แต่ถ้าย้อนอดีตกันจริงๆ ไก่ทอดที่มีชื่อเสียงของเทพาดั้งเดิมนั้น มีต้นกำเนิดอยู่ที่สถานีรถไฟเทพา จังหวัดสงขลา ที่ผู้โดยสารรถไฟทุกขบวนเมื่อผ่านไปผ่านมายังสถานีแห่งนี้ จะต้องซื้อหาไก่ทอด ที่ห่อเป็นกระทงด้วยใบตอง มีข้าวสวยร้อนๆเคียงอยู่ในกระทงคู่กัน แถมด้วยช้อนอะลูมิเนียมที่เมื่อใช้แล้วสามารถทิ้งได้เลย ราคาที่ขายกันขณะนั้นก็แค่ ๒ บาท และนี่คือตำนานซึ่งเกิดขึ้นเมื่อประมาณ ๓๐ กว่าปีที่ผ่านมา
ทุกวันนี้ที่สถานีรถไฟเทพา ก็ยังคงมีไก่ทอดขายให้กับลูกค้าอยู่อย่างเป็นล่ำเป็นสัน ไม่เพียงแต่เร่ขายอยู่ข้างขบวนรถไฟที่เข้าไปเทียบชานชาลาเท่านั้น หากแต่ยังมีตั้งเป็นเพิงหรือตั้งเป็นร้านอาหารขายกันอยู่ตรงนั้นเป็นประจำทุกวัน
“เจ๊เค่ง” ผู้ยึดอาชีพขายไก่ทอดเทพาขนานแท้ อยู่ตรงหน้าสถานีรถไฟมานานกว่า ๒๐ ปี เปิดเผยให้รู้ว่า ต้นตำรับที่เป็นเจ้าของสูตรไก่ทอดเทพาตัวจริงนั้น มีชื่อเรียกว่า “เจ๊เล็ก” โดยมีเคล็ดลับอยู่ที่ว่าการทอดไก่แบบโบราณดั้งเดิม เขาทอดโดยใช้ฟืนก่อขึ้นในเตาไฟ เพราะจะส่งให้ไก่มีกลิ่นหอม และไฟก็ร้อนแรง
กรรมวิธีที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของเจ๊เล็กเจ้าตำรับ คือต้องคัดเลือกเอาเฉพาะไก่บ้านที่เป็นไก่เลี้ยงเท่านั้น เพราะเนื้อจะนุ่มและแน่น เริ่มแรก เขาจะนำไก่มาถลกหนังออก พร้อมกับควักเครื่องในทั้งหลายทิ้ง โดยคัดเอาเฉพาะเนื้อ และจำเพาะเจาะจงว่าต้องเป็นส่วนอก เนื้อสะโพก หรือไม่ก็เนื้อน่อง กับปีก ที่จะต้องนำมาล้างให้สะอาดเสียก่อน จากนั้นถึงทำการหมักให้เข้ากับน้ำปลาและเกลือ ซึ่งต้องใช้เวลานานถึง ๑ ชั่วโมง เป็นอย่างน้อย
ขั้นตอนต่อมา จัดการนำมาทอดจนได้ที่ แล้วถึงนำออกขายพร้อมข้าวร้อนๆ และปัจจุบันราคาในการขายไก่ทอดชิ้นหนึ่งจะอยู่ที่ ๑๒ บาท
สำหรับเจ๊เค่งที่ได้รับการถ่ายทอดฝีมือมาจากเจ๊เล็ก ยังอาศัยขายให้กับลูกค้าในท้องถิ่นเป็นหลัก แต่บางครั้งก็มีนักท่องเที่ยวขาจรเข้ามาอุดหนุน และยังมีพ่อค้าขาประจำจากเชียงใหม่ สั่งตรงมาวันหนึ่งประมาณ ๓,๐๐๐ ชิ้น โดยจัดส่งให้ทางเครื่องบิน เพื่อขายไก่ทอดร้อนๆให้กับคนเหนือ
ถึงอย่างไรก็ตาม แม่ค้าขายไก่ทอดในอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา สามารถประกอบอาชีพที่ว่านี้ได้อย่างถาวร ด้วยมีรายได้อยู่ที่ รายละ ๓,๐๐๐ - ๕,๐๐๐ บาท ต่อเดือน
แต่ถ้าย้อนอดีตกันจริงๆ ไก่ทอดที่มีชื่อเสียงของเทพาดั้งเดิมนั้น มีต้นกำเนิดอยู่ที่สถานีรถไฟเทพา จังหวัดสงขลา ที่ผู้โดยสารรถไฟทุกขบวนเมื่อผ่านไปผ่านมายังสถานีแห่งนี้ จะต้องซื้อหาไก่ทอด ที่ห่อเป็นกระทงด้วยใบตอง มีข้าวสวยร้อนๆเคียงอยู่ในกระทงคู่กัน แถมด้วยช้อนอะลูมิเนียมที่เมื่อใช้แล้วสามารถทิ้งได้เลย ราคาที่ขายกันขณะนั้นก็แค่ ๒ บาท และนี่คือตำนานซึ่งเกิดขึ้นเมื่อประมาณ ๓๐ กว่าปีที่ผ่านมา
ทุกวันนี้ที่สถานีรถไฟเทพา ก็ยังคงมีไก่ทอดขายให้กับลูกค้าอยู่อย่างเป็นล่ำเป็นสัน ไม่เพียงแต่เร่ขายอยู่ข้างขบวนรถไฟที่เข้าไปเทียบชานชาลาเท่านั้น หากแต่ยังมีตั้งเป็นเพิงหรือตั้งเป็นร้านอาหารขายกันอยู่ตรงนั้นเป็นประจำทุกวัน
“เจ๊เค่ง” ผู้ยึดอาชีพขายไก่ทอดเทพาขนานแท้ อยู่ตรงหน้าสถานีรถไฟมานานกว่า ๒๐ ปี เปิดเผยให้รู้ว่า ต้นตำรับที่เป็นเจ้าของสูตรไก่ทอดเทพาตัวจริงนั้น มีชื่อเรียกว่า “เจ๊เล็ก” โดยมีเคล็ดลับอยู่ที่ว่าการทอดไก่แบบโบราณดั้งเดิม เขาทอดโดยใช้ฟืนก่อขึ้นในเตาไฟ เพราะจะส่งให้ไก่มีกลิ่นหอม และไฟก็ร้อนแรง
กรรมวิธีที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของเจ๊เล็กเจ้าตำรับ คือต้องคัดเลือกเอาเฉพาะไก่บ้านที่เป็นไก่เลี้ยงเท่านั้น เพราะเนื้อจะนุ่มและแน่น เริ่มแรก เขาจะนำไก่มาถลกหนังออก พร้อมกับควักเครื่องในทั้งหลายทิ้ง โดยคัดเอาเฉพาะเนื้อ และจำเพาะเจาะจงว่าต้องเป็นส่วนอก เนื้อสะโพก หรือไม่ก็เนื้อน่อง กับปีก ที่จะต้องนำมาล้างให้สะอาดเสียก่อน จากนั้นถึงทำการหมักให้เข้ากับน้ำปลาและเกลือ ซึ่งต้องใช้เวลานานถึง ๑ ชั่วโมง เป็นอย่างน้อย
ขั้นตอนต่อมา จัดการนำมาทอดจนได้ที่ แล้วถึงนำออกขายพร้อมข้าวร้อนๆ และปัจจุบันราคาในการขายไก่ทอดชิ้นหนึ่งจะอยู่ที่ ๑๒ บาท
สำหรับเจ๊เค่งที่ได้รับการถ่ายทอดฝีมือมาจากเจ๊เล็ก ยังอาศัยขายให้กับลูกค้าในท้องถิ่นเป็นหลัก แต่บางครั้งก็มีนักท่องเที่ยวขาจรเข้ามาอุดหนุน และยังมีพ่อค้าขาประจำจากเชียงใหม่ สั่งตรงมาวันหนึ่งประมาณ ๓,๐๐๐ ชิ้น โดยจัดส่งให้ทางเครื่องบิน เพื่อขายไก่ทอดร้อนๆให้กับคนเหนือ
ถึงอย่างไรก็ตาม แม่ค้าขายไก่ทอดในอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา สามารถประกอบอาชีพที่ว่านี้ได้อย่างถาวร ด้วยมีรายได้อยู่ที่ รายละ ๓,๐๐๐ - ๕,๐๐๐ บาท ต่อเดือน
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย อุทิตย์ สังข์ทอง ใน โรงเรียนเทพา อำเภอเทพา
คำสำคัญ (Tags)#uncategorized
หมายเลขบันทึก: 27471, เขียน: 08 May 2006 @ 13:46 (), แก้ไข: 20 Jun 2012 @ 20:08 (), สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ, อ่าน: คลิก
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก