142 : เมฆซีร์โรคิวมูลัส ฝีมือคุณ Wanpen


 

 

คุณ Wanpen นำภาพเมฆมาฝากหลายภาพ

ในบันทึกก่อนหน้านี้

มีอยู่ภาพหนึ่งที่สะดุดตาผมมาก นั่นคือ

 

เมฆซีร์โรคิวมูลัส (Cirrocumulus)

 

ดาวน์โหลดภาพความละเอียดสูงจากคุณ Wanpen

 

ภาพนี้ถ่ายตอนเช้า 9.14 น. ของวันที่ 3 กรกฎาคม 2552 ค่ะ

ที่ทำงาน มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา 

(เรื่องแถบแสงในข้อคิดเห็นที่เพิ่มตามมา เกิดขึ้นก่อน 1 วัน คือในวันที่ 2 กรกฏาคม

ไว้จะค่อยๆ ลองไปดูในรายละเอียดอีกทีว่าเกิดจากอะไรได้บ้างครับ)
 

 

ลองมาทบทวนเมฆชนิดนี้จากแผนภาพเมฆ (Cloud Chart) กันสักหน่อยครับ

 

 

เมฆซีร์โรคิวมูลัส (cirrocumulus) เป็นเมฆชั้นสูง (high cloud)

หมายความว่า มีองค์ประกอบเป็นน้ำแข็ง เพราะสูงขนาดนั้นอากาศเย็นจัด อุณหภูมิติดลบ

 

ภาพเมฆซีร์โรคิวมูลัสที่เราเห็นจากพื้นจะเล็กละเอียด

เพราะเมฆอยู่สูงจากพื้นมาก ราว 6-12 กิโลเมตร หรือจำง่ายๆ ก็สัก 10 กิโลเมตร

ซึ่งเป็นระดับเดียวกับเพดานบินของเครื่องบินนั่นเอง

 

เมฆชนิดนี้น่าจะเปรียบเทียบกับอัลโตคิวมูลัส (Altocumulus) ซึ่งอยู่สูงปานกลาง (2-6 กิโลเมตร)

ทำให้เราเห็นเป็นก้อนขนาดใหญ่กว่า

 

[ทบทวนเรื่องเมฆคิวมูลัสระดับต่างๆ ได้จาก 093 : หัดดูเมฆเบื้องต้น (2) เมฆคิวมูลัส 3 ระดับ ]

 

ขอบคุณคุณ Wanpen มากครับสำหรับเมฆแสนสวยภาพนี้!


คำสำคัญ (Tags): #cirrocumulus
หมายเลขบันทึก: 275284เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2009 23:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:03 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)
  • แวะมาเติมเต็มค่ะ
  • เห็นเมฆทีไรความคิดผุดขึ้น
  • และล่องลอยไป
  • อย่างมีความสุขกับเมฆค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ ครูต้อย

       ช่วงนี้มีเมฆมากมายให้ชมครับ ชมรมคนรักมวลเมฆก็เลยคึกคักเป็นพิเศษ มีบันทึกใหม่ๆ แทบทุกวันทีเดียว ส่วนใหญ่เป็นเมฆและท้องฟ้าจากเพื่อนๆ ใน GotoKnow ครับ ^__^

สวัสดีค่ะ พี่ชิว ยิ่งอ่านก็ยิ่งอยากรู้ ไปเรื่อยๆค่ะ พี่ชิว บางครั้งเมฆชนิดเดิมแต่พอมีภาพสวยๆ มาประกอบเวลาอ่านก็ตื่นเต้นอีกค่ะ อิอิ

ขอบคุณคุณ Wanpen ที่แบ่งปันค่ะ

ขอบคุณพี่ชิวค่ะมาเก็บความรู้แถวนี้หลายเรื่องเลยหนู

นำเมฆเมื่อวานมาฝากค่ะ ดูๆ เหมือนมันมีหลายประเภทค่ะพี่ชิว อะไรบ้างก็ไม่รู้ แฮ่ แฮ่

Dsc_7262

Dsc_7236 

Dsc_7207

ขงเบ้ง (ชอบดูดาว และน่าจะรวมถึงดูเมฆด้วย เพราะสามารถเรียกมมอาคเนย์ ได้ แสดงว่า ขงเบ้งสนใจสภาวะอากาศพอสมควร อิๆ

มีเมฆ (ฉากหลัง) ติดมานิดหน่อย นำมาฝากชมรมฯ  เพื่อได้ชมกันและขอสมัครเป็นสมาชิกด้วย

  • สวัสดีเช้าวันเสาร์ค่ะ คุณบัญชาและสมาชิกผู้รักมวลเมฆ
  • ส่งแต่รูปไม่อธิบายข้อมูลเพิ่มเติม นับว่าบกพร่องต่อหน้าที่คนรักเมฆ ข้าน้อยขออภัย
  • ภาพนี้ถ่ายในช่วงบ่ายจัดๆ (ประมาณ 16 น.โมง) วันที่ไม่มีฝนตกเหนือที่ทำงาน มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา วันที่ 2 กรกฎาคม 2552  อากาศค่อนข้างร้อน วันนั้นมีรัศมีทรงกลดของพระอาทิตย์ให้เห็นตอน 17 น. กว่าๆ ด้วยค่ะ
  • เดาต่อได้ว่า วันนั้นรัศมีทรงกลดน่าจะมาจากเมฆที่เห็น ดิฉันเดาถูกรึเปล่าคะ คุณบัญชา ;-)

 

สวัสดีครับ หนุ่ย

       "ยิ่งอ่านก็ยิ่งอยากรู้ ไปเรื่อยๆค่ะ พี่ชิว บางครั้งเมฆชนิดเดิมแต่พอมีภาพสวยๆ มาประกอบเวลาอ่านก็ตื่นเต้นอีกค่ะ อิอิ"

        อย่างนี้เป็นอาการหนึ่งของคนรักเมฆ (อย่างพวกเราครับ) ไม่ต้องแปลกใจ

        อีกอาการหนึ่งก็คือ เจอเมฆสวยๆ แต่ไม่มีกล้อง หรือไม่มีจังหวะให้หยุดเก็บภาพได้ แล้วรู้สึกเจ็บใจตัวเอง - อย่างนี้ก็อีกอาการหนึ่งครับ 555

        ภาพเมฆซีร์โรคิวมูลัสของคุณ Wanpen นี่สวยงามมาก มีองค์ประกอบเป็นป่า ต้นไม้ และกระต๊อบ (?) เล็กๆ น่ารักอีกต่างหาก ^__^

        ภาพเมฆนี่ส่งมานี่พี่ขอฮุบเอาไว้ จะเอาไปทำเป็นคำถามสำหรับพวกเรานะครับ (โปรดรอสักพัก)

สวัสดีครับ อาจารย์ มณีวาจ

        ดีจังครับ ส่งใบสมัครด้วยเมฆ 3 รูปพร้อมกันเลย!

        ภาพเมฆในภาพที่ 2 นี่น่าสนใจมาก มีภาพใหญ่กว่านี้ไหมครับ? (สนใจเมฆก้อนใหญ่ที่พุ่งสูงขึ้นในแนวดิ่ง น่าจะเป็นเมฆ cumulus congestus)

สวัสดีครับ คุณ Wanpen

        ส่งภาพเมฆมาก่อนให้ตื่นเต้นเล่น แล้วค่อยส่งข้อมูลอธิบายตามมาก็น่าสนใจไปอีกแบบครับ คล้ายๆ หนังสืบสวนสอบสวนที่คดีค่อยคลี่คลาย ^__^

        เมฆชนิดนี้ก็อาจจะทำให้เกิดการทรงกลดได้บ้าง แต่อาจจะไม่เต็มวง ถ้าเต็มวงต้องเป็นเมฆพวก ซีร์โรสเตรตัส (cirrostratus) ครับ เพราะแผ่คลุมเต็มท้องฟ้าเลยครับ 

  • อย่างนั้น รัศมีนี้ก็น่าจะใช่ผลจากเมฆชนิดนี้นะคะ ภาพนี้ถ่ายตอน 17.15 น. หลังจากถ่ายภาพข้างบนค่ะ ถือโอกาสส่งมาต่อเนื่องกันและเป็นเหตุผลที่อธิบายกันได้ค่ะ

สวัสดีครับ คุณ Wanpen

        น่าทึ่งทีเดียวครับ!

        ดวงอาทิตย์อยู่ทางมุมขวาบนของภาพใช่ไหมครับ ถ้าใช่ ก็แสดงว่าที่เราคิดกันมาน่าจะถูกทางแล้ว (สีแดงของการทรงกลดแบบฮาโลจะเป็นวงในอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์)

        ขอบคุณมากครับ

ว้าวว! เมฆของคุณ Wanpen สวยจัง! น้องดาชอบเมฆแบบนี้สุดๆเลยค่ะ

เอามั่งๆ รูปนี้ถ่ายที่นครศรีธรรมราชค่ะ

น้องดากำลังนั่งมอไซด์ซ้อนท้ายพี่สาวค่ะ เมฆแบบนี้อีกแล้ว น้องดาช๊อบชอบ (ไม่กล้าตอบเต็มปากว่าเป็นเมฆ อัลโตคิวมูลัส กลัวผิด! อิอิ) เลยถ่ายรูปซะเลย

ถ่ายตอนเที่ยงเลยค่ะ แดดจัดได้ที่เชียว!

เราลืมกันไปรึเปล่าคะ ว่ากลางคืน ก็มีเมฆเหมือนกัน

เมื่อคืน พระจันทร์สวยมากทีเดียวค่ะ

เลยทำให้เห็นเมฆชัด และสวยมากๆ เลย..

- อยากรู้ว่า เมฆกลางคืน มีชื่อเรียก เหมือนเมฆกลางวันมั้ยคะ คุณพี่ชิว? (รบกวนคุณพี่ชิวอีกแล้วววว อิอิ)

อยากเห็นภาพเมฆกลางคืนบ้างจัง!

เห็นที เมฆกลางคืน กล้องมือถือของน้องดา ถ่ายไป ก็คงจะเห็นเพียงสีดำนะคะ *-*

สวัสดีครับ น้องดา dae_da

      1) เมฆที่นำมาฝาก ตรงกลางเป็นอัลโตคิวมูลัส (altocumulus) จริงๆ ด้วยครับ! 

            

          เอ้า! พี่ๆ เพื่อนๆ ชมรมคนรักมวลเมฆปรบมือให้น้องดาหน่อย...คราวนี้นอกจากจะเห็นความงามของเมฆแล้ว ยังจำชื่อได้อย่างแม่นยำอีกด้วย

          โอ้โห! เสียงดังกึกก้องไปถึงทางใต้เชียว ;-)

         ส่วนก้อนใหญ่ทางด้านซ้าย และนิดหน่อยทางด้านขวานั่น เป็นคิวมูลัสธรรมดาๆ ครับ (อยู่ใกล้พื้นมากกว่า ก็เลยดูใหญ่กว่านั่นเอง)

      2) เมฆในตอนกลางคืนก็มีชื่อเรียกไม่ต่างจากตอนกลางวันครับ เพราะการเรียกชื่อจะเรียกตามรูปร่างลักษณะ และระดับความสูงนั่นเอง

        เมื่อคืนพี่เห็นดวงจันทร์ทรงกลดด้วยครับ สวยงามทีเดียว เสียดายไม่ได้ถ่ายภาพไว้

        อืมมม....อย่างนี้ต้องเก็บภาพเมฆตอนกลางคืนบ้างแล้ว แต่อาจต้องใช้ขาตั้งนะครับ ไม่งั้นภาพจะเบลอ ถ้าเปิดหน้ากล้องนานๆ

       ขอบคุณน้องดามากครับ ที่เสนอแนะอีกมุมหนึ่งของการดูท้องฟ้าให้พวกเรา! ^__^

  • ภาพเมฆของน้องดา ดูเหมือนเราต้องแหงนหน้า 90 องศา อย่าดูนานนะคะระวังเมื่อยคอ อิอิ แซวเล่นค่ะ
  • ชอบเมฆอัลโตคิวมูลัส จัง ดูเหมือนปุยฝ้าย ขาว สะอาดตา

สวัสดีครับ คุณ Wanpen

         ไม่เพียงแต่ต้องแหงนหน้าดูเท่านั้น ดูเหมือนว่าน้องดากำลังนั่งซ้อนมอเตอร์ไซด์อยู่ด้วย...ไม่กลัวหล่นจากรถเลยรึนี่? :-P (แซวๆๆๆ)

ครั้งแรกที่ไปดูเค้าแข่งรถกันที่สนามค่ะ ทั้งสนุก ทั้งมัน ฝุ่นตลบ

อาจจะดูเหมือนไม่ร้อนนะคะ แต่เมฆยังกรองรังสียูวีให้ลอดผ่านมาเลียผิวเราเข้าเต็มๆ

ส่งมาหลายรูปแล้ว จะรับเข้าสำนักได้รึยังคะ ศิษย์พี่?

ศิษย์น้องนั่งคุกเข่าจนเหนื่อยแล้วนะคะ!!!!!!!

  • คุณบัญชาและสมาชิกชมรมคลั่งไคล้เมฆทุกท่าน
  • ข้าน้อยขอแก้ไขข้อมูลค่ะ นี่ถ้าเป็นงานวิจัย คงวิเคราะห์ผลผิดไปแล้ว
  • ภาพที่ถ่ายเมฆซีร์โรคิวมูลัส นั้น ถ่ายตอนเช้า 9.14 น. ของวันที่ 3 กรกฎาคม 2552 ค่ะ ขอโทษอย่างแรงค่ะ _/\_
  • พึ่งรู้ตัวว่าผิดพลาดเมื่อกี้นี่เองค่ะ ดังนั้น รายการที่บอกว่า มีอาทิตย์ทรงกลดตอนเย็นนั้นก็ไม่เกี่ยวกันค่ะ บังเอิญรูปมันต่อกันเลยไม่ทันสังเกตว่าวันที่ต่างกันค่ะ

 

 

          ขอต้อนรับคุณเมฆน้อย (เสี่ยวอวิ๋น แปลว่า เมฆน้อย) เข้าสู่ก๊วน เอ้ย! ชมรมคนรักมวลเมฆ ครับ! ^__^

          เล่นส่งภาพเมฆใหญ่ๆ มาให้ขนาดนี้ ไม่รับไม่ได้แล้ว (ฮาฮา)

          ภาพ 2 นี่เมฆแจ่มจรัสมาก เดี๋ยวลองปรับแสงสีซะหน่อย น่าจะเห็นชัดขึ้นครับ (โปรดอดใจร๊อ..รอ..อิอิ)

สวัสดีครับ คุณ One Pen เอ้ย Wanpen ;-)

        เดี่ยวจะไปปรับแก้ข้อมูลให้ครับ

        ผมเองก็อาจจะอธิบายผิดไปเหมือนกัน เรื่องแถบแสงสีรุ้งเล็กๆ นี่ เพราะไปเห็นคำอธิบายแบบอื่น ไว้จะหาโอกาสมาขยายความอีกที

        ค่อยๆ เรียนรู้กันไป แก้ผิดเป็นถูก อย่างนี้สิครับถึงจะเรียกว่า รักเมฆ & ท้องฟ้าจริงๆ ^__^

  • ชอบภาพเมฆนี้มากค่ะ และข้อมูลที่มีประโยชน์นี้ด้วยค่ะ
  • ภาพเมฆซีร์โรคิวมูลัสที่เราเห็นจากพื้นจะเล็กละเอียด

    เพราะเมฆอยู่สูงจากพื้นมาก ราว 6-12 กิโลเมตร หรือจำง่ายๆ ก็สัก 10 กิโลเมตร

    ซึ่งเป็นระดับเดียวกับเพดานบินของเครื่องบินนั่นเอง

     ขอบพระคุณค่ะ

สวัสดีครับ คุณ Sila Phu-Chaya

         เมฆซีร์โรคิวมูลัสฝีมือคุณ Wanpen ภาพนี้สุดยอดครับ องค์ประกอบลงตัว สีสันสดใส และชัดมากด้วย

         หลายท่านดูเหมือนจะชอบเมฆชนิดนี้มากเป็นพิเศษครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท