ข่าวคนทำดี(1) อลังการสะพานลอย


ข่าวคนทำดีวันนี้... ผู้เขียนขอนำเรื่อง “อลังการ สะพานลอย” มาเล่าสู่กันฟัง สะพานลอยนี้ปิดชื่อ “กรมทางหลวง และองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน” ไว้บนสะพาน สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ1 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลำพูนน่าจะมีส่วนร่วมในการปรับปรุงสะพานลอยอลังการ ให้มีทั้งพระเจดีย์ ลายเมฆ และสิงห์ประดับบันไดทางขึ้น เนื่องจากไม่พบสะพานลอยแบบนี้ที่อื่นเลยแม้แต่แห่งเดียว

สะพานลอยอลังการข่าวคนทำดีวันนี้... ผู้เขียนขอนำเรื่อง “อลังการ สะพานลอย” มาเล่าสู่กันฟัง สะพานลอยนี้ปิดชื่อ “กรมทางหลวง และองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน” ไว้บนสะพาน

ผู้เขียนเข้าใจว่า สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ1 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลำพูนน่าจะมีส่วนร่วมในการปรับปรุงสะพานลอยอลังการ ให้มีทั้งพระเจดีย์ ลายเมฆ และสิงห์ประดับบันไดทางขึ้น เนื่องจากไม่พบสะพานลอยแบบนี้ที่อื่นเลยแม้แต่แห่งเดียว

ลายเมฆประดับพระเจดีย์นี้... เมื่อมองไกลๆ จะดูคล้ายกับพระเจดีย์ลอยอยู่บนฟ้าทีเดียว ผู้เขียนเชื่อว่า สะพานลอยแห่งนี้น่าจะเป็นสะพานลอยที่สวยงามที่สุดในประเทศไทย

ผู้เขียนทนเก็บเรื่องคนทำดีนี้ไว้ในใจไม่ไหว จึงขอนำมาลง “ข่าวคนทำดี” ไว้เป็นแบบอย่าง... สาธุ สาธุ สาธุ

ที่มา:

  • ขอขอบคุณ > กรมทางหลวง และองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน.
  • ขอขอบคุณ > สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 1. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลำพูน. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. กระทรวงศึกษาธิการ.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ ศูนย์มะเร็งลำปาง จัดทำ > ๘ พฤษภาคม ๒๕๔๙.
  • เชิญอ่านบ้านสุขภาพที่นี่ > http://gotoknow.org/blog/health2you
หมายเลขบันทึก: 27485เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2006 14:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)
วัลลภ พรเรืองวงศ์
  • สวยงาม ใช้พื้นที่ได้เป็นประโยชน์ค่ะอาจารย์
  • ท่านอาจารย์ไปทำอะไรที่ลำพูนมาคะถึงได้เก็บ "อลังการสะพานลอย"  มาฝากเรา
วัลลภ พรเรืองวงศ์
  • ขอขอบคุณอาจารย์ JR_NUQA
  • 5 พฤษภาคม 49 ผมไปวัดสวนดอก เชียงใหม่ ที่นั่นมีงานบูรณะพระธาตุมาเกือบ 3 ปี
  • บัดนี้เสร็จแล้ว เลยได้ไปช่วยคณะทำงานจัดสถานที่ + เป็นเจ้าภาพร่วมถวายภัตตาหารเพลทั้งพระทั้งฆราวาส ขอให้ทุกท่านได้รับส่วนแห่งบุญนี้โดยทั่วกันเทอญ
  • ขอขอบคุณอาจารย์ JR_NUQA และท่านผู้อ่านทุกท่าน...
  • ดีใจกับท่านอาจารย์ที่ได้มีโอกาสทำกิจกรรมดีดีและมาเล่าให้เราฟังค่ะ
  • ขออนุโมทนากับส่วนแห่งบุญที่ท่านอาจารย์ได้กระทำค่ะ

    ด้วยความเคารพค่ะ

เรียนอาจารย์หมอวัลลภ

  • ภาพสวยๆ ทั้งนั้นเลยครับ สมกับชื่อเรื่องเลยครับ
  • ผมเดินทางไปลำพูนบ่อยๆ เอาไว้จะแวะไปดูสะพานนี้นะครับ (คงอยู่ในเมือง) หรือ อาจอยู่แถวไฮเวย์
  • อย่างไรก็ดี ผมขออนุโมทนาบุญกับอาจารย์ดัวยคนนะครับ

มีวิทยานิพนธ์ที่ มอ. เกี่ยวกับการใช้สะพานลอยครับ

จากการศึกษาของคุณณรัฐ บัวแย้ม 2546 พบว่า สะพานลอยในพื้นที่ศึกษา (สงขลา)

คนส่วนใหญ่มักจะข้ามถนนบนผิวจราจร โดยไม่ขึ้นสะพานลอย

คาดว่าสาเหตุมาจาก สะพานสูงเกินไป บันไดชันเกินไป

(ฝากบอกให้กรมทางหลวงหรือหน่วยงานอื่นๆ ออกแบบสะพานคนข้ามโดยให้บันไดมีความชันไม่เกิน 30 องศาครับ)

วิธีที่จะบังคับให้คนขึ้นสะพานลอยอย่างได้ผลคือ กั้นรั้วข้างล่าง เช่น บนเกาะกลาง หรือ บนขอบทางเท้า

อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาของคุณสมนึก เศียรอุ่น, 2546 พบว่า การจัดการทางข้ามที่เหมาะสมในเขตเมืองคือ สัญญาณไฟจราจรสำหรับการข้ามถนน(แบบมีปุ่มกด)

เอกสารอ้างอิง

สมนึก เศียรอุ่น การศึกษาการพัฒนาความปลอดภัยของคนเดินเท้าในประเทศไทย กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา 2546

ณรัฐ บัวแย้ม สัมฤทธิผลของสะพานลอยข้มทางหลวงในจังหวัดสงขลา : กรณีศึกษาทางหลวงหมายเลข 4 มอ. - สะเดา 2546

http://www.geocities.com/traffic.calming/

    ขอบคุณ "คุณเปมิช" ที่นำความรู้มาเพิ่มเติมให้นะคะ

ไม่เป็นไรครับ มีอะไรก็มาแบ่งปันกันกันครับ

เรามักจะพบเสมอว่า สะพานคนข้าม(สะพานลอย)ที่กรมทางหลวงมักจะสร้างเอาไว้ให้คนข้ามถนน คนมักไม่ค่อยใช้กัน บางแห่งหญ้าขึ้นรกบริเวณบันได แสดงว่าไม่มีใครใช้กันเลย

ส่วนหนึ่งเป็นเพราะบันไดชันเกินไป เคยถามผู้สูงอายุกลุ่มหนึ่ง ที่ฝ่ากระแสการจราจร บนถนนรังสิต-นครนายก ที่มีรถราวิ่งขวักไขว่ด้วยความเร็วสูง ว่า"สะพานคนข้ามก็อยู่ไม่ไกล ทำไมถึงไม่ใช้" ได้รับคำตอบว่า "ขึ้นไม่ไหว"

คือคนสร้างไม่ได้คิดถึงคนใช้ (เอาใจเขามาใส่ใจเรา) คิดว่าแค่สร้างอย่างเดียวก็คงพอแล้ว

ดังนั้นทางเลือกที่พอจะเป็นไปได้คือ

1 ทำบันได้ให้ชันน้อยลง (ไม่เกิน 30 องศา)

2 ทำอุโมงค์ลอด เพราะว่า

2.1 ความต่างระดับของอุโมงค์กับผิวจราจรจะน้อยกว่าสะพานคนข้าม(กับผิวจราจร) ทำให้บันไดไม่ชันมาก

2.2 เวลาข้ามต้องลงไปก่อน ทำให้รู้สึกว่าข้ามง่ายกว่า (ลงง่ายกว่าขึ้น)

ราคาค่าก่อสร้างอุโมงค์ลอดดีๆ ก็ใกล้เคียงกับสะพานคนข้าม ไม่ได้แพงกว่ามากจนสร้างไม่ได้

อย่างไรก็ตาม ค่าก่อสร้างทั้งสะพานคนข้ามและอุโมงค์ลอด 1 จุด น้อยกว่าความสูญเสียจากการเสียชีวิต (TDRI, 2537) คือ ความสูญเสียจากการเสียชีวิต 1 ราย เท่ากับ 4.75 ล้านบาท ความสูญเสียต่อความพิการรายละ 3.32 ล้านบาท

เอกสารอ้างอิง (เพิ่มเติมจากข้างบน)

สมุดปกขาวทีดีอาร์ไอ : ความสูญเสียทางเศรษฐกิจเนื่องมาจากอุบัติภัยจราจร, 2537

http://www.geocities.com/jarajorn_hadyai/econloss.html

  • เป็นสะพานที่สวยมากครับ
  • ขออนุโมทนาด้วยครับ สาธุ

ขออนุญาตปล่อยไก่สักตัวเถอะครับ

1 ชุมชนบล็อก กับ บล็อก เหมือน และ ต่างกันอย่างไรครับ

2 ใน เว็บ server นี้มี Directory ไหมครับว่า มีความรู้/สาระ อะไรบ้าง จะได้เลือกอ่านถูก รู้สึกว่ามีเยอะจนอ่านไม่ไหว

3 มีข้อจำกัดไหมครับว่าการสร้าง บล็อก ขึ้นมาสัก บล็อกหนึ่งนั้นต้องมีเนื้อหาอย่างไรบ้าง

http://www.geocities.com/traffic.calming/

ขออนุญาตจัดการความรู้กับเค้าบ้างนะครับ ที่

http://gotoknow.org/arrivealive

วัลลภ พรเรืองวงศ์
  • ขอขอบคุณอาจารย์ JR_NUQA, อาจารย์สมลักษณ์, อาจารย์เปมิช และท่านผู้อ่านทุกท่าน...
  • 1). คำแนะนำของอาจารย์เปมิชมีคุณค่ามากต่อบ้านเมือง เชิญท่านผู้อ่านศึกษาเพิ่มเติมตามที่อาจารย์ทำลิ้งค์ไว้
  • 2). เรื่องอุโมงค์ข้ามถนน... ถ้าใครจะสร้าง ขอเรียนเสนอให้หาทางนำแสงแดดเข้าไปให้ถึง จะได้ประหยัด และดูปลอดภัยขึ้น + ขอไฟแสงสว่างกลางคืนด้วย + ถ้ามีโทรทัศน์วงจรปิดไปสถานีตำรวจน่าจะดี
  • 3). บล็อกมีเจ้าของ ส่วนใหญ่จะเป็นบุคคล(ไม่ใช่หน่วยงาน / องค์กร)
  • 4). ชุมชนบล็อก... รวมกลุ่มบล็อกที่มีความสนใจในเรื่องคล้ายกัน หรือทำกิจกรรมร่วมกัน
  • 5). สมมติมีคนสนใจเรื่องลาว (Lao) เหมือนๆ กัน คนกลุ่มนี้แต่ละคนอาจจะเปิดบล็อกเป็นรายบุคคล แล้วมารวมตัวกันเป็นชุมชนบล็อก แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ลปรร.) กันเรื่องลาว ทำให้เกิดความรู้ต่อยอด เกิดการตรวจสอบความรู้ เกิดข้อคิด (idea) และความช่วยเหลือกันมากมาย
  • 6). Gotoknow มีบริการสืบค้น... ให้ค้นคำ ชุมชน บันทึก หรือบทความที่สนใจได้ ดูจากแถบด้านบน (menu bar)
  • 7). สังคมทุกวันนี้มีข้อมูล ข่าวสารมาก เรียนเสนอให้เลือกอ่านเฉพาะเรื่องที่สนใจครับ อ่านมากเกินจะเปลืองชีวิต...
  • 8). การสร้างบล็อกนี่เข้าใจว่า ไม่มีการบังคับเนื้อหา ทว่า... ถ้าจะทำบล็อกให้สนุกน่าจะสมัครเข้าชุมชนที่สนใจอะไรคล้ายๆ กัน หรือจะตั้งชุมชนใหม่ แล้วหาสมาชิกมาร่วมวงก็ได้...
  • 9). ขอเรียนเชิญอาจารย์ และท่านผู้สนใจทำบล็อกครับ Gotoknow มี tutorial ของอาจารย์จันทวรรณ ผมเองก็ไม่ค่อยรู้เรื่องบล็อก และ km เท่าไหร่ คาดว่า ค่อยๆ ศึกษาไป... 2-3 ปีน่าจะเข้าใจอะไรๆ มากขึ้น
วัลลภ พรเรืองวงศ์
  • ขออภัย... ลืมตอบคำถามของอาจารย์สมลักษณ์
  • สะพานลอยอลังการอยู่บนถนนซูเปอร์ไฮเวย์ลำปาง-ลำพูน ถ้ามาจาก "พิดโลก" จะพบสะพานที่ว่านี้ก่อนถึงลำพูนประมาณ 10 กิโลเมตรเศษๆ
  • ขอต้อนรับสู่เมืองลำพูน... ไปแล้วอย่าไปเลย ให้แวะกราบพระธาตุหริภุญชัยเป็นบุญเป็นบารมีเน้อ...

อาจารย์หมอนำภาพสะพานลอยสวยงามมาให้ชม ก็ยินดี พร้อมกับนึกหวนมาถึง สะพานลอยหน้าม.นเรศวร ที่สร้างขึ้นมาแล้ว ก็ดูเหมือนจะเป็นสะพานกันแดดให้นักเดินข้ามถนนกันข้างล่างซะมากกว่า มันสูง  ใหญ่โต ถูกแดดร้อนสนิทเพราะไม่มีหลังคา และเดียวดาย เพราะไม่มีคนเดินผ่าน

ถนนหน้ามหาวิทยาลัยมีหกเลน(หรือแปดเลน) สะพานลอยสร้างค่อมไว้หมด มีบันไดสะพานทางขึ้น-ลงอยู่ชิดขอบถนนของเลนนอกสุดและไม่มีทางลงระหว่างทาง ตั้งใจให้เดินขึ้นและลงสุดของสองฟากถนน

แต่นอกจากสะพานลอยจะไม่ได้ถูกใช้แล้ว บริเวณด้านล่างของสะพานลอยยังถูกใช้งานโดยไม่คาดหมายอีก และเป็นจุดเสี่ยง

บริเวณเสาสะพานลอยนั้นกลายเป็นพื้นที่ยืนรอขึ้นรถโดยสารสายไกลด้วย ทั้งที่ไม่มีศาลาให้นั่งรอขึ้นรถอย่างถูกต้อง เห็นได้ชัดว่าไม่ต้องการให้ไปยืนรอตรงนั้น เพราะกั้นแนวกั้นสูงไว้แล้ว 

แต่ในทางปฎิบัติคนก็ผ่าแนวกั้น ปีนออกไปยืนอยู่ที่เนินดินข้างเสาสะพาน และบ้างก็นั่งห้อยขาบนที่กั้นเป็นระยะ เพราะนั่งนานไม่ได้ ซึ่งเสี่ยงอยู่เหมือนกัน เสี่ยงกับการตกลงมาในเวลาพอดีกับที่รถวิ่งผ่าน

ดินบริเวณนั้นเป็นพื้นที่ตรงเสาสะพาน ปลูกหญ้าไว้ แต่กลายเป็นที่ยืนรอรถ จนดินพัง 

พิจารณาแล้วคงเป็นเพราะว่า  รถโดยสายทางไกลต่างๆ จะแวะจอดรับคน เฉพาะที่ริมเสาสะพานลอยตรงนั้น ไม่ได้เลี้ยวเข้ามาจอดที่ถนนสายในสุดที่มีศาลาพักผู้โดยสารจัดไว้ให้

คงไม่ได้ตกลงร่วมมือกันระหว่าง"ทางหลวง" กับ"ขนส่ง" (ขออภัยหากอ้างถึงผิด ดิฉันไม่ทราบว่าอยู่ในความรับผิดชอบของใคร)

คนที่เดือดร้อนก็คือผู้โดยสาร และเป็นที่เดือดร้อนใจของผู้พบเห็นที่เป็นห่วง

ได้ข่าวว่าเคยมีการติดต่อจากมหาวิทยาลัยไปยังหน่วยงาน"ที่เกี่ยวข้อง"ให้ช่วยแก้ปัญหานี้

แต่ก็ไม่มีอะไรคืบหน้า สะพานลอยยังเดียวดาย และบริเวณตีนเสาสะพานยังเป็นที่รอของผู้โดยสารอยู่อย่างนั้น

ส่วนศาลาที่พักนั่งรอรถ ก็มีคนใช้งานเป็นกระสาย ภาพคนยืนที่ตีนสะพานลอยนอกรั้วกั้น ก็ยังคงมีอยู่

เป็นการใช้ทรัพย์ที่มีไม่คุ้นค่าเลย

คงต้องขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาดูแลบ้าง ทั้งแปลงโฉมสะพานลอยให้จูงใจกว่านี้ และแก้ไขการจอดรถรับผู้โดยสารด้วยก็จะดี

 

 

 

  • ขอขอบคุณอาจารย์แมงง่องแง่ง ท่านผู้ให้ข้อคิดเห็น และท่านผู้อ่านทุกท่าน...
  • ยินดีด้วยครับที่พิดโลก (มน.) มีสะพานลอย (อย่างน้อยก็ดีกว่าไม่มี)
  • สะพานลอยที่อื่นดูจะมีปัญหาเหมือนกัน
  • 1). กรุงเทพฯ บางแห่งมีขอทาน+แผงลอยเข้าไปจับจอง ทำให้เกิดคอคอดขวด (bottle neck) หรือการกีดขวางทางจราจร
    2). สะพานลอยหลายแห่งสูง คนเลยเดินข้ามถนนแทน

ใจผมอยากเรียนเสนอให้ใช้สะพานลอย เพื่อจะได้ปลอดภัย และไม่กีดขวางทางจราจร

  • ที่รอรถประจำทางที่กรุงเทพฯ หลายแห่งทำได้ดีมาก... ทำเป็นซุ้มไม้เลื้อย > ขึ้นเสา > ขึ้นตะแกรงโลหะด้านบน
    1). เพิ่มพื้นที่สีเขียว
    2). บังแดด
    3). กลิ่นหอม
  • ใครหนอช่างคิดช่างทำ
    ใครหนอช่างดูแล(ต้นไม้)
    ขอกล่าวสาธุ สาธุ สาธุ ชมเชยมา ณ ที่นี้...
  • มีหลังคาก็อาจจะทำให้ขอทานสบายขึ้นเล็กน้อย
  • กลางคืนก็อาจมีมิจฉาชีพ มาประกอบอาชญากรรม
  • หรือไม่ก็มีคนมาใช้แทนห้องสุขา
  • วิธีจะให้รถมารับที่ศาลาก็ต้องไปสร้างรั้วกั้นไว้ตรงที่เราไม่อยากให้จอด
  • ปัญหานี้อาจจะเกิดหน้า ม.อ.ในเร็วๆ นี้ครับ เพราะได้มีการย้ายศาลาที่พักผู้โดยสารไกลออกไปจากสะพานลอย แต่ขณะนี้ยังสร้างไม่เสร็จ ได้ยินว่าราคาป้ายรถโดยสารแห่งนี้ร่วมล้านบาทแน่ะครับ
  • ราคาสะพานลอย สมัยเงินบาทยังไม่ลอยตัว ราคาสามล้านบาท พอลอยแล้วกลับเหลือ สองล้านบาท เป็นเรื่องแปลกแต่จริง
  • ต้องมาระดมสมองกันครับว่าทำอย่างไรให้มีคนใช้สะพานลอยกันมากขึ้น
  • ขอขอบคุณอาจารย์เปมิช ท่านผู้ให้ข้อคิดเห็น และท่านผู้อ่านทุกท่าน...
  • ปัญหาของการทำหลังคาสะพานลอยมีอย่างที่อาจารย์ว่า... โจร อาชญากรรม นักข่มขืน คนหาส้วมสาธารณะ ขอทานชอบสะพานลอยที่มีหลังคาเหมือนกัน
  • ตรงกันข้าม... ประสบการณ์จากสหราชอาณาจักร(อังกฤษ)มีว่า ถ้าติดกล้องวงจรปิดให้ทั่วถึงแล้ว จะป้องกันโจร อาชญากรรมได้
  • จราจรไทยท่านให้สัมภาษณ์เหมือนกัน(ที่ไหนจำไม่ได้)... ท่านว่า ถ้ามีการถ่ายวิดีโอไว้... คนที่ทำผิดกฏจราจรจะยอมรับผิดมากขึ้น
  • เมืองไทยให้อำนาจกับหัวหน้าหน่วยงามมากเกินไป ทำให้หัวหน้าหน่วยงานขาดการตรวจสอบ โกงกินได้ง่าย ไม่มีใครกล้าท้วงติง โดยเฉพาะการก่อสร้างนี่... หัวหน้าชอบมาก 
  • น่าจะมีกฎหมายบังคับให้หัวหน้าหน่วยงานต้องแสดงทรัพย์สิน
    1). ก่อนทำงาน (pretest)
    2). ระหว่างทำงานทุกปี (quiz)
    3). และหลังออกจากงาน (posttest) 
  • นอกจากนั้น... น่าจะมีกฎหมายห้ามเป็นหัวหน้าหน่วยงานนานเกินคราวละ 4 ปี ไม่ใช่เป็นกันตลอดชาติ
  • ขอให้... มน. และ มอ. สถาบันที่มีพระคุณต่อผู้เขียน ตลอดจนสถาบันการศึกษาทุกแห่ง พึงมีความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป และพึงได้สะพานลอยดีๆ (ทางขึ้นไม่ชันเกิน มีหลังคาหน่อยก็ดี) มีศาลาพักรอรถโดยสารดีๆ ครับ
  • ครับเคยมีโครงการจะติดกล้องวงจรปิด 900 กล้อง เมื่อไม่นานมานี้ แต่ก็หายเข้ากลีบเมฆไปเรียบร้อยแล้วครับ
  • คนทำผิด หมดสิทธิ์ปฏิเสธเลยครับ
  • จนแล้วจนรอด ก็ยังไม่มีใครติด กล้อง CCTV
  • มีคนวงในให้ข้อมูลว่า ทำไมผู้ใหญ่ จำนวนหนึ่งชอบส่งลูกไปเรียนเมืองนอก ก็เพราะจะได้โอนเงินค่า คอมมิชชั่น เข้าบัญชีลูกไงครับ
  • น่าจะมีกฎหมายบังคับให้หัวหน้าหน่วยงานต้องแสดงทรัพย์สิน
  • เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ
  • รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมดด้วยครับ สมัยนี้เป็น CEO ก็เลยอิ่มหมีพีมันกันใหญ่
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท