็นวิทยากรหลัก เป็นวิทยากรประจำฐานเรียนรู้ เป็นแม่บ้านงานครัวดูแลเรื่องอาหาร เป็นผู้ดูแลด้านสถานที่ เป็นผู้ดูแลเรื่องสารสนเทศ และการเชื่องโยงเครือข่าย เป็นต้น

         จากนั้น คณะดูงานก็มาเยี่ยมชมและเรียนรู้ตามฐานต่างๆ ซึ่งครั้งนี้คณะดูงานเลือกชมเพียง 3 ฐานที่สามารถเป็นต้นแบบและแนวทางที่คล้ายคลึงกับศูนย์ฯ บ้านคลองอ้อม

         ฐานแรกที่เรียนรู้ คือ ฐานหมูหลุม  เป็นการเรียนรู้ที่ 4 พบว่าการเลี้ยงหมูหลุมเป็นวิธีการง่ายๆ สามารถใช้วัสดุในท้องถิ่น ใช้ทุนน้อย ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม (ไม่มีกลิ่นเหม็น และ ไม่มีของเสียจากการขับถ่ายออกไปสร้างความสกปรกนอกพื้นที่เลี้ยง) 

          วิธีการก็เริ่มจาก

          1. การเตรียมคอกโดยขุดหลุมลึก 90 ซม. ใส่แผ่นไม้หรืออิฐบล็อค กั้นข้างคอก ให้สูงขึ้นเหนือขอบหลุมเล็กน้อย แล้วใช้ไม้ไผ่กั้นคอกให้สูงเหนือหลุมประมาณ 1 เมตร

          2. จากนั้นใส่วัสดุลงพื้น ตามสัดส่วนดังนี้  ขุยมะพร้าว 20 ส่วน ดิน 10 ส่วน และเกลือเม็ด 1 ส่วนแล้วราดน้ำหมักชีวภาพข้างบน โดยทำแบบนี้ 3 ชั้นๆ ละ 30 ซม. 

          3. จากนั้นประมาณ 7 วัน ก็นำหมูมาปล่อยเลี้ยงได้

          4. อาหารก็ใช้พืชผักพื้นบ้าน เช่นหยวกกล้วย รวมทั้งพืชสมุนไพรที่มีในท้องถิ่น มาสับรวมกันหมักกับกากน้ำตาล 2-3 วันก็นำไปเลี้ยงหมูได้แล้ว ส่วนน้ำดื่มก็ผสมกับน้ำหมักชีวภาพใส่ถังแล้วต่อท่อเข้าคอกให้หมูดูดน้ำกินเอง

           ใช้เวลาเลี้ยง ประมาณ 4 เดือนก็จับขายได้ ซึ่งช้ากว่าการเลี้ยงแบบคอกทั่วไปเกือบ 1 เดือน แต่ขณะเดียวกัน ต้นทุนของการเลี้ยงหมูหลุมน้อยกว่าประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์  และเกษตรกรยังมีผลพลอยได้จากการเลี้ยงหมูหลุม คือ ได้ปุ๋ยคอกด้วย

       จากนั้นก็มาดูฐานรักษ์ดิน เป็นการเรียนรู้ที่ 5  ฐานนี้ให้ความรู้ตั้งแต่การทำความรู้จักกับดิน และจุลินทรีย์ที่มีระบบนิเวศ ซึ่งปราชญ์ได้ให้ข้อคิดที่น่าสนใจว่า จุลินทรีย์ก็เหมือนแม่ครัว มีหน้าที่ปรุงอาหารเลี้ยงดิน เพื่อให้ดินอุดมสมบูรณ์ เพื่อให้ดินมาเลี้ยงพืชอีกต่อหนึ่ง

สารสมุนไพรไล่แมลง

ทำน้ำหมักชีวภาพจากนมวัว

       สิ่งสำคัญของฐานนี้ก็คือ การทำปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ และสมุนไพรไล่แมลง อีกทั้งการนำปุ๋ยไปใช้กับพืชอย่างเหมาะสมด้วย

          และฐานสุดท้าย ฐานคนเอาถ่าน เป็นการเรียนรู้ที่ 5 คือ การเผาถ่านและน้ำส้มควันไม้

ลุงจง ปราชญ์ประจำฐาน ให้ความรู้เรื่องการเผาถ่านจากเศษไม้ที่หาได้จากการตัดแต่งกิ่งไม้ รวมทั้งไม้เหลือใช้ โดยไม่ต้องเข้าป่าตัดไม้ทำลายทรัพยากร

ภาพจำลองการทำเตาเผาถ่านแบบง่ายๆ ที่ลุงจงประยุกต์ใช้ และถ่ายทอดองค์ความรู้นี้ให้กับผู้เข้ามาเรียนรู้อย่างไม่ปิดบัง

          และนี่ก็คือการเรียนรู้ของทีมวิจัย ที่ใช้เวลา 1 วัน จากการดูงานในศูนย์ฯ ที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งผู้เขียนเองก็สรุปสาระความรู้ที่ได้จากเรียนรู้ครั้งนี้ ไว้ 5 ประเด็นที่นำเสนอข้างต้น แต่เชื่อว่าอีกหลายๆ คนในทีมวิจัยที่ได้เรียนรู้อาจจะเก็ยบเกี่ยวองค์ความรู้ดีๆ ได้มากกว่านี้  และในกระบวนการต่อไป ก็จะเป็นเวทีเรียนรู้ครั้งที่ 2 โดยนำสิ่งที่วิเคราะสถานการณ์จากเวทีที่ 1 ผนวกกับการศึกษาดูงานครั้งนี้ ไปสรุปประเมินผลและวางแผนพัฒนาศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียงบ้านคลองอ้อมต่อไป

หมายเลขบันทึก: 277264เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2009 10:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

เป็นกิจกรรมที่ดีมากๆครับ เกษตรกรได้รับความรู้ เห็นตัวอย่างจริง

เป็นกำลังใจให้ครับ

P

  • สวัสดีค่ะ คุณเจษฎา 
  • การศึกษาดูงานได้เห็นของจริงและได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปพร้อมๆ กันค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

ตามไปศึกษาดูงานด้วยคนค่ะ

สวัสดีครับ  มุ่ยฮวง

  • เป็นประโยชน์มากครับ
  • ผมต้องการความรู้เรื่องหมูหลุ่มอยู่พอดี
  • ขอบคุณมากครับ

P

P

P

สวัสดีค่ะ คุณครูใจดี ครูกิติยา และพี่เกษตรยะลา

  • ยินดีที่ได้ร่วมแลกปลี่ยนเรียนรู้ กับทั้งสามท่านเลยค่ะ
  • พี่เกษตรยะลา เป็นอย่างไรบ้าง งานยุ่งไม๊ ดูแลตัวเองด้วยนะคะ

สวัสดีครับ

  • ปราชญ์ แต่ละคน แต่ละพื้นที่ น่าช่นชมจริงๆครับ

P

  • สวัสดีค่ะ
  • ยังมีปราชญ์ในพื้นที่อีกมากมาย ที่เรายังหาไม่เจอ ปราชญ์ที่มีองค์ความรู้ในตัวอยู่มากมาย รอการค้นพบอยู่ค่ะ

 

สวัสดีค่ะคุณ มุ่ยฮวง

 อาร์มอยากจะไปร่วมศึกษาด้วยจังค่ะ ชอบการศึกษาชุมชนแบบนี้ค่ะ

วันนี้อาร์มมีกิจกรรมเชิญชวนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาฝากค่ะ 3 คำถามจากกิจกรรม World Cafe ในงาน GotoKnow Forum ครั้งที่1

ลองเขียนบันทึกดูนะค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

ทองเสาร์ สินสพรรณ์

สวัสดีครับคุณมู่ยฮวงทองเสาร์อยากจะไปรว่มศึกษาดว้ยครับชอบมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท