ห้องสมุด การเรียนรู้ และลักษณะของคนในชาติ


ความรู้ไม่เคยลอยอยู่โดดๆ

ผู้อ่าน blog ของผมท่านหนึ่ง ใช้นามว่า Nutzarun ได้เขียนอีเมล์มาถามความเห็นและประสบการณ์ของผม เกี่ยวกับห้องสมุด ผมเห็นว่าน่าจะเป็นโอกาสนำเอาความคิดและประสบการณ์ทางด้านนี้มาเผยแพร่สู่กันฟัง

คุณ Nutzarun นั้นกำลังทำโครงการวิจัยเกี่ยวกับการออกแบบห้องสมุด โดยมีโจทย์คือ จะออกแบบห้องสมุดกรุงเทพฯ อย่างไรให้เหมาะกับนิสัยของคนไทย ซึ่งผมว่าเป็นความคิดที่น่าสนใจ และเป็นโอกาสให้เราได้ตั้งสืบค้นไปถึงรากของมันซึ่งก็คือ ลักษณะการเรียนรู้ของคนในชาติ

คำถามกลุ่มแรกของคุณ Nutzarun ต้องการถามลักษณะของห้องสมุดที่พึงปรารถนา

ในชีวิตการเป็นนักเรียนนักศึกษาของผมหลายปี มีห้องสมุดที่ประทับใจหลายแห่ง

ห้องสมุดที่ผมตกหลุมรักแห่งแรก คือ ห้องสมุดโรงเรียนมัธยมของผมครับ

สวนกุหลาบวิทยาลัย เป็นโรงเรียนศิษย์เก่ารุ่นพี่ๆ ลงขันกันสนับสนุนกิจการห้องสมุด หนังสือใหม่ๆ หนังสือดีๆ จากต่างประเทศมีให้เราอ่านไม่น้อยเลย ประกอบกับโรงเรียนเป็นโรงเรียนเก่าแก่ มีหนังสือเก่า หนังสือดีๆ เยอะ ความรู้สึกสมัยที่ยังเป็นนักเรียนขาสั้น ก็ประทับใจว่าห้องสมุดของโรงเรียนของเราสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ชั้นเลิศ และเป็นห้องสมุดที่เปี่ยมด้วยน้ำใจไมตรีที่รุ่นพี่มีต่อรุ่นน้อง เป้าหมายอย่างหนึ่งในชีวิตผม คือการได้ไปเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนห้องสมุดของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ตามอย่างรุ่นพี่ๆ บ้าง

ห้องสมุดมหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศ ให้ความรู้สึกเหมือนๆ กันคือ เป็นแหล่งเก็บหนังสือ มีหนังสือเยอะๆ และต้องนั่งอ่านเงียบๆ บางที่ก็มีห้องเป็นสัดส่วนให้คุยอภิปรายกันเป็นกลุ่มๆ ได้

ที่ประทับใจผมมากที่สุดคือ ห้องสมุดเทศบาลแห่งนคร Adelaide ครับ

หากเปรียบห้องสมุดมหาวิทยาลัยเป็นภัตตาคารหรูขนาดใหญ่ ลูกค้าต้องใส่ชุดเรียบร้อยเข้าไปนั่งรับประทาน อาหารจานโต ใช้เวลาอยู่ในนั้นนานๆ แล้วล่ะก็ ห้องสมุดเทศบาลก็เปรียบเสมือนร้าน take away เล็กๆ ที่ลูกค้ามารับอาหารตามสั่ง แล้วก็เอากลับไปกินที่บ้าน

สมาชิกห้องสมุดเทศบาลส่วนใหญ่จะสืบหาและจอง หนังสือ, แผ่น cd เพลง, แผ่นภาพยนต์ DVD หรือแม้กระทั่งนิตยสาร (ห้องสมุดจะซื้อหนังสือหรือ สื่ออื่นๆ หลังจากวางตลาดไ้ด้ไม่นาน เราจึงได้อ่านหนังสือ, ได้ดูหนังที่ใหม่มากๆ อยู่เสมอ) จากเวบไซต์ของห้องสมุด เมื่อของมาถึงแล้วห้องสมุดก็จะ email ไปบอกว่ามารับของได้แล้ว จะมารับที่สาขาไหนดีคะ เรามีสี่สาขา กระจายอยู่ทั่วเมือง

สมาชิกที่มาห้องสมุดสามารถอาจจะพาลูกเล็กๆ มาเล่น บอร์ดเกมส์, มานั่งคุยกับเพื่อนๆ ในห้องสมุด (ใช่ครับห้องสมุดที่นี่ไม่มีใครว่า ถ้าเราจะคุยกันเสียงดังสักหน่อย), มาใช้อินเตอร์เนทฟรี, มานั่งอ่านหนังสือพิมพ์ หรือกระทั่งมาขอใช้ห้องน้ำ

นอกจากนี้ ห้องสมุดเทศบาลบางสาขาก็ทำหน้าที่เป็นศาลาประชาคมไปในตัว มีหอประชุมขนาดใหญ่ให้คนในชุมชนใกล้ๆ มาทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น มีคอร์สสอนเต้นรำ, กิจกรรมเล่านิทานให้เด็กฟัง, กิจกรรมการเสวนา, งานแสดงศิลปะโดยศิลปินท้องถิ่น หรือแม้แต่เป็นที่ที่อาสาสมัครจะมาช่วยสอนการบ้านให้เด็กที่อาศัยอยู่แถวๆ นั้น ฯลฯ

ผมชอบวิธีคิดในการสร้างห้องสมุดแบบนี้ครับ คือเขาคิดว่า ห้องสมุดคือ community centre และเป็นศูนย์กลางที่คนจะมา "เรียนรู้" จากแหล่งความรู้ต่างๆ หนังสือก็เป็นแหล่งความรู้ชนิดหนึ่ง แต่ไม่ใช่ืทั้งหมดของการเรียนรู้ คนเราเรียนรู้จากสื่อที่หลากหลาย รวมทั้งจากคนด้วยกัน ห้องสมุดจึงแปรสภาพจากโรงเก็บหนังสือ เป็นจุดนัดพบของคน กับแหล่งความรู้ ห้องสมุดของเขาไม่ค่อยมีที่ให้นั่งอ่านหนังสือแบบจริงๆ จังๆ ครับ พื้นที่อันจำกัดแบ่งเป็นชั้นหนังสือ บริเวณคอมพิวเตอร์ บริเวณสำหรับสื่อประเภทอื่นๆ เช่น CD, DVD, บอร์ดเกมส์ และบริเวณสำหรับเด็ก

คำถามต่อไปจากคุณ Nutzarun คือ ถ้าจะสร้างห้องสมุดที่ดีที่สุดสำหรับคนไทย ควรจะเป็นอย่างไร ตั้งอยู่ที่ไหน น้ำเสียงของ คุณ Nutzarun ต่อการเรียนรู้ของคนไทยนั้นชวนหดหู่เสียมาก เธอให้ความเห็นว่า...

Actually, I dont know why thai dont read as the fact. But I do have assumtion that thai society wants harmony more than truth. To ignore something might prolong something like loose the battle but win the war. That's why thai dont think knowledge is so important, but entertainment since people kindda suffers from high dependence and culture stuffs. In western, to know "why" is very important, but I guess it is not necessary cause Thai who doesnt have power would hardly make change, instead create problem.

I really hate it some way that Thais friends has no knowledge based to talk with, just hang out. Everybody tends to say i dont know, including me. Im now finding the evidence to tell that Thai has serious problem of learning and applying knowledge. I got the chart shows that Thai read little compare to other country, but it doesnt say that read a little bring problem, does it? What show as a concrete that we can't step into the future as the international standard?...

To take myself as case study. I used to study in USA for a year in high school. I learned how to create knowledge by searching reading and talking to people and I able to research and write the paper. I found out that it is easy to be myself, not just doing as other people said like study in Thailand. Right now since Im back here for 5 years, I feel lost of ability to learn or create knowledge as I was. I went internship in USA and Romania last year. I found out that Im so silly but cheerful and lively more than others, while those people so mature and fast. I admired them a lots. My friends from USA, Canada, Europe, and China are all smart. I have less suffering but not have fun with life like them. 

เห็นได้ชัดว่า คุณ Nutzarun กำลังอยู่ในอาการของ "นักเรียนนอกขี้หงุดหงิด" ซึ่งมาเห็นอะไรในเมืองไทยก็ขัดหูขัดตาไปเสียหมด เพราะมันไม่เป็นไปตามกรอบแนวคิดที่คุณเคยไปเจอมาจากต่างประเทศแล้วทึกทักเอาว่านั้นคือความจริงแท้สำหรับมนุษยชาติ

คนไทยมีวิธีการเรียนรู้ การพัฒนาตนเองในแบบของเราเองครับ ผมเชื่อว่าถ้าเราใส่แว่นฝรั่งมองด้วยมาตรฐานแบบฝรั่ง ยังไงๆ ก็จะพบกับความหงุดหงิดครับ เพราะเราไปคาดหวังให้คนไทยเป็นฝรั่ง ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้

ฝรั่งพัฒนาตนเองผ่านการเรียนรู้ "ความรู้" + "ทักษะ"

ส่วนการพัฒนาตัวเองของคนไทยผมมีความเชื่อว่า วัฒนธรรมของเราอยู่บนฐานของ ไตรสิกขา ศีล สมาธิ ปัญญา ครับ ความรู้ไม่เคยลอยอยู่โดดๆ แต่เชื่อมโยงไปกับความไม่เบียดเบียน, ความสงบสุขของสังคม (ศีล) และความสงบสุขในใจ และการรู้จักตัวของเราเอง (สมาธิ)

คนไทยเราเรียนรู้ผ่าน "คน" มากกว่า "หนังสือ" ครับ กระทั่งวรรณกรรมไทยเดิมก็เขียนไว้ใช้สำหรับออกเสียงเล่า ร้องเป็นทำนอง เสภา กลอนบทละคร วรรณคดีที่เป็นร้อยแก้วทั้งหลายนั้น มุ่งจะให้คนมาพบกับคนเพื่อถ่ายทอดเรื่องราว มากกว่าจะให้รู้เรื่องด้วยการอ่านเงียบๆ

มีศูนย์การเรียนรู้หลายที่นะครับ ที่คนไทยได้เรียนรู้ และเอาความรู้นั้นมาใช้ปรับปรุงชีวิตของตัวเองให้ดีขึ้นโดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการเกษตร (ลองดูโทรทัศน์ช่อง TPBS หรือ MCOT1 นะครับ เขาพาไปดูแหล่งเรียนรู้พวกนี้บ่อยมากๆ) ที่อินแปงเป็นตัวอย่างที่สุดยอดแห่งหนึ่ง (อ่านเรื่องเกี่ยวกับอินแปงได้จากบันทึกก่อนๆ ของผมนะครับ) คนอินแปง เรียนรู้จากคนด้วยกันมากกว่าการอ่าน คนที่มีประสบการณ์ในการทำการเกษตร ถ่ายทอดให้คนที่เพิ่งเริ่มได้เรียนรู้ นักวิชาการถ่ายทอดวิธีคิดแบบวิชาการ, ข้อมูลใหม่ๆ ฯลฯ...ศูนย์การเรียนรู้แบบนี้แหละครับที่ผมเห็นว่ามันเหมือนกับห้องสมุดเทศบาลเมือง Adelaide เสียเหลือเกิน ในแง่ของ "วิธีคิด" แต่มันเป็นแบบไทยเหลือเกิน ในแง่ "วิธีทำ"

สุดท้าย คุณ Nutzarun อาจจะไม่ได้คำตอบว่า ห้องสมุดสำหรับคนชั้นกลางใน กทม จะควรจะเป็นอย่างไร เพราะผมก็ตอบไม่ได้เหมือนกันครับ รู้แต่ว่า คนกลุ่มนี้คาดเดายากที่สุด เอาใจยากที่สุด จะเป็นไทยเดิมแท้ที่มีความหนักแน่นทางวัฒนธรรมก็ไม่ใช่ จะเป็นฝรั่งที่มีฐานความคิดแบบตะวันตกยิ่งไม่ใช่ใหญ่ คนพวกนี้มีวิธีการเรียนรู้อย่างไร ผมไม่ทราบจะตอบยังไงเหมือนกัน แต่ยังไงก็ขอเอาใจช่วยนะครับ และขอจุดประเด็นนี้ให้พี่น้อง gotoknow ช่วยระดมปัญญามาตอบคุณ Nutzarun กันครับ

 

หมายเลขบันทึก: 275871เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2009 16:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ห้องสมุดชุมชนที่แวนคูเวอร์ก็มีลักษณะเดียวกับที่ Adelaide ค่ะ

มีทุก neighbourhood เลยค่ะ หลายๆที่อยู่ในอาคารเดียวกับ community centre บางที่ก็แยกอยู่เดี่ยวๆ

กลับมาที่เรื่องการเรียนรู้ จำได้ว่าเคยอ่าน quote จากหนังสืออะไรก็จำไม่ได้ แต่เค้าว่าไว้ว่า เมื่อเวลาผ่านไป คนเราจะไม่มีทางเป็นคนเดิมได้เลย เพราะ the books you read and people you meet เพราะฉะนั้น มัทเห็นด้วยว่าหนังสือดีแน่ แต่ไม่ใช้ทางเดียว เรียนผ่านคนอื่นนั้นเป็นธรรมชาติ เป็น learning style แบบหนึ่ง เหมือนๆกับ คนเราบางคนถนัดอ่าน บางคนถนัดฟัง มีสไตล์การเรียนรู้ที่ถนัดไม่เหมือนกัน

รู้มากรู้น้อยไม่สำคัญเท่า วิพากษ์เป็นหรือไม่ รึเปล่าคะ มัทคิดว่าอย่างนั้นนะ

อ่านข้อความคุณNutzarunแล้วยังไม่เคลียร์ว่า คุณNutzarunต้องการให้คนไทยรู้มากในด้าน "content" หรือว่า "mature" เพราะมี "critical thinking"

มัทว่าคนเราไม่ต้องรู้มากแต่ เข้าใจโลก น่าจะสำคัญกว่ารึเปล่าคะ

ห้องสมุดที่จะสร้างเลยอยากให้เป็นห้องสมุดที่มีกิจกรรมเยอะๆ ให้คนมีปฏิสัมพันธ์กัน ให้เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน แลกเปลี่ยนเรื่องราว ประสบการณ์ เหมือนเอา cafe มารวมกับ theatre มารวมกับ ลานชุมชม มารวมกับ ห้องสมุด น่าจะดีเหมือนกัน

พี่สุธี บ้านเราจะอยู่ใกล้กันแล้ว แล้วเราจะไปยืมหนังสือหรือหาที่ให้ลูกเรียนรู้ด้วยเล่นด้วยที่ไหนกันดี ที่ศูนย์เด็กฯมีหนังสือให้ยืมได้ทีละ 2 เล่ม 2 วัน แต่ยังไม่ได้ไปขอเค้าดูว่ามีเยอะแค่ไหน มัทว่าจะไปสมัคร เนลสัน เฮย์ไว้ด้วย เผื่อเวลาเข้าเมืองไปให้น้องฟังนิทานวันเสาร์อาทิตย์ สนใจบ่

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท