วางแผนประเมินความเสี่ยงการตรวจสอบภายใน


การประเมินความเสี่ยง

 

วางแผนประเมินความเสี่ยงการตรวจสอบภายใน
เพื่อบรรลุความสำเร็จของโรงเรียน

                                                                                                                                สุเพชร ยอดตา

 

                การตรวจสอบภายใน ถือเป็นเครื่องมือหรือผู้ช่วยของผู้บริหารและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงาน ของงาน กลุ่มสาระการเรียนและกลุ่มการบริหารในโรงเรียน รวมทั้งเสนอแนะแนวทางหรือมาตรการที่จะทำให้ผลการดำเนินงานมีประสิทธิภาพ บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่งาน กลุ่มสาระการเรียนรู้และกลุ่มการบริหารงานที่กำหนด การตรวจสอบภายในเป็นการสนับสนุนและเพิ่มคุณค่าให้กับการปฏิบัติงาน ซึ่งจำเป็นที่จะต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์ การวางแผนการตรวจสอบ การนำแผนสู่การปฏิบัติ การติดตามผล และการรายงานผล การตรวจสอบภายในเป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะเป็นหลักประกันว่าการทำงานในองค์กรจะบรรลุเป้าหมายหรือไม่

ดังนั้น งาน กลุ่มสาระการเรียนรู้และกลุ่มการบริหารในโรงเรียน   จึงจำเป็นที่จะต้องมีการประเมินความเสี่ยงเข้ามาเกี่ยวข้อง ในปีงบประมาณ 2552 สำนักงาน ก.พ.ร.ได้กำหนดหนดตัวชี้วัดในมิติที่ 3 มิติด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ ระดับความสำเร็จของการตรวจสอบภายในได้กำหนดตัวชี้วัดกำหนดเป็น (Milestone) 5 ระดับ ขั้นต่ำก็คือระดับที่ 3 จะต้องทำให้ได้ คือจะต้องมีการจัดทำแผนตรวจสอบตามผลการประเมินความเสี่ยงของกิจกรรม หรือหน่วยงาน เป็นจุดที่ต้องให้ความสำคัญ จึงเป็นที่มาของการประชุมในครั้งนี้
                 ชินภัทร ภูมิรัตน
กล่าวว่า ปัจจุบันการบริหารความเสี่ยง( Rictmamgement ) เป็นเรื่องของการบริหารความเสี่ยงที่ทุกหน่วยงานต้องดำเนินการ การบริหารความเสี่ยงคือทำอย่างไรให้ปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ที่มีทั้งภายในและภายนอกองค์กรไม่มาเป็นอุปสรรค ทำให้ไม่บรรลุเป้าหมาย ดังนั้นเราต้องรู้เข้าใจและปฏิบัติได้ ความเสี่ยงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องทั้งปัจจัยภายในและภายนอก เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงเราทำงานภายใต้การเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาฟังข่าว โทรทัศน์ก็จะรู้ว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ปัจจัยเสี่ยงทั้งในและนอกประเทศมีทั้งสิ้น
                การประเมินความเสี่ยงเป็นการประเมินระบบงาน ระบบการปฏิบัติงาน ระบบการจัดการความเสี่ยงเพื่อเชื่อมโยงกับเป้าหมายขององค์กรและจะมองเห็นภาพว่าการประเมินความเสี่ยงจะต้องสร้างฐานมาจากระบบงาน มีมาตรฐาน มีประสิทธิภาพ วิเคราะห์ให้ออก ผู้ตรวจสอบภายในต้องวิเคราะห์ให้ออก โดยมีความเข้าใจของระบบงาน เป้าหมายหน่วยงาน วิธีการปฏิบัติ
และวิเคราะห์ออกมา เป็นการระบุความเสี่ยงรู้รายงานให้ผู้บริหารโรงเรียนได้รับทราบ ผู้ตรวจสอบภายในต้องเป็นผู้มีความรู้เข้าใจภารกิจของหน่วยงานอย่างถ่องแท้ ไม่ใช่รู้แค่ด้านเดียว ต้องรู้ภาพกว้าง รู้ภารกิจขององค์กร เป้าหมายองค์กรจะดำเนินไปทางไหน สามารถวิเคราะห์เชื่อมโยงได้ตั้งแต่ระบบงาน ภารกิจ แผนงานกิจกรรมไปสู่เป้าหมาย และขั้นตอนการเสนอแนะไปผู้บริหารโรงเรียน ไม่ควรเสนอเพียงข้อเท็จจริงของปัจจัยความเสี่ยงเท่านั้น ควรจะต้องมีข้อเสนอแนะบางประการว่าควรจัดการอย่างไรให้เกิดความเหมาะสม
                วิธีการดำเนินการในเรื่องการตรวจสอบภายใน ได้ปรับแนวคิดจากเดิม ในอดีตเรามักคิดว่าการตรวจสอบภายในเป็นเรื่องของการจับผิด ว่าใครทำอะไรไม่ถูกต้อง คือเป็นการบริหารงานตามระเบียบว่าใครทำผิดกฎระเบียบ แต่การทำงานในด้านเดียวโดยใช้กฎระเบียบเป็นตัวตั้งไม่ได้เกิดประโยชน์ เพราะไม่ได้ช่วยคลอบคลุมภารกิจขององค์กรทั้งหมดในภาพรวม ขณะนี้ได้มีการปรับแนวคิดใหม่ว่าการตรวจสอบภายในต้องคลอบคลุมภารกิจเป้าหมาย รู้ว่าเป้าหมายปลายทาง

จะทำอะไรให้บรรลุผล จึงจำเป็นต้องมีการประเมินความเสี่ยงเข้ามา ภารกิจของการตรวจสอบภายในจึงคลอบคลุมมากขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ การตรวจสอบภายในจะต้องมีการวางแผน คือเริ่มจากการวิเคราะห์ข้อมูลและสภาพแวดล้อมหน่วยงาน ประกอบการประเมินความเสี่ยงและจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังให้เหมาะสมกับทรัพยากรที่มีอยู่ เราต้องจัดลำดับความสำคัญให้สอดคล้องกับกำลังคน
                สาระสำคัญของการประเมินความเสี่ยงนั้นทุกคนที่เกี่ยวข้องจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ
เกี่ยวกับเทคนิควิธี ว่าการประเมินความเสี่ยงจะมีอะไรบ้างและจะสามารถประยุกต์ได้ว่า เทคนิคจะสามารถนำไปใช้ในหน่วยงานได้อย่างไร จะมีการแสดงตัวอย่างความเสี่ยง ซึ่งความเสี่ยงมาจากหลายสาเหตุมาจากสภาพแวดล้อมทั้งภายในและนอกองค์กร ความเสี่ยงที่เกิดจากกระบวนการทำงานและความเสี่ยงจากที่เรามีข้อมูลไม่ดีพอ หน่วยงานมีข้อมูลไม่มีคุณภาพไม่เป็นปัจจุบัน ไม่ถูกต้อง ถือเป็นความเสี่ยงของหน่วยงาน ในขั้นต้นถ้าจะลดความเสี่ยงของการดำเนินงานเราต้องจัดระบบข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ ให้มีคุณภาพ สภาพแวดล้อมภายนอกเริ่มต้นจากการเปลี่ยนแปลงของนโยบายรัฐบาล ก็ต้องทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินฉบับใหม่ ออกกฎหมายข้อบังคับใหม่ ส่วนภายในก็จะเกี่ยวข้องกับการปรับโครงสร้างหน่วยงาน ที่สำคัญ จุดที่เปลี่ยนได้หรือไม่นั้นอยู่ที่วัฒนธรรมองค์กร การรวมตัวของหน่วยงานตามโครงสร้างของกระทรวงศึกษาธิการ หน่วยงานการศึกษาเหมือนกันก็มีวัฒนธรรมต่างกัน ต้องอาศัยความร่วมแรงร่วมใจของผู้บริหารว่าจะสร้างเอกภาพความสามัคคีได้หรือไม่
                 นอกจากนี้ การฝึกปฏิบัติวิเคราะห์ความเสี่ยง จะประกอบไปด้วยมิติกลยุทธ์
การปฏิบัติงาน เป็นกิจกรรมที่ดีที่ก่อประโยชน์แก่งาน กลุ่มสาระการเรียนรู้และกลุ่มการบริหารในโรงเรียน โดยเฉพาะในด้านตรวจสอบภายในเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาความรู้ ความสามารถของผู้ตรวจสอบภายในของโรงเรียน ตลอดจนเกิดทักษะนำไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

http://www.moe.go.th/webpr/chinnaphat/news/m071552/edu1.html  เข้าถึง 16/07/2009

หมายเลขบันทึก: 276903เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2009 02:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท