เทคนิคการทำคู่มือสายสนับสนุน


การเขียนคู่มือการปฏิบัติงานเพื่อขอเลื่อนระดับหรือขอปรับซี

การเลื่อนระดับหรือการทำผลงานสายสนุบสนุนมีหลักเกณฑ์และวิธีการหลายประการแล้วแต่สถาบันได้กำหนดเกณฑ์ เช่นการทำวิจัย การทำคู่มือการปฏิบัติงาน  งานวิเคราะห์ หรือสิ่งประดิษฐ์อื่น ๆ  หลักเกณฑ์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้กำหนดให้ขอชำนาญการ 7 - 8 โดยให้ทำวิจัย 1 เล่ม และสิ่งประดิษฐ์อื่น ๆ อีก1 เล่ม  ซึ่งจะทำร่วมกับผู้อื่นก็ได้ และในปัจจุบันหลายคน ๆ ก็ได้ทำวิจัย 1 เล่ม พร้อมกับคู่มือการปฏิบัติงาน 1 ล่ม

วันนี้จะเล่าในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการอ่านผลงานชำนาญการสายสนับสนุน(หลังจากห่างหายและหยุดเขียนบันทึกไปนาน เนื่องจากต้องรับภารกิจงานวิชาการที่เพิ่มมากขึ้น) ซึ่งหลายคนยังเขียนคู่มือปฎิบัติงานไม่สมบูรณ์ ขอพูดเป็นรายประเด็นที่สำคัญดังนี้นะคะ  

1. การเขียนคู่มือการปฏิบัติงานควรเขียนคู่มือในงานที่เราทำ เขียนจาก tacit เพราะถ้าเราเขียนงานคนอื่นทำ  เราคงไม่เข้าใจกระบวนการการทำงานของเขา  เขียนให้เห็นความยากง่ายของภาระงานของเราเอง  เทคนิคและวิธีการทำงาน การใช้ความรู้ ความสามารถและความชำนาญในการปฎิบัติงาน ระดับความยากง่าย ซับซ้อน และเทคนิควิธีในการทำงาน ได้ใช้ความคิด และการวิเคราะห์ สติปัญญา  ความรู้ความสามารถในการแก้ไขปัญหา การตัดสินใจในการปฏิบัติงานมากน้อยเพียงใด  การแก้ไขปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะอย่างไร  ซึ่งประเด็นหลัง ๆ จะเน้นเขียนในบทที่ 4 และ5

2. คู่มือปฎิบัติงานต้องเขียนแบบเดียวกับงานวิจัยหรือคล้ายงานวิจัย คือมี 5 บทหรืออย่างน้อย 4 บท หรือมากกว่า 5 บทก็ได้ แต่ละบทให้เขียนล้องานวิจัย เขียนให้เป็น tip book ในแต่บทแต่ละหัวข้อให้กำหนดตามภาระหน้าที่ที่เราทำ ไม่จำเป็นที่หัวข้อและแต่บทเหมือนกันในทุกตำแหน่ง ขึ้นอยู่กับบริบทแต่ละตำแหน่ง แต่ละภารกิจ

      เท่าทีพบ หลาย ๆ คนมักเขียนคู่มือในลักษณะที่เอาระเบียบ กฎเกณฑ์ มาปะติดปะต่อมากกว่าที่จะเขียนสื่อให้เห็นการปฏิบัติงานที่เป็นรูปธรรม  และไม่เขียนเป็นบท ๆ อ่านยาก วกไปเวียนมา ไม่ได้ชี้ให้เห็นถึงความเป็นชำนาญการในหน้าที่ที่ทำ  และหลายคนทำให้พลาดการพิจารณาจากกรรมการไปอย่างน่าเสียดาย  เพราะผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการจะพิจารณาว่า...ผลงานมีคุณค่า สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงการปฏิบัติงาน หรือพัฒนางานได้มากน้อยเพียงใด และสามารถลดขั้นตอน/เวลา/ ลดคน หรือ ไม่?  จะขอยกตัวอย่างพอสังเขปนะคะ

     เขียนคู่มือปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้อง เราต้องเขียน มี บทที่ 1 เขียนแบบงานวิจัย มีหลักการเหตุผล วัตถุประสงค์ ขอบเขต นิยามศัพท์ ประโยชน์ได้รับจากคู่มือ ฯลฯ

         บทที่ 2   บทบาทหน้าที่รับผิดชอบ     ลักษณะงานที่ปฏิบัติ   โครงสร้างการบริหารจัดการ

         บทที่ 3 เอกสารงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา หลักเกณฑ์ต่าง ๆ กฎ ข้อ ระเบียบที่บังคับ  เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สิ่งที่ควรคำนึงในการปฏิบัติงาน  ข้อสังเกต ข้อควรระวัง

ในบทที่ 4 และ 5  เป็นบทที่ชี้ชะตา ความสามารถของผู้เขียนจะพลาดจะได้ กรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิ จะพิจารณา 2 บทนี้มากกว่าบทอื่น ๆ ค่ะ

    บทที่ 4 บทที่ 2 เทคนิคในการปฏิบัติงาน  ขั้นตอนการปฏิบัติงาน(flow chart) เทคนิควิธีการให้ผู้รับบริการพึงพอใจ (อาจต้องมีผลการประเมินความพึงพอใจจากผู้ใช้บริการ) การติดตามประเมินผล   จรรยาบรรณในการปฏบัติงาน

    บทที่ 5 ปัญหา อุปสรรค แนวทางแก้ไข ในการปฏิบัติงาน ข้อเสนอแนะ บรรณานุกรม

    ภาคผนวก (ถ้ามี)

การอ้างอิงต้องอ้างอิงตามระเบียบข้อกำหนดแต่ละสถาบันนะคะ 

ขอให้ทุกคนประสบความสำเร็จนะคะ

 

หมายเลขบันทึก: 276056เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2009 11:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (31)

ขอบคุณพี่อัมพรมากนะค่ะ สมกับเป็นผู้ชำนาญการที่คอยถ่ายทอดวิธีการและเทคนิคสำคัญให้เป็นแนวทางอย่างต่อเนื่องเสมอมา อนิสงฆ์นี้ขอให้พี่อัมพรได้เชี่ยวชาญ 9 เร็ว ๆ ค่ะ และทำประโยชน์อย่างนี้ต่อไปนะค่ะ ใครไม่เห็นจามเห็นเอง

หวัดดีจ๊ะหนูJam

พี่แอบมาเขียนบนนี้ ยังเห็นอีกเหรอ? ตามมาแงะตอนไหน ขอบคุณมากสำหรับคำอวยพร ขอให้อานิสงฆ์ดังกล่าวให้น้องจามประสบความสำเร็จเช่นกันนะจ๊ะ หากต้องการให้พี่ช่วยเหลืออย่างไร บอกได้นะ ยินดีช่วยจ้า

กำลังหาเทคนิคการเขียนชำนาญการพอดีค่ะ บังเอิญเปิดเจอต้องขอบคุณมาก ๆ ค่ะ ที่พี่อัมพรได้ให้เทคนิคข้างต้น แต่จะขอถามพี่อัมพรนิดหนึ่งค่ะ ในส่วนของคู่มือการปฏิบัติการเขียน (flow chart) ลักษณะงานก็คล้าย ๆ กัน จะมีปัญหาในการอ่านของคณะกรรมการอ่านผลงานชำนาญการสายสนับสนุนหรือปล่าวค่ะ

คู่มือการปฏิบัติการเขียน (flow chart) ลักษณะงานก็คล้าย ๆ กัน ไม่มีปัญหาในการอ่านของคณะกรรมการอ่านผลงานชำนาญการค่ะ เขาจะได้ดูถึงสายงานการปฏิบัติงานค่ะ

พี่อัมพรค่ะ วันนี้รบกวนพี่อีกหนึ่งคำถามค่ะ ปัจจุบันมิวทำงานพัสดุอยู่ค่ะ ถามหน่อยค่ะว่าถ้ามิวทำเฉพาะคู่มือได้ไหมค่ะ เนื่องจากไม่ถนัดทางด้านงานวิจัย ถ้าได้เราต้องทำคู่มือกี่เล่มค่ะ คะแนนจะแตกต่างกันไหม ขอบคุณค่ะ

  • ถ้าหากน้องมิวทำพัสดุ คู่มือที่ทำก็ต้องทำเกี่ยวกับพัสดุและเกี่ยวข้องกับเท่านั้นถึงจะนำมาขอชำนาญการได้ และของม.อ ต้องมีผลงานวิชาการ 2 ชิ้น บังคับงานวิจัย 1 ชิ้น และสิ่งประดิษฐ์อื่น ๆ 1 ชิ้น จะเป็นคู่มือก็ได้
  • และน้องจะทำร่วมกับคนอื่นก็ได้ แต่ผลงานไม่ต่ำกว่า 25 %
  • แต่สำหรับความคิดเห็นของพี่ ควรมีผลงานมากว่า 25% และควรเป็น 50% up มากกว่า  เพราะกรรมการจะถามว่าน้องได้ทำในส่วนไหนของผลงาน
  • ถ้าน้องทำผลงานซึ่งกรรมการพิจารณาแล้วน้อยนิดก็ไม่ผ่านนะ

 

ขอบคุณพี่อัมพรมากค่ะ ที่ให้แนวทาง ว่าง ๆ มิวขออนุญาต mail มาขอความช่วยเหลือจากพี่อีกน่ะค่ะ

ค่ะ เชิญค่ะ

พอดีเลยครับ...

ผมกำลังกระตุ้นทีมงานให้เขียนคู่มือ...
แต่ตอนนี้  ผมก็กำลังทำเชี่ยวชาญ...
ได้บันทึกนี้มาผ่อนเบาเยอะเลย..

ขอบคุณครับ

  • สวัสดีค่ะน้องรัก
  • ขอบคุณมากนะ ได้รับหนังสือแล้ว ขยันจริงน้องพี่
  • เมื่อวันที่ 24-25 ก.ค. ที่ผ่านมา ไปเป็นวิทยากร KM ให้กลุ่มเรือข่ายสหกิจที่ จ.สุราษฎร์ธานี  ยังพูดถึงกันอยู่เลย
  • ช่วงนี้พี่ต้องเป้นวิทยากรบ่อย โดยเฉพาะหัวข้อการเขียนคู่มือการปฎิบัติงาน หากต้องการให้ช่วยเหลือ บอกได้นะคะ
  • ทำไมรีบขอเชี่ยวชาญจัง รอกันบ้างนะ

เรียน คุณอัมพร อรุณศรี

ดิฉันทำงานที่วิทยาลัยชุมชนสตูล เป็นคุณครูค่ะ รับผิดชอบกลุ่มงานวิชาการ ตอนนี้กำลังจะจัดทำคู่มือปฏิบัติงานในกลุ่มงาน

รบกวน อาจารย์ เป็นวิทยากรให้ความรู้ได้ไหมคะ

ด้วยความยินดีนะคะ คงต้องคุยกันในรายละเอียดอีกครั้งนะคะ

เจอเวปหนึ่งน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการทำคู่มือ

ลองเข้าไปดูที่ www.trainingserv.com

เห็นว่ามีรายละเอียดดีมาก

ขอบคุณมากค่ะคุณประภา

ดิฉันวีณา ขอเข้ามาคุยเรียนปรึกษาพี่อัมพร เรื่อง การทำคู่มือปฏิบัติงาน ชำนาญการ ดิฉันเพิ่งเริ่มศึกษาการทำชำนาญการค่ะ

ดิฉันทำงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ประจำภาควิชาฯ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง มีงานที่ทำหลายอย่าง เช่น ดูแลควบคุมงานการเงิน บัญชี ทำค่าสอน งานบุคคล งานสารบรรณและงานจัดเก็บเอกสาร ภาควิชาฯ ดิฉันขอถามพี่ว่าถ้าดิฉันทำ คู่มือปฏิบัติงาน ในบทที่ 2 ของคู่มือ บทบาทหน้าที่รับผิดชอบ ลักษณะงานที่ปฏิบัติ ดิฉัน จะต้องเขียนบรรยายงานในตำแหน่ง ทุกงานลงไปเลยใช่ไหมค่ะ พร้อมทั้งลักษณะงานที่ปฏิบัติ งานประจำ ดูแลควบคุมงานการเงิน บัญชี ทำค่าสอน งานบุคคล งานสารบรรณและงานจัดเก็บเอกสาร อยู่แล้วใช่ไหมค่ะ และบทที่ 4 คือ งานที่เราเจาะลึกเพียงเรื่อง เดียว ใช่ไหม่ค่ะ พร้อมทั้งเขียนบรรยาย ขั้นตอนการปฏิบัติงาน (flow chart) ดิฉันขอเรียนปรึกษาพี่อัมพร ค่ะ ตอนนี้ดิฉันยังสับสนการทำคู่มืออยู่กลัวเขียนผิดค่ะ

ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง นะค่ะ

วีณา

สวัสดีค่ะครูพี่อัมพร

สบายดีไหมคะ หายเงียบไปนานมากๆ ยังจำกันได้ไหมคะ น้องปู พังงา ค่ะ

หย่อนความระลึกถึง สุขสันต์วันครูวันทำงานวันนี้ค่ะ

ค่ะ ถูกต้องแล้วเขียนภาพใหญ่ก่อนแล้วมาต่อในภาพย่อย ส่วนบทที่ 4 เขียนตามที่น้องบอกค่ะ

สวัสดีค่ะน้องลูกปู พี่สบายดีค่ะช่วงนี้ไม่ได้เขียนบันทึกเลย ต้องขอโทษกัลยาณมิตรทุกคนค่ะ พี่มัวแต่ยุ่งกับการเป็นวิทยากรและทำงานวิจัยค่ะ น้องลูกปูสบายดีนะคะ

สวัสดีค่ะ พี่อัมพร

ได้ มาอ่านเจอ บันทึกนี้ ด้วยความบังเอิญ เป็นความบังเอิญ ที่ดีใจมากๆ ค่ะ กำลังหารายละเอียดเรื่องนี้อยู่พอดี ขอบคุรมากๆ ค่ะ

จะขอทำพยาบาลชำนาญการ ที่ปรับแท่งมาอัตโนมัติ เพื่อขอชำนาญการ7 ค่ะ(3500)

ขอบคุณมากค่ะ พี่

 

สวัสดีค่ะคุณsubah

ขอให้ประสบความสำเร็จในการเขียนคู่มือและได้ชำนาญการนะคะ ขออวยพรค่ะ

สวัสดี ค่ะ คุณพี่อัมพร

ขอบคุณมากนะคะสำหรับคำอวยพร  จะพยายามลองทำดูสักตั้ง เพื่อพัฒนาตัวเอง รวมถึงผู้รับบริการและหน่วยงานของเราค่ะ

                                                             ขอบคุณค่ะ

หากต้องการความช่วยเหลือบอกได้นะคะ ภาพแมวที่ส่งให้ดหมือนกับน้องกำลังปีนป่ายหาความสำเร็จ เอาใจช่วยนะ สู้ สู้ สู้

สวัสดี ค่ะ พี่อัมพร

มีเรื่องรบกวนนะคะ น้องเป็นพยาบาล แล้วเราจะเขียน บทที่ 2 ออกมาลักษณะไหนคะพี่ รบกวนพี่ช่วยอธิบาย หน่อยนะคะ ไม่เข้าใจค่ะ

เรื่องบทบาทหน้าที่รับผิดชอบ  ลักษณะงานการที่ปฎิบัต โครงสร้างการบริหารจัดการ

หมายความว่า ไม่ว่าเราจะเขียนคู่มือเรื่องอะไร แต่ในบทนี้เราต้องบอกว่า  เราทำงานตำแหน่งอะไร มีการบริหารจัดการอย่างไร จากคณะแพทย์ โยงลงมาถึงฝ่ายการพยาบาล  ลงมาผู้ตรวจการ และลงย่อยมาที่ ward เรา แล้วเราจัดการในหน่วยงานของเรา อย่างไรในเรื่องที่เราทำคู่มือ อย่างนั้นหรือเปล่าคะพี่

ขอบคุณค่ะ

 

ขอบคุณค่ะ 

พิรมขวัญ เหมทานนท์

เรียนอาจารย์ อัมพร ค่ะ (ขอเรียกอาจารย์นะคะ) ดิฉันและเพื่อน 10 คน เป็นพยาบาลกำลังเขียนคู่มือปฏิบัติงานเพื่อเลื่อนระดับฯ มีปัญหาที่อยากเรียนถามดังนี้

1 ดิฉันและเพื่อน ดูแลผู้ป่วยนอก ที่มารับยาเคมีบำบัด รักษาโรคมะเร็ง จะมีมะเร็งหลายๆ ระบบ พวกเราควรแบ่งกัน เขียนคู่มือการพยาบาลผู้ป่วยแต่ละระบบ ที่เจอบ่อยๆ ถูกต้องหรือเปล่าคะ

2.หรือสามารถเขียนคู่มือการพยาบาลที่เป็นกลุ่มอาการแสดงของผู้ป่วย ได้ไหมคะ

ตั้งใจทำกันจริงๆค่ะ แต่ขาดความกระจ่าง อ่านคำแนะนำจากอาจารย์หลายๆท่านแต่ไม่สามารถโยงเข้ามาเขียนกับงานพยาบาลได้

จึงทำๆ พักหนึ่งแล้วงง แล้วเปลี่ยนเรื่องหลายๆครั้งค่ะ

ขอบพระคุณอาจารย์อัมพร เป็นอย่างสูงค่ะ

ตอบคุณ subah

ใช่แล้วค่ะ เราเขียนให้ผู้อ่านได้ทราบว่าเราอยู่ตรงไหน และรอบ ๆ เราบนกว่าเรามีใครบ้างรับผิดชอบอะไรค่ะ

ตอบคุณพิรมขวัญ

เรื่องมะเร็งพี่ไม่ค่อยมีความรู้จ๊ะ แต่ขอตอบในฐานเป็นครูสอนการทำคู่มือปฏิบัติงานค่ะ การคู่มือยากกว่างานวิจัยนะ เพราะงานวิจัยมีรูปแบบการเขียนที่ชัดเจนใน 5 บทไม่ว่าเราจะทำงานวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ แต่การเขียนคู่มือเราต้องเขียนจาก tacit ให้เป็น explicit ให้ได้ซึ่งค่อยข้างยาก รูปแบบการเขียนในแต่ละบทขึ้นอยู่กับผุ้เขียนจะนำเสนออะไร อย่างไร อันดับแรกต้องมาแยกแยะและศึกษาว่าคู่มือเล่มที่เราจะเขียนเราทำคู่มือเล่มนี้ให้ใครใช้ เช่นให้พยาบาลอื่นใช้ หรือให้คนไข้ใช้ สมมุติว่าเราจะเขียนวิธีการทำเคมีบำบัดมะเร็งที่ทรวงอก เราต้องเขียน 5 บทเหมือนงานวิจัย สมมุติเขียนเป้นตัวอย่างดังนี้ค่ะ

เช่นบทที่ 1 ต้องมีหลักการและเหตุผลการทำคู่มือเคมีบำบัดมะเร็งทรวงอก วัตถุประสงค์ ขอบเขตของคู่ นิยามศัพท์ ประโยชน์ที่จะได้รับเราจากคู่มือ

บทที่ 2 โครงสร้างองค์กร (เช่น ร.พ ) วิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบายและแผนงาน บทบาทหน้าที่รับผิดชอบ ลักษณะงานการที่ปฎิบัต โครงสร้างการบริหารจัดการ และผู้เขียนรับผิดชอบงานอะไร

บทที่ 3 มาตรฐานการรักษา มาตรฐานขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Flow Chart)

บทที่ 4 การวางแผนและเทคนิคในการปฏิบัติงาน

บทที่ 5 ปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไข

- ปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงาน

- แนวทางแก้ไขในการปฏิบัติงาน

- ข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

ขณะนี้มีหน่วยงานหลายหน่วยงานที่จัดอบรมในเรื่องการเขียนคู่มือและติดต่อให้พี่เป็นวิทยากร อย่างไรก็ตามนะเราอาจจะได้พบกันในเวทีที่ไปเป็นวิทยากรก้ได้นะ

พิรมขวัญ เหมทานนท์

เรียน อาจารย์อัมพรที่เคารพ

ขอขอบพระคุณที่อาจารย์ช่วยให้คำแนะนำ เหมือนท่านได้ชี้ทางให้ดิฉันเดินแล้ว ดิฉันได้เลือกทำคู่มือ .. การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ที่รับยาเคมีบำบัด ค่ะ เพราะปัญหาโรคซับซ้อน สูตรยายุ่งยาก ภาวะแทรกซ้อนสาหัส อาการข้างเคียงรุนแรง การรักษาที่เรื้อรังค่ะ ผู้ป่วยทรมานน่าสงสารมากๆค่ะ

ตอนนี้ดิฉันได้เขียนงานเข้าสู่บทที่ 3 รบกวนถามอาจารย์อีกครั้ง

.คู่มือนี้เขียนให้พยาบาลใช้ เพื่อนำไปสอนผู้ป่วยเรื่องโรค การปฏิบัติตัว วิธีการให้ยา เทคนิคป้องกันภาวะแทรกซ้อนและ วางแผนจำหน่ายผู้ป่วยได้ครอบคลุม ดังนั้นเวลา เขียนถึงหัวข้อที่ 4

...วิธีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน.... หมายถึง เราต้องสร้างเครื่องมือวัดความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติ ของพยาบาล ที่เขียนไว้ตามในคู่มือ ถูกไหมคะ หรือว่าต้องไปวัดความรู้ของคนไข้ด้วยคะ

ขอขอบพระคุณอีกครั้งค่ะ

บทที 2 อย่าลืมเขียนสิ่งเหล่านี้ด้วยค่ะ

การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ที่รับยาเคมีบำบัด เพราะปัญหาโรคซับซ้อน สูตรยายุ่งยาก ภาวะแทรกซ้อนสาหัส อาการข้างเคียงรุนแรง การรักษาที่เรื้อรังค่ะ

บทที่ 3 เขียนตามที่น้องบอกได้เลย

ส่วน 4 ถ้าทำได้ทั้ง 2 อย่างจะดีมากแต่อาจเหนื่อยหน่อยนะ สร้างเครื่องมือวัดความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติ ของพยาบาล ที่เขียนไว้ตามในคู่มือ และเครื่องมือวัดความรู้ของคนไข้และหลังจากคนไข้รักษาแล้วเป็นอย่างไรด้วยคะ ส่วนคู่มือพยาบาลใช้แล้ว

ผลดีเป็นอย่างไรถูกอย่างไรผิดอย่างไร ใส่ได้หมดเลยปัญหาอุปสรรคใส่บทที่ 5 ต่อได้ค่ะ

*****ย้ำการเขียนคู่มือเขียนให้รู้ว่าผู้เขียนรู้จริงเพราะเขียนให้คนอื่นที่ไม่รู้เรื่องได้อ่านเข้าใจนำไปใช้ได้จริง เขียนจาก tacit

เป็น explicit ทดลองเขียนคู่มือรักษามะเร็งแล้วนำไปให้พวกวิชาบัญชีอ่านลองดู ถ้าเขาอ่านแล้วเข้าใจปฏิบัติได้ นั่นคือผู้เขียนเขียนสื่อสารได้ค่ะ

ขอให้ประสบผลสำเร็จนะคะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์อัมพร

ดิฉันเพิ่งเริ่มศึกษาเรื่องการผลงานเพื่อเลื่อนตำแหน่งวิชาการ ได้เปิดมาเจอคำแนะของอาจารย์อัมพร อ่านแล้วน่าสนใจมากค่ะ และจะขอเป็นลูกศิษย์รบกวนสอบถามเรื่องการผลงานฯ ได้มั้ยคะ ขอขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

สวัสดีค่ะ ด้วยความยินดีนะคะ

สวัสดีค่ะ ได้ค่ะ ด้วยความยินดี ทำงานอยู่ที่ไหนคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท