รัชดาวัลย์
นาง รัชดาวัลย์ แอ๊ว สวนจันทร์

การบริหารคนดื้อ


การบริหารคนดื้อ

การบริหารคนดื้อ

          การบริหารคนดื้อ (ของ ดร.วรภัทร์  ภู่เจริญ)ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ซึ่งมีหน้าที่ เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการคนดังนี้
          1. บันทึกรายชื่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  (Stakeholder)  ทั้งหมดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง และจะให้เขา มีส่วนร่วมใน     การเปลี่ยนแปลงด้วยหรือไม่
           2. เราจะเลือกใช้หลักการใดในการเจรจา  โดยพูดแบบปิยวาจาดีที่สุด ชี้แจงผลประโยชน์ให้ชัด ๆ
           3. อย่าดันทุรังเปลี่ยนแปลงในเร็ววัน  จงหยุดเมื่อเห็นว่า อุณหภูมิหรืออารมณ์เริ่มร้อนแรง
            4. จงจำไว้ว่าถ้าคิดจะเปลี่ยนแปลงใคร  จงเปลี่ยนแปลงตนเองดีกว่า  ง่ายที่สุด  อยากให้คนอื่น   เป็นอย่างไรเราก็จงทำอย่างนั้น  อยากให้เขายอมรับเรา  เราต้องยอมรับเขาก่อน
             5. สร้างวิสัยทัศน์ให้ชัดเจน  อาจจะชี้แจงเป้าหมายองค์การ เพื่อให้ทุกคนมีเป้าหมายร่วมกัน
             6. ศึกษาอารมณ์ของผู้ที่ถูกเปลี่ยนแปลงว่า เวลาใดเหมาะกับการเจรจามากที่สุด
             7. ใช้ความจริง  สถิติ  ข้อมูล  ทำตารางชี้แจงว่าทางเลือกต่าง ๆ ได้เสียอย่างไรบ้าง  เช่น  อาจทำตารางให้คะแนน เพื่อจัดลำดับความสำคัญ
             8. ใช้กิจกรรมกลุ่มที่ทุกคนมีส่วนร่วม โดยใช้หลักการแก้ปัญหาแบบที่ทำในองค์การโดยผู้บริหาร
และทุกคนมีส่วนร่วม
             9. ภาษาที่เจ้านายสนใจ  คือกำไรคุ้มทุน  เมื่อเสนอทางเลือกให้เจ้านาย จงเตรียมตอบเรื่องกำไรคุ้มทุนให้ดี ๆ
           10. ภาษาที่ลูกน้องสนใจ คือ  ฉันจะได้อะไร  เจ้านายต้อง น่าเชื่อถือได้  มีวาจาเป็นสัจจะ
           11. การเปลี่ยนแปลงมีหลายแบบ เช่น ทยอยทำ  ทำพร้อม ๆ กันทั้งองค์การ  ทำหลังอบรม

โดยวิทยากรจุดประกายมีการอบรมอย่างสม่ำเสมอ
           12. ในการเปลี่ยนแปลง  เราต้องแยกให้ออกว่า  อะไรคืออุปสรรค   และอะไรคือตัวแปร

 ที่ควบคุมได้
           13. ความเชื่อที่ว่า  เมื่อขึ้นเงินเดือนแล้ว  พนักงานจะทำงานดีขึ้น นั้นไม่จริง  ควรใช้อย่างอื่น
 ที่ไม่ใช่เงินไปก่อน เช่น  รางวัล  โบนัส  แบ่งกำไร  ไปเที่ยว
           14. เตรียม  Emergency  Plan   ไว้ รองรับการเปลี่ยนที่นึกไม่ถึงเสมอ ๆ
           15. สร้างพระเดชและพระคุณ เช่น  ให้ธรรมะเป็นทาน  ให้โอกาส  ให้กำลังใจ  ให้ความรู้
 สอนให้รู้วิธีการเรียนรู้
           16. จงอย่าต้อนใครจนมุม
           17. ไล่ตัวเองออกไป  เราอาจเป็นตัวปัญหา  ลองคิดใหม่ทำใหม่หรือพบกันครึ่งทาง

           18. เปลี่ยนตัวผู้บริหาร บ่อยครั้งปัญหาอยู่ที่เจ้านาย  ไม่ใช่ลูกน้อง
           19. สติของเราเอง คือ สิ่งที่ดีที่สุดในการเปลี่ยนแปลง จงมีสติ
             การบริหารเป็นศาสตร์ และศิลป์ ที่ผู้บริหารจำเป็นต้องปรับประยุกต์นำกลยุทธ์ต่าง ๆ มาใช้เพื่อช่วยให้การบริหารจัดการทั้งงาน  เงิน และประสานกัน  เพื่อสนับสนุนเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ขององค์การโดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารคนซึ่งถือเป็นบทพิสูจน์ความสามารถด้านการบริหารจัดการของผู้บริหาร  หากคิดในเชิงบวกแล้วการที่ผู้บริหารต้องเผชิญกับคนดื้อมากเท่าใด  ยิ่งเป็นงานท้าทาย ความสามารถก่อนมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ผู้บริหารควรใช้เวลาให้มากในการวางแผน เพื่อบริหาร         การ เปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบและต้องเลือกใช้กลยุทธ์อย่างเหมาะสม  มีประสิทธิภาพ  สอดคล้องกับ วัฒนธรรมองค์การและสถานการณ์ให้มากที่สุดด้วย

               ข้าพเจ้ามีความคิดเห็นว่าหากจะเป็นนักบริหารที่ดี   อันดับแรกควรบริหารตนเองก่อน การที่จะให้ใครทำตามใจเรานั้นต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ควบคู่กัน   การบริหารจะยากหรือง่ายนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การบริหารอารมณ์ของตนเองให้มั่นคง  มีสติอยู่เสมอ   ถือหลักไตรลักษณ์  คือ  ศีล  สมาธิและปัญญา   จะสามารถเแก้ปัญหาได้ทุกสถานการณ์   รวมทั้งเตรียมแผนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง

หมายเลขบันทึก: 276564เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2009 21:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤษภาคม 2012 16:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

เห็นด้วยกับความคิดเห็นของพี่ค่ะ ในสังคมปัจจุบันมีคนดื้ออยู่เยอะส่งผลให้เกิดปัญหาในการบริหารทรัพยากรมนุษยื แต่น้องหน่อยไม่ดื้อหรอกค่ะ

เอ..ถ้าหน่อยไม่ดื้อแล้วใครกัน ....ค้นหาคนดื้อไม่ต้องใช้เวลา ถ้ารักษาคงนานนะ แต่ไม่เป็นไร หน้าที่นี้เป็นของผู้บริหาร

น้องเหงี่ยม ถ้าคนที่บ้านไม่ดื้อ วิธีการนี้ก็ไม่เป็นประโยชน์

บทความนำไปใช้ประโยชน์ได้ดีมากครับพี่แอ๋ว

เห็นห้อข้อของพี่แอ๊วแล้วน่าสนใจมากเลยค่ะต้องรีบอ่านทันที

เห็นหัวข้อแล้วสนใจมากค่ะ ต้องรีบเข้ามาศึกษาวิธีการ เพราะมีลูกน้องค่อนข้างดื้อหลายคนค่ะ

ซื่อสัตย์ต่ออารมณ์ตนเอง..... เห็นความสำคัญของอารมณ์ผู้อื่น

ผมว่าดีนะครับ

สันติจงมีแด่โลกใบนี้

ขอบคุณในน้ำใจ และช่อดอกไม้ที่ส่งมาให้ ...(ผู้เฒ่าทำไม่เป็น) เก่งจริงก็สอนพวก "สว. สย. สย."ด้วยเด้อค่ะ

อยากได้ดอกกระเจียว..ok..เลยพี่..เดี๋ยวจัดให้.. แต่ขอเก็บเกี่ยวความรู้ก่อนนะคะ..เห้นด้วยนะคะ..การบริหารเด็กดื้อ..

เป็นคนดื้อคนหนึ่งค่ะ แต่เมื่อผู้บริหารว่าอย่างไรก็ต้องอย่างนั้น ได้แต่แอบเถียงในใจ

อย่างนี้มันต้องเถียง....เอ๊ย จะเรียกว่าดื้อได้อย่างไร ..ก็เราเป็นลูกน้องก็ต้องทำแบบนี้แหละเพราะเขามีกฎกติกามารยาท ที่คนรักเจ้านายเขาตั้งไว้.....เมื่อชาติที่แล้วว่า ข้อ1. เจ้านายถูกเสมอ ข้อ2.ถ้าไม่เข้าใจ? ให้กลับมาอ่านที่.....ข้อ1 ใหม่

สวัสดีค่ะ

  • สนใจ  หัวข้อ การบริหารคนดื้อ  ค่ะ
  • เพราะรู้ว่าตัวเองคล้ายๆอย่างนั้น
  • ปิยวาจาดีที่สุด  อย่าดันทุรังเปลี่ยนแปลงในเร็ววัน  ถ้าคิดจะเปลี่ยนแปลงใคร  จงเปลี่ยนแปลงตนเองดีกว่า   อย่าต้อนใครจนมุม ไล่ตัวเองออกไป  เราอาจเป็นตัวปัญหา  ลองคิดใหม่ทำใหม่หรือพบกันครึ่งทาง
  • คนดื้อ ส่วนมากเอาแต่ใจและจริตของตนเอง แต่ในคนดื้ออาจมีดีๆที่ควรค้นหาถ้าต้องการ
  • ขอบคุณค่ะ

จริงด้วยนะ โรคนี้เป็นกันหลายคน

ผมใช้พบกันครึ่งทางครับ

คุณรัชดาวัลย์ครับ บทส่งท้ายที่ว่าให้ถือหลักไตรลักษณ์คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ผมว่าต้องเปลี่ยนเป็น ไตรสิกขาถึงจะถูกนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท