เวทีจัดการความรู้แก้จนเมืองนคร ๔ พ.ค.๒๕๔๙


โดย ภีม ภคเมธาวี

ถึงเวลาที่จะนำเรื่องราวการประชุมวันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๙ มาเล่าให้ฟังกันแล้วนะคะ วันนั้นผู้เข้าร่วมประชุมมากันคับคั่งทีเดียว แต่ทีมหนูเคเอ็มไปสายกันนิดหน่อย ได้ฟังท่านผู้ว่าบรรยายพิเศษประมาณ ๓๐ นาที (เดี่ยวจะนำมาเขียนในบล็อคในโอกาสต่อไปนะคะ) ส่วนวันนี้นั้นขอนำเรื่องราวกิจกรรมของภาคเช้า ในประเด็นเรื่องทบทวนโครงสร้าง บทบาทหน้าที่และเรื่องของ ICT Blog มาเล่าให้ฟังกันก่อนนะคะ (อันเนื่องมากจากว่าถอดเทปส่วนนี้เสร็จเร็วนะคะ)

ลืมไปนิดหนึ่งคะย้อนมาทบทวนถึงผู้เข้าร่วมเวทีในวันนี้ก็จะเป็น ปลัด พัฒนาการอำเภอ ผอ.กศน.อำเภอ วึ่งถือว่าเป็นทีมสำคัญมากในการขับเคลื่อนเรื่องราวการขับเคลื่อนตามกระบวนการดำเนินงานของโครงการ เพื่อไม่เป็นการเสียเวลาลองอ่านกันดูนะคะ

๓ เสา ๒ ฐาน หากเราเอาแนวคิดมาตีความ คือ เรื่องราวของความพอประมาณ ความมีเหตุผล และมีระบบภูมิคุ้มกัน ๓ เสา และ ๒ ฐาน คือ จะต้องมีคุณธรรมและมีความรู้ นี่คือ ความพอเพียงที่จะทำให้เกิดขึ้นใน จำนวน ๔๐๐ หมู่บ้าน ทั่วทั้งจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็น เป้าหมายในปี ๔๙ ซึ่งเราทำโครงการนี้ เมื่อคิดจำนวนคนทั้งหมดแล้ว ๒๕,๖๐๐ คน เป็นกลุ่มเป้าหมายของคนที่เราจะเข้าไปทำงานด้วทำให้เขาเกิดความพอเพียงขึ้นมาในระดับหมู่บ้าน ในระดับชุมชนก็มีความพอเพียงและเชื่อมโยงทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ขึ้นมาใน ๖๔ คน ๔๐๐ หมู่บ้านน่าอยู่และมีความยั่งยืน เชื่อมโยงให้เห็นจุดประสงค์ คัดมา ๘ คน ๘ ๘ ๘ คือผู้นำของหมู่บ้านนั้น ๆ ผู้นำมีทั้งผู้นำทางการ และผู้นำตามธรรมชาติ อาจจะมีผู้ใหญ่บ้าน อบต. กลุ่มองค์กร อสม. กลุ่มแม่บ้าน ออมทรัพย์ กลุ่มเกษตรกรทั้งหลาย ก็จำนวน ๘ คน เราถือว่าเขามีบทบาทมีประสบการณ์มีความเสียสละ ในหมู่บ้านนั้น ๆ จะมาเป็นคล้าย ๆ กับคนที่จะชักชวน ชักจูงหรือเป็นผู้นำในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ ความพอเพียงในแต่ละหมู่บ้านเป้าหมายคนเหล่านี้จะลงไปทำกับคน ๖๔ คน ถัดมา คือ ๓ คน เป็นบุคลากรของภาครัฐ คือ หน่วยสนับสนุนในพื้นที่ เราทำโครงการนี้ด้วยการใช้ชื่อว่าโครงการบูรณาการการจัดการความรู้เพราะฉะนั้นเราพยายาม ซึ่งเราตั้งใจมานานและปัญหาที่เราพบมานานว่าการทำงานสนับสนุนส่วนใหญ่ต่างคนต่างทำ ไม่ได้มีการทำงานเป็นทีม หรือร่วมไม้ร่วมมือเท่าที่ควร ก็หมือนกับพยายามทำให้ปัญหาที่มีอยู่หมดไป ทำให้เราบรรลุผลอย่างเสริมพลังกัน ทุกคนที่พูดถึงก็จะมาจากหน่วยงานสนับสนุนในพื้นที่เป็นอาสาสมุครที่สนใจจะเข้ามาร่วมโครงการ อาจจะมาจาก พช. กศน. เกษตรตำบล สธ. จนท.อนามัย จนท.ธกส.เป็นบุคลากรซึ่งเป็นหน่วยสนับสนุนในพื้นที่ ๓ คน ต่อ ๑ ตำบล เป็นต็กตา อาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่าขึ้นอยู่กับแต่ละตำบลเพราะฉะนั้น ๓ ท่านนี้เราจะใช้ศัพท์ซึ่งท่านผู้ว่า ได้พูดไว้ ชอบมากครับ คือ จับตัววางตาย ในโครงการต้องการ ๓ คนนี้เพื่อปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง ในตำบลเป้าหมายจนจบโครงการและพิสูจน์ทราบว่าใน ๘ คน และ ๖๔ คนผลอกมาเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้นย ๓ ท่านนี้จะต้องจับตัววางตายว่าคือใครบ้าง ลงทะเบียนชัดเจนว่าจะมาจากหน่วยงานสนับสนุนในพื้นที่เป้าหมาย ซึ่งในโครงการ ๔๐๐ หมู่บ้าน อาจจะเลือก ๒-๓ หมู่บ้านที่มีรายชื่อหมู่บ้านชัดเจนบางแห่งก็ ๕ หมู่บ้าน บางแห่งก็ ๒ ๓ หมู่บ้าน ๆ ละ ๘ คน นี่คือตัวอย่างแบบจำลอง ๓ หมู่บ้านทำงานกับผู้นำ ๘ คน ซึ่งหากเป็นตัวเลขที่มี ๓ หมู่บ้าน ก็เท่ากับ ๒๔ คนที่เป็นผู้นำแล้วผู้นำแต่ละหมู่บ้านก็ไปทำงานกับหมู่บ้านเป้าหมาย ๖๔ คน

 

ถัดมาคือภาคีภาครัฐ ท่านที่มาประชุมในวันนี้ คือหัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอวันนี้นั้นเราเชิญผู้แทนอำเภอละ ๓ ท่านที่จริงแล้วมีมากกว่านี้ ซึ่งมีคำสั่งองค์ประกอบนี้จะมีท่านนายอำเภอเป็นประธาน มีพัฒนาการอำเภอ กับผู้อำนวยการ กศน.เป็นเลขานุการร่วมและมีเกษตรอำเภอ สธ.อำเภอ นายกอบต. และมีกำนันร่วมกันทำงาน มีปลัดด้วยวันนี้เป็น ตัวแทน ๓ ท่าน จากส่วนของอำเภอในเวทีจังหวัด ที่เชิญไปก็จะเป็นปลัดซึ่งเชื่อมโยงกับท่านนายอำเภอ พัฒนาการ และ ผอ.กศน.อำเภอซึ่งเป็นเลขาร่วม ฉะนั้นโครงสร้างที่เชิญมาวันนี้เป็นโครงสร้างสำคัญที่จะเป็นผู้ปฏิบัติการในอำเภอที่จะใช้ศัพท์ว่าจับตัววางตาย คือ ต้องมาอย่างต่อเนื่อง ทุกครั้งที่มีการประชุมระดับจังหวัด ท่านเหล่านี้ คือ ส่วนสำคัญที่จะขับเคลื่อนในส่วนข้างล่าง ที่จะทำให้เกิดขึ้น

ถัดมาอีกขั้นหนึ่ง คือ ภาคีพัฒนาภาครัฐ หรือคุณอำนวยจังหวัดซึ่งก็คือหัวหน้าส่วนจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาการจังหวัด เกษตรจังกหวัด สธ.จังหวัด ผอ.กศน จังหวัด ผอ.ธกส. ที่จริงแล้วหากกลไกเข้าสู่ระบบท่านผู้ว่าจะต้องเป็นผู้ดำเนินการวันนี้ เท่าที่ผมกล่าวถึงวันนี้มีแต่ท่าน ผอ.วิมล กับ ธกส. ซึ่งท่านติดภารกิจแต่ก็ถือว่าท่านมา เพราะส่งตัวแทนมา ท่านพัฒนาการจังหวั เกษตรจังหวัด สธ.จังหวัด ท่านเหล่านี้ คือ หัวหน้าส่วนซึ่งรับทราบ รับรู้และก็คล้าย ๆ กับคนที่จะให้การสนับสนุนคุณอำนวยของอำเภอในการลงไปทำหน้าที่ ท่านที่มาร่วมวันนี้ที่มาจากส่วนราชการระดับอำเภอ ท่านต้องประสาน เพราะหัวหน้าส่วนราชการจะไม่รับทราบ สำหรับทีมวิชาการพี่เลี้ยงคือ ผม ในโครงสร้างเป็นเพียวงตัวเข้ามากระตุ้นให้ระบบเกิดขึ้น หลังจากนั้นระบบก็จะเคลื่อนไปเองทีมวิชาการก็จะคอยไปเป็นที่ปรึกษา เพราะว่าโยโครงสร้างแล้วระบบจะต้องมีการจัดการความรู้ของตนเองไป พี่เลี้ยงก็จะคอยเป็นทึ่ปรึกษาเท่านั้น หากพี่เลี้ยงเข้ามาไม่สามารถเคลื่อนด้วยตนเองได้ การจัดการความรู้ก็จะต้องพึ่งพาตลอดเพราะฉะนั้นคือ ช่วงเริ่มแรกของการสร้างการจัดการความรู้ในช่วงที่ระบบยังไม่ลงตัวได้คุยกับท่านผู้ว่าไว้ว่าเราจะต้องไปสร้างความเข้าใจกับทีมคุณเอื้อจังหวัดที่มาจากหัวหน้าส่วนทั้งหมด ให้เกิดการทำความเข้าใจในโครงการนี้ร่วมกัน วันนี้ก้ไม่เป็นไร ถือว่าทีมวิชาการ ทีมพี่เลี้ยงมีบทบาทในเรื่องนี้มากหน่อย ล้ำเส้นเข้ามาหน่อย โครงสร้างส่วนนี้เรียกว่าโครงสร้างเชิงฟังก์ชั่น ต่อมาจะเป็นโครงสร้างเชิงพื้นที่ (Area) ซึ่งท่านผู้ว่า ฯจะเป็นคุณเอื้อจังหวัด นายอำเภอ คุณเอื้ออำเภอกับตำบล คือ โครงสร้างนี้เป็นการประสานระหว่าง AREA กับ FUNCTION ให้มาประสานกีรทำงานกันเพื่อเสริมพลังให้การทำงานเพิ่มพลังทวีคูณเพราะฉะนั้นโครงสร้างที่เป็นคุณเอื้อด้านซ้ายมือนั้นจะต้องคอยเอื้ออำนวยความสะดวก สนุกสนาน คล่องตัว นีคือ Model ว่าจะต้องทำให้ถึงขั้นนั้นหากท่านนายอำเภอไม่ทราบส่วนราชการอื่น ๆหากไม่ทราบก็จะไม่เกิดทีมที่ทำงานร่วมกัน ในขณะเดียวกันระดับจังหวัดท่านผู้ว่าซึ่งผมคิดว่าเป็นท่านเดียวในประเทสไทยที่เข้าใจเรื่องนี้ดีที่สุด มาทำเรื่องนี้อย่างเต็มตัวค่อนข้างมาก แต่ท่านเองก็เห็นเป็นข้อจำกัดซึ่งหลายเรื่องก็เกินความสามารถที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันด้วย แม้ว่าท่านจะเป็นหนัวหน้าสูงสุดนะครับ ท่านก็ต้องเข้าใจด้วย แต่ท่านก็มีความพยายามท่านก็พูดเสมอว่าท่านเต็มร้อย ท่านให้กำลังใจ ชักชวนบทบาทอันนี้ของท่านผู้ว่าในฐานะคุณเอื้อจังหวัดก็ต้องถ่ายทอดนายอำเภอ และก็หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดซึ่งอยู่ในคำสั่ง ที่เรียกว่าคณะกรรมการอำนวยการ ท่านผู้ว่าก็จะต้องทำความเข้าใจกับนายอำเภอทั้ง ๒๓ อำเภอและหัวหน้าส่วนราชการทั้งหมด เพราะฉะนั้นหากมีความเข้าใจทั้งระบบทั้งหมดก็จะต้องเชื่อมโยงกัน เข้าใจว่าโครงการนี้จะทำอย่างไร วัตถุประสงค์อะไร

ในส่วนของอำเภอก็กลับไปสร้างทีม ๓ คนหากมากกว่าก็ยิ่งดี เพราะโครงการนี้สุดท้ายแล้วส่วนราชการทั้งหมดก็จะผูกโยงกันเพราะเราจะทำครอบคลุมทั้งตำบล หากเราทำเรื่องเหล่านี้ได้โครงสร้างกิจกรรมซึ่งอยู่ใน function ของแต่ละหน่วยงานวางอยู่ก็สามารถ Merch กันเข้ามาในการจัดการความรู้ได้กลายเป็นการเชื่อมโยงแผนกิจกรรมของ function ที่มีอยู่เข้ามาเชื่อมโยงกัน มันก็เข้าไปสู่การทำงานรวมที่สมบูรณ์แบบซึ่งเป็นสิ่งที่ท่านผู้ว่าฝันเอาไว้ เป็นตัวกระตุ้นตัวสร้างการเรียนรู้ขึ้นมาเพื่อนำไปสู่การทำงานที่บูรณาการ่วมกันในระดับอำเภอ ตำบล สิ่งเหล่านี้เราตั้งโครงการไว้ ๓ ปี ๑๐๐ หมู่บ้าน เป็น ๕๐๐ หมู่บ้าน ครอบคลุมทั้ง ๑,๕๓๕ หมูบ้านเพราะฉะนั้นจุดคอขวดสำคัญคือจุดที่ประชุมกันวันนี้ หัวหน้าส่วนของอำเภอ ๓ ท่าน ที่จะถือว่าเป็นตัวยึดโยงกันทั้งข้างล่างข้างบน ข้างบน คือ ท่านจะเข้าใจมากกว่าท่านนายอำเภอ เพราะฉะนั้นท่านจะต้องไปสื่อสารกับทีมงานซึ่งการดำเนินการขั้นต่อไปเราจะต้องมีแผนงาน เราต้องมีโครงสร้างที่ชัดเจน เวทีครั้งต่อไปต้องเอางานที่ทำนั้นแหละมาคุยกันหากไม่ทำอะไรการประชุมครั้งต่อไปก็น่าเบื่อเพราะไม่มีเรื่องที่จะมาแลกเปลี่ยนกัน การจัดการความรู้ก็จะเป็นการจัดการความไม่รู้ขึ้นมาทันที ก็จะเป็นสิ่งที่ประสบความล้มเหลว เราจะมีการระบุว่าแผนงานขั้นต่อไป ท่านที่มาวันนี้จะต้องไปดำเนินการปฏิบัติการสร้างความเข้าใจกับทีมงานคุณเอื้ออำเภอตำบล ทำอย่างไรให้นายอำเภอมาเป็นแกนอำนวยกลาง และก็คุณเอื้อที่มีอยู่ในอำเภอเกิดความเข้าใจเรื่องนี้ เข้าใจกระบวนการ โครงสร้าง ซึ่งเราจะทำงานร่วมกันในระยะยาว เราไม่ได้ทำโดดเดี่ยว เพราะว่าในการจัดการความรู้เราจะต้องเชื่อมโยงกับท่านผู้ว่า นายอำเภอ อีกทางหนึ่งด้วย ฉะนั้นสิ่งสำคัญประการแรก คือ การลงไปสร้างความเข้าใจ ๒ คือ การทำ Workshop ในเรื่องของตารางอิสรภาพ ช่วงบ่ายเราจะปฏิบัติการกัน (ทำตารางอิสรภาพ)

การจัดการความรู้ คือ การปฏิบัติเป็นการลงไปทำแล้วเกิดผลขึ้นต้องเอาผลนั้นแหละมาคุยกันเพื่อแลกเปลี่ยนและให้เราบรรลุผล นี่ก็จะต้องเป้นสิ่งที่เราจะต้องไปดำเนินการต่อ เมื่อเราทำไปแล้วจะต้องเกิดความรู้ขึ้นมา มีทั้งเพื่อน ทั้งทีมงานเกิดขึ้นทำให้เกิดความสุขขึ้นมานี่ก็ต้องเอาไว้ในหัวข้อโครงสร้างการทำงาน

คุณกิจ ๖๔ ท่านซึ่งเป็นเป้าหมายสุดท้ายที่เราต้องการในโครงสร้างนี้ คือ ในพื้นที่เขาทำแผนแม่บทในชุมชน ถัดมาคุณอำนวยหมู่บ้าน ๘ ท่านเราเรียกคุณอำนวยหมู่บ้าน เป็นคนอำนวยการเรียนรู้ในหมู่บ้าน ถัดมาเรียกว่าคุณอำนวยตำบลเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ในตำบล ถัดมาเรียกคุณอำนวยอำเภอหรือเรียกว่าคุณเอื้ออำเภอ จังหวัดตามโครงสร้างในการทำงานก็จะมี ๒ ส่วน เรียกว่าโครงสร้างที่เราพยายามเชื่อมโยงสถาบันการศึกษาในจังกหวัดนครศรีฯ มาร่วมมือกัน มรภ. มวล. ไสใหญ่ อาชีวะ แต่ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่ผมซึ่งชอบเรื่องนี้มากกว่าคนอื่น ก็ทำงานด้วยความสนุกและต่อเนื่องกว่าที่อื่น แต่เราก็จะต้องไม่ทิ้งกันคือเราจะต้องเข้าไปเชื่อมโยงให้เข้ามาร่วมของภาคีวิชาการเข้ามาให้ได้และภารกิจที่ผมต้องเข้ามาสนับสนุนคือ ทำอย่างไร ให้โครงสร้างการจัดการความรู้ไหลไปโดยระบบเองดดยทีมวิชาการเข้ามาช่วยในเบื้องต้นนี้จะเป็นทีมที่ปรึกษา ทั้งในส่วนของ หัวหน้าส่วนจังหวัด ก็ต้องจัดการความรู้ระดับจังหวัด อำเภอก็จะต้องลงไปทำกับตำบล ตำบลก็ลงไปทำกับหมู่บ้าน โดยสามารถทำโดยระบบได้เอง ไม่ต้องอาศัยคนข้างนอกหากเข้ามาก็เป้นเพียลทีมปรึกษาที่ชัดเจนขึ้นมาเท่านั้นหากผมทำเรื่องนี้ได้สำเร็จเมื่อไหร่ก้เท่ากับว่าทีมวิชาการประสบความสำเร็จในการสามารถทำให้ระบบการจัดการความรู้ชัดเจน ในขณะเดียวกันก็จะมีส่วนหนึ่งของโครงการที่เรียกว่าส่วนประสานงานและการเงิน ที่ กศน.เป็นเสมือนผู้รับผิดชอบ ส่วนนี้ในโครงการมีความสำคัญ ในการทำงานก็มีเรื่องของการใช้จ่ายงบประมาณ การประสานงานทีมนี้ต้องทำให้เกิดปัยหาน้อยที่สุด การประสานงานราบรื่น สามารถทำการงานด้วยตนเองอย่างสะดวก หากทีมนี้ทำได้ก้ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างยอดเยี่ยม

สุดท้ายนี้ คือ ทีมจัดการความรู้มาจากอำเภอ คือ พวกเรา ท่านทั้งหลายก้จะต้องมีตัวชี้วัดของท่านว่าสำเร็จเรื่องนี้คืออะไร 2 หัวข้อแรกที่เป็นตัวตั้งต้น ๑ คือ กลับไปสร้างความเข้าใจกับทีมงานของนายอำเภอ ที่ทำงานร่วมกันกับโครงการและเราต้องเข้าใจให้ชัดเจนด้วย ๒ สร้างทีมงานตำบลละ ๓ คน ที่เป็นการจับตัววางตายเพื่ออำนวยความสะดวกกับการทำงาน ๓ เราสามารถจัดกระบวนการให้ผู้เรียนรู้ทำงานแล้วสนุก มีความรู้เกิดขึ้นและทำต่อเนื่องจนจบโครงการคุณอำนวยอำเภอก็ประสบความสำเร็จกับการทำงานนี้ ท่าจนก็จะยกระดับความรู้ไปด้วย ได้เพื่อนร่วมงาน ได้มหาศาลเลย อย่างที่บอกว่าการจัดการความรู้ ก้คือการพัฒนาตัวเอง พัฒนาองคืกร พัฒนาการเรียนรู้ให้ประสบผลสำเร็จไปพร้อมกันถ้าเราทำสำเร็จแล้วจะได้ ๓ ตำบลพร้อมกัน เราก็จะมีความรู้เพิ่มขึ้นมีความสุขขึ้นเพราะฉะนั้น องค์กรของเรา งานที่เรารับผิดชอบ ๓ ส่วน ต้องไปพร้อมกัน หัวข้อแรก คือ ที่ถือโอกาสชี้แจงอย่างรวบรัด อีกครั้งเพราะเราคุยเรื่องนี้ในวงใหญ่ ๒-๓ ครั้งแล้ว เชื่อมั่นว่าท่านในที่นี้ก็เป็นแกนหลักของอำเภอ ๖๙ ท่าน ซึ่งท่านก็จะเป็นคุณอำนวยจังหวัดผู้สนับสนุนซึ่งเป็นโครงสร้างที่หลังจากนี้ จะถอยลงสู่ระดับอำเภอ ลงลึกนี้คือโครงสร้างที่กำหนดไว้

หมายเลขบันทึก: 27487เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2006 14:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ชอบมากๆค่ะที่อาจารย์ถอดความรู้มาตอกย้ำความจำ  เพราะจำเองไม่ค่อยหมด  สมาธิสั้นค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท