คุณลักษณะของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ( ตอนที่2)


การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการวางแผนอาชีพ ที่ประสบความสำเร็จนั้น ต้องอาศัยนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีความรู้ ความสามารถ ในการวางแผนเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะความรู้ ความเชี่ยวชาญทั้งทางศาสตร์และศิลป์ ซึ่งนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการ ดำเนินการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร ในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2    ด้านการพัฒนาองค์กร( Organization development ) พัฒนาเพื่อ

ตอบโต้กับการเปลี่ยนแปลงโดยใช้กลยุทธ์ทางการศึกษาที่ซับซ้อนโดยมุ่งที่จะเปลี่ยนความเชื่อ ทัศนคติ  คุณค่า และโครงสร้างองค์กร ทั้งนี้เพื่อให้มีปรับเปลี่ยนเพื่อให้เข้ากันได้กับทฤษฎี และ เทคโนโลยี   ใหม่ ๆ ของพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ รวมถึงการวิจัยแก้ปัญหา ( action research) แต่ในทางปฏิบัติจริง ๆ แล้วการพัฒนาองค์การโดยทั่ว ๆ ไปมักจะหมายความถึงการฝึกอบรมในหลายรูปแบบหรือการพยายามเข้าแทรกแซงองค์การในลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง

ลักษณะที่สำคัญของการพัฒนาองค์กรมีดังนี้

1.      การเปลี่ยนแปลงที่วางแผนไว้ล่วงหน้า วอร์เรน เบนนิส (Warren Bennis)

นับเป็นบุคคลแรกที่เน้นย้ำถึงความต้องการในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่ต้องเป็นไปอย่างมีระบบและวางแผนล่วงหน้า  จุดเน้นในการวางแผนนี้เองทำให้การพัฒนาองค์การแปลกไปจากการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ในองค์กร

              2.      การเปลี่ยนแปลงที่มีลักษณะครอบคลุม ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการพัฒนาองค์การส่วนใหญ่มักจะเน้นความพยายามในการพัฒนาองค์การซึ่งกระทำในลักษณะทั่วทั้งระบบ หรืออย่างน้อยก็เป็นหน่วยใดหน่วยหนึ่งที่บ่งชี้อย่าง          แน่นอน

                    3.      จุดเน้นจะอยู่ที่กลุ่มงาน แม้ว่าในบางครั้ง ความพยายามในการพัฒนาองค์การจะมุ่งไปที่การเปลี่ยนแปลงบุคคลหรือองค์การก็ตาม  แต่ก็ยังมุ่งไปที่กลุ่มต่าง ๆด้วย  นี้คือการมองในแง่ของสังคมวิทยา ของการพัฒนาองค์การ

                4. การเปลี่ยนแปลงในระยะยาว ผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาองค์การจะเน้นกระบวนการที่ใช้ยาวนานเป็นเดือนหรือในบางกรณีเป็นแรมปี เพื่อที่จะดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาองค์การ

                5. ตัวการการเปลี่ยนแปลงจะมีส่วนร่วมอยู่ด้วย ในการพัฒนาองค์การส่วนใหญ่จะเน้นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีบุคคลภายนอกหรือบุคคลที่สามที่ทำหน้าที่เป็นตัวการการเปลี่ยนแปลง ซึ่งไม่ใช่โครงการการเปลี่ยนแปลงด้วยบุคคลภายในองค์การเองเท่านั้น

                6. การเน้นย้ำจะอยู่ที่การเข้าแทรกแซงและการวิจัยเพื่อการแก้ปัญหา  วิธีการของการพัฒนาองค์การจะเน้นการแทรกแซงอย่างจริงจังในกิจกรรมที่ดำเนินอยู่ในองค์การ ส่วนการวิจัยเชิงแก้ปัญหานั้นจะมีเพื่อเผชิญปัญหาที่เกิดขึ้นในสภาพความเป็นจริง ซึ่งต่างจากการวิจัยประยุกต์ที่นักวิจัย ได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง ( สร้อยตระกูล (ติวยานนท์) อรรถมานะ ,2545 ,หน้า  440 )

          3.  ด้านการพัฒนาสายอาชีพ ( Career development ) เป็นกระบวนการจัดทรัพยากรบุคคลที่ช่วยเพิ่มศักยภาพ และกระตุ้นให้บุคคลปฏิบัติงานอย่างเต็มกำลัง  ด้วยความเต็มใจ การพัฒนาสายงานอาชีพจะมีการดำเนินงานที่ต่อเนื่องแบะสัมพันธ์กันอย่างมีระบบ  โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาความรู้  ทักษะ ขีดความสามารถ ศักยภาพ และทัศนคติของพนักงานให้เป็นไปตามทิศทางที่องค์การต้องการ  พร้อมกับส่งเสริมให้บุคลากรที่มีศักยภาพและพัฒนาการได้เจริญก้าวหน้าในการการงานตามสายอาชีพของตน  ซึ่งเราสามารถแบ่งการพิจารณาความหมายของการพัฒนาสายงานอาชีพออกเป็น 3  ส่วน  ดังนี้

          1. กระบวนการ การพัฒนาสายงานอาชีพเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการทรัพยากรบุคคลที่ต้องดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง  โดยที่แต่ละขั้นตอนมีการวางแผนการดำเนินงานอย่างเป็นขั้นตอน  และมีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบ  ซึ่งแต่ละขั้นตอนจะเชื่อมโยงกันอย่างสอดคล้องและมีเหตุผล  เช่นการหาความต้องการในการฝึกอบรบ  สามารถกระทำได้โดยอาศัยระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ  ซึ่งสามารถสะท้อนจุดเด่นและจุดอ่อนของบุคคล  เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการวางแผน พัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับแผนอาชีพต่อไป

                2. พัฒนา  การพัฒนาสายอาชีพเป็นกระบวนการส่งเสริมการพัฒนาความรู้  ทักษะขีดความสามารถ ศักยภาพ และทัศนคติ หรือความเป็นบุคคลที่สมบูรณ์ให้แก่สมาชิกขององค์การซึ่งการพัฒนาสายงานอาชีพจะสนับสนุนและส่งเสริมประโยชน์ร่วมกันระหว่างองค์การและสมาชิก  ดังนั้นโครงการพัฒนาอาชีพที่ประสบความสำเร็จจึงต้องมีการศึกษา  วางแผนและดำเนินงานให้สอดคล้องกับพัฒนาการขององค์การโดยรวม โดยทั้งบุคคลและองค์การจะได้รับประโยชน์จากการพัฒนาอาชีพทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม  แต่ละองค์การจะไม่รับภาระในการพัฒนาบุคลกรเพียงเพื่อตอบสนองความต้องการส่วนตัวของสมาชิกแต่ละคนเท่านั้น การพัฒนาพนักงานตามสายทางก้าวหน้าในอาชีพ การว่างแผนและพัฒนาอาชีพ ”( career planning and development ) มีความหมายเหมือนการพัฒนาอาชีพ หรืออาจขยายความหมายได้ในอีก 2 แง่มุมคือ

                1. ในแง่บุคคลแต่ละคน หมายถึงการให้โอกาสแก่พนักงานในการเพิ่มพูนความรู้ประสบการณ์ที่จำเป็นเมื่อเข้าทำงานในบริษัท เพื่อให้พร้อมที่จะรับผิดชอบต่อหน้าที่หรือมีโอกาสได้เปลี่ยนแปลงสถานภาพ  (ตำแหนง หน้าที่กางาน  สังกัด ฯลฯ ) ไม่ว่าจะเป็นด้านหน้าที่ความรับผิดชอบหรือตำแหน่งงาน  ซึ่งควรจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะ ๆ ในลักษณะที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาเทคนิคต่าง ๆ ในอันที่จะเป็นการสร้างความก้าวหน้าให้พนักงานจนกว่าจะไปจากองค์การ

                2. ในแง่องค์การ  หมายถึง การที่องค์การ ๆ ได้วางแผนเส้นทางก้าวหน้าในอาชีพ เพื่อให้พนักงานใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจเกี่ยวกับการวางแผนชีวิตในหน้าที่การงานของตนร่วมกับผู้บังคับบัญชา  เช่นในรูปของการให้โอกาสพนักงานให้ก้าวหน้าเติบโต  โดยอาศัยการฝึกอบรมและพัฒนาเป็นลำดับ ๆ เพื่อให้โอกาสสับเปลี่ยน โอนย้ายหน้าที่การงาน  การผิดชอบงานโครงการพิเศษ เป็นต้น

                จากความเห็นตังกล่าวข้างต้น อาจกล่าวสรุปได้ว่าการวางแผนอาชีพได้ว่า การวางแผนอาชีพ (career planning) เป็นความรับผิดชอบโดยตรงของพนักงานและบริษัทที่จะกำหนดหรือเลือกอาชีพ(career)  ของตนเองแล้วจึงกำหนดเป้าหมายอาชีพ (career goal)  พยายามดำเนินการต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงพัฒนาตนเอง ( career development ) พยายามปฏิบัติงานและดำเนินการต่าง ๆ ตามเส้นทางเดินอาชีพ (career path) เพื่อบรรลุผลตามที่ต้องการ  โดยบริษัทเป็นผู้สนับสนุนในการวางแผนพัฒนาอาชีพในองค์การต่อไป

                 สรุปแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการวางแผนอาชีพ ที่ประสบความสำเร็จนั้น ต้องอาศัยนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีความรู้ ความสามารถ ในการวางแผนเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะความรู้ ความเชี่ยวชาญทั้งทางศาสตร์และศิลป์ ซึ่งนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการ ดำเนินการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร ในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับการวางแผนอาชีพที่มีประสิทธิภาพ ควรมีคุณสมบัติ ดังนี้

                1.  คุณลักษณะด้านความรู้  นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพควรมีความรู้ในวิชาการที่รับผิดชอบ หรือวิชาที่เกี่ยวข้องกับงานของตน  ความรู้ที่เกี่ยวกับหน่วยงานที่ตนสังกัดอยู่ หลักและทฤษฎีการเรียนรู้  เทคนิค และวิธีการฝึกอบรม กระบวนการฝึกอบรม ความรู้เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมกลุ่มและการทำงานเป็นทีม เป็นต้น

                2.  คุณลักษณะทางด้านความสามารถ นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทีดี และมีคุณภาพต้องมีความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหา  การแก้ไขปัญหา การวางแผนจัดโครงการฝึกอบรม การประสานงาน การทำงานร่วมกับผู้อื่น ความสามารถทางการพูด  การเขียนที่จูงใจ ความสามารถในการใช้เทคนิคและวิธีการถ่ายทอดความรู้ ความสามารถในการใช้สื่อประกอบการสอนและความสามารถ ในการสร้างบรรยากาศที่เป็นกันเอง

                3. คุณลักษณะด้านบุคลิกลักษณะ นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ดีและมีคุณภาพ ควรมีบุคลิกลักษณะที่ดีในด้าน น้ำเสียง กาพูดจา การวางตัวเป็นแบบอย่างที่ดี ใจกว้างมีมนุษยสัมพันธ์           มีอารมณ์คงที่  มีความเชื่อมั่นในตัวเอง มีเหตุผล  มีความอดทนเข็มแข็ง  มีระเบียบวินัย  มีความจริงใจ  มีอารมณ์ขัน  มีความคล่องแคล่ว  มีความเป็นกันเอง เป็นมิตรกับบุคคลทั่วไป

                4.  คุณลักษณะด้านคุณธรรม นักพัฒนาทัพยากรมนุษย์ที่ดี และมีคุณภาพ ต้องมีคุณสมบัติ ด้านความประพฤติที่ดีงาม  ความโอบอ้อมอารี ความเอื้อเฟื้อ ความเมตตาปราณี และความตรงต่อเวลา

                5.  คุณลักษณะด้านอุดมการณ์ในการปฏิบัติงาน  นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ดี และมีคุณภาพ ควรเป็นผู้ที่มีใจรักในงานฝึกอบรม  มีทัศนคติที่ดีต่องานฝึกอบรม  ชอบใฝ่หาความรู้และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  อุทิศตนเพื่อส่วนรวม และสนใจต่อความก้าวหน้าขององค์กร และหน่วยงาน

                จากคุณลักษณะของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ดังกล่าวข้างต้นทั้ง 5ข้อ นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการวางแผนอาชีพ ต้องมีคุณลักษณะทางด้านคุณธรรม  จริยธรรม ควบคู่กันไปด้วย การมีคุณธรรม  จริยธรรม เป็นฐานความรู้นั้น จะทำให้นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ตามหลักการทางความรู้ ความสามารถที่มีหลักการทฤษฎีอีกทั้งยังมีคุณธรรมจริยธรรม เป็นแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมตามทำนองครองธรรม  ทั้งนี้นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ควรยึดหลัก ไตรสิกขา อันประกอบด้วย สมาธิ  ปัญญา เพราะหลักการดังกล่าวถือว่าเป็นหลักธรรมในการดำเนินชีวิตของมนุษย์   ดังนี้

          1. ศีลสิกขา  ความมีวินัยเป็นเครื่องมือของการฝึกศีล เป็นกระบวนการจุดเริ่มต้นในการพัฒนามนุษย์ทางกาย ในเรื่องของสัมมาวาจา (วาจาชอบ) สัมมากัมมันตะ ( การงานชอบ) สัมมาอาชีพ ( อาชีพชอบ)

                2. จิตตสิกขา  ความมีคุณธรรม การฝึกด้านจิต หรือระดับจิตใจ ได้แก่การพัฒนาคุณสมบัติต่าง ๆ ของจิตทั้งด้านคุณธรรม เช่นความเมตตากรุณา  ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ด้านความสามารถของจิต ไม้เกิดสัมมาวายามะ ( เพียรพยายามชอบ ) สัมมาสติ (ระลึกชอบ) และสัมมาสมาธิ ( ตั้งใจชอบ )

                3. ปัญญาสิกขา  ความมีวิจารณญาณ  เป็นคำตอบสุดท้ายของการเรียนรู้  ปัญญาเป็นเรื่องของการฝึกหรือพัฒนาด้านความรู้ความจริง  เริ่มตั้งแต่ความเชื่อ  ความเห็น  ความรู้  ความเข้าใจ  ความหยั่งรู้ เหตุผล  การรู้จัดวินัย  ไตร่ตรอง  ตรวจสอบ  คิดการต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์ จนเกิดสัมมทิฐิ (ความเห็นชอบ ) สัมมาสังกัปปะ ( ความดำริชอบ)

                หลักไตรสิกขา เป็นหลักปฏิบัติของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อหล่อหลอมพฤติกรรมทางกายที่ดี  มีจิตใจที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  เมตตากรุณา  ซื่อสัตย์สุจริต จนก่อเกิดคุณลักษณะของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในการวางแผนอาชีพ  ดำเนินชีวิตพร้อมกระทำพฤติกรรมต่าง ๆ อันเป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น โดยมีสติรู้ตน  มีปัญญารู้คิด  มีเหตุมีผล ใช้วิจารณญาณไตรตรองคิดอย่างสร้างสรรค์ แก้ปัญหาโดยใช้ปัญญา

               

 จากบทความเบื้องต้น ผู้ศึกษามีความคิดเห็นว่าการพัฒนาทรัยากรมนุษย์กำลังเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับทุกๆ หน่วยงานและองค์การ ตราบเท่าที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงและเต็มไปด้วยการแข่งขันในทุกๆ ด้าน ดังจะเห็นได้จากการนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทำให้มนุษย์เป็นบุคคลที่มีความชำนาญ   มีศักยภาพที่เปี่ยมล้น ทั้งนี้เพื่อให้องค์การนั้นบรรลุเป้าหมายที่กำหนด    อย่างไรก็ตาม การพัฒนาทางด้านศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ก็ควรควบคู่กับการพัฒนาด้านคุณธรรมจริยธรรมด้วย ดังที่ได้กล่าวไว้ว่าสังคมในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงและแข่งขันสูง  ความนึกคิดด้านคุณธรรมจริยธรรมดูเหมือนจะสวนทางกัน คือถอยหลังลงทุกที  มนุษย์เริ่มมีความเห็นแก่ตัว คำนึงถึงประโยชน์ส่วนตนเป็นหลัก  การกระทำบางอย่างอาจทำให้ความเก่งกล้าสามารถของตนไม่มีความหมายอะไรเลย  หากการกระทำนั้นพิสูจน์ได้ว่าเขาทำเพื่อตนเองและวงศ์วานญาติพี่น้อง  จึงมีการทุจริตคอรับชั่นที่เห็นในปัจจุบันหลายกรณี ดังนั้นบทพิสูจน์ความเป็นมนุษย์ ที่พัฒนาแล้ว  จึงควรที่จะต้องเป็นมนุษย์ที่มีคุณธรรม พร้อมความสามารถในการที่จะพัฒนาตนเองและองค์กรให้ก้าวเข้าสู่ความสำเร็จด้วยวามจริงใจและตั้งมั่น นั่นเอง

หมายเลขบันทึก: 277232เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2009 08:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 13:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

แก้ปัญหาด้วยปัญญา...ฉลาดคิด ฉลาดหา ฉลาดทำ เยี่ยม....

บทความมีประโยชนืในการนำไปใช้ได้ดีมากครับพี่เอก

แวะมาเยี่ยมชมผลงานของอาจารย์เอกค่ะ ขอบคุณที่ให้ความรู้

ขอบคุณทุกท่านที่แวะมา เจรจาพาทีและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และขอบคุณอย่างสุดซึ้งแด่ ท่าน ดร.ดิศกุล เกษมสวัสดิ์ที่ท่านแนะนำให้เราได้เปิดโลกทัศน์แห่งการเรียนรู้ที่ไร้พรมแดนเช่นนี้ ขอขอบพระคุณม๊าก ๆ อีกครั้ง

                                 ภาพเคลื่อนไหว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท