8 วิธีลดปวดหัวกล้ามเนื้อตึงเครียด(tension headache)


 

...

อาการปวดหัวที่พบบ่อยที่สุด คือ 'tension headache' = ปวดหัวจากกล้ามเนื้อ-เอ็นตึงตัว หรือตึงเครียด (tension = ความเครียด ความตึง อาการตึงตัว; headache = ปวดหัว)

ทว่า... สาเหตุที่แท้จริงของโรคนี้ คือ ยังไม่รู้สาเหตุ สิ่งที่เรารู้ตอนนี้ คือ เป็นกลุ่มปวดหัวที่ไม่ร้ายแรงอะไร ทำให้รำคาญ ไม่ทำให้ถึงตาย [ MayoClinic ]

...

ปัจจัยเสี่ยงของโรคนี้ คือ การอยู่ในท่าทางแบบเดิมๆ นานๆ เช่น นั่งทำงานนานๆ ฯลฯ หรือท่าทางไม่ดี เช่น ตัวเอียง ไหล่งอ คองุ้ม ฯลฯ ความเครียด(ทางใจ) นอนกัดฟัน ทำให้กล้ามเนื้อหรือเอ็นตึงเครียด

ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่ การดื่มแอลกอฮอล์ กินอาหารที่มีกาเฟอีนมากเกิน หรือเคยกินแล้วอยู่ๆ ก็หยุดทันที เช่น กาแฟ ชา โกโก้ น้ำอัดลมน้ำดำ ฯลฯ สูบบุหรี่ สายตาไม่ดี หรือแว่นไม่พอดีกับสายตา ความเหนื่อยล้า เป็นหวัด ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ หรือไซนัส (โพรงรอบจมูก) อักเสบ [ NIH ]

...

อาการที่พบได้บ่อย คือ ปวดหัวทั่วไป ปวดบีบๆ ไม่มีปวดตุ๊บๆ ตามจังหวะหัวใจ (ชีพจร) ปวดมากทางท้ายทอย คอด้านหลัง หรือขมับ  

อ.นพ.แอนดรูว์ ดอว์ซัน หัวหน้าหน่วยบริการคลินิกอีสท์ เคนท์ UK แนะนำว่า การบริหารต่อไปนี้อาจช่วยให้อาการปวดทุเลาลงได้ในคนไข้บางคน

...

วิธีฝึกมีดังต่อไปนี้

  • (1). นั่งตัวเกือบตรง มองไปข้างหน้า ผ่อนคลายส่วนไหล่
  • (2). หันหน้าไปด้านข้าง ใช้คางแตะไหล่ช้าๆ (ซ้าย + ขวา)
  • (3). หันหน้าไปด้านข้าง ใช้ใบหูแตะไหล่ช้าๆ (ซ้าย + ขวา) 
  • (4). ก้มหน้าช้าๆ ใช้คางแตะหน้าอก

...

  • (5). หงายคอไปด้านหลังช้าๆ แหงนหน้าไว้สักครู่ แล้วกลับสู่ท่าคอตรง
  • (6). ทำซ้ำ 6 ครั้งช้าๆ 20 รอบ, ถ้ารู้สึกสบายจะทำซ้ำวันละหลายๆ ครั้งก็ได้
  • (7). อาจใช้การประคบร้อน เช่น กระเป๋าน้ำร้อน ฯลฯ หรือประคบเย็น เช่น ใช้แผ่นเจลของ 3M ฯลฯ ห่อด้วยผ้าเปียกบิดพอหมาดๆ คราวละ 10-15 นาทีช่วยได้
  • (8). ลองทำดู!

...

แนะนำให้อ่าน

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

 > Thank MailOnline

ที่มา                                                                      

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า >  > 15 กรกฎาคม 2552.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 276758เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2009 15:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 01:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณค่ะคุณหมอกำลังจะลองทำดูค่ะ ปวดหัวมาหลายวันแล้วสงสัยอากาศจะร้อนมากด้วย

มีประโยชน์มากขอบคุณจริงๆค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท