R2R : ทำไมผู้ป่วยเบาหวานจึง..มีภาวะซึมเศร้า


การเรียกคืน"ความรู้สึกมีคุณค่า"ในตนเอง ให้กลับฟื้นคืนมาอย่างเต็มเปี่ยมในจิตใจของเขา

      จากการประชุมวิชาการเรื่อง การใช้แบบประเมินในงานสุขภาพจิตและจิตเวช ที่จัดขึ้นโดยคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ดังที่ได้เล่าในบันทึกก่อนหน้านี้ใน Blog คนเล่าเรื่อง "จิตเวช" เรื่อง ดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทย นั้นมีประเด็นหนึ่งที่ท่านรองอธิบดีกรมสุขภาพจิตได้พูดถึง คือ เรื่องภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวาน

       ซึ่งประเด็นนี้ในการทำงานของเรา คน"จิตเวช" ได้ให้ความสำคัญและให้การช่วยเหลือ มาอย่างต่อเนื่อง และร่วมเข้ามาพัฒนาเป็นหนึ่งในทีมพัฒนาระบบบริการ DM โรงพยาบาลยโสธร ซึ่งความสำคัญที่เราต้องการดำเนินเพิ่มมากขึ้นกว่าก่อนนี้ คือ หากเมื่อใดที่เราร่วมกันทำงานเป็นทีมในองค์กร ที่มีการมุ่งช่วยเหลือผู้ป่วยเช่นเดียวกัน โดยยึดหลักที่ว่า "ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง" นั้นย่อมจะทำให้ผู้ป่วยที่มารับบริการที่เราได้รับการดูแลอย่างที่เขาพึงได้รับอย่างเต็มที่...ไม่ใช่เพียงแค่..มาอ้อนวอนขอรับบริการ หากแต่เป็นฝ่ายเราต่างหาก"ผู้ให้บริการ"ที่ควรจะเต็มที่ในการให้บริการโดยที่ผู้ป่วยไม่ต้องมาร้องขออะไรมากมาย หากแต่เราสามารถสนองตอบต่อความต้องการของเขาได้เลยอย่างทันท่วงที และเหมาะสม

       ผู้ป่วยเบาหวานนั้น เมื่อทราบว่าตนเองเจ็บป่วย จะทำให้ตนเองรู้สึกท้อแท้เสียกำลังใจได้ ยิ่งเมื่อเวลาผ่านนานไปเขายิ่งจะรู้สึกเบื่อหน่ายเพิ่มมากยิ่งขึ้น รู้สึกท้อแท้ สิ้นหวัง และคิดว่าตนเองเป็นภาระต่อครอบครัว ไหนจะกังวลเรื่องเจ็บป่วยแล้ว ยังต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายอีก หลายร้อยจิปาถะแห่งความไม่สบายใจ สิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้ผู้ป่วยเหล่านี้อึดอัดคับข้องใจ และสูญเสียความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองไป นั่นก็คือ แบบแผนการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหารการกิน การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เหล่านี้เป็นต้น

       ต่างๆเหล่านี้ย่อมส่งผลต่อภาวะสุขภาพจิตของผู้ป่วยอย่างแน่นอน ยิ่งในผู้ป่วยที่มีอายุมากขึ้น ดิฉันได้รับการส่งต่อ case มาจากหอผู้ป่วยหลายราย ที่มีอาการเรื้อรังของโรคเบาหวาน พบว่า ผู้ป่วยเกือบทุกรายจะมีภาวะอารมณ์เศร้าแฝงอยู่ และบางรายแสดงออกชัดเจนเกี่ยวกับภาวะอารมณ์ซึมเศร้า สิ่งสำคัญที่ต้องรีบช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนในผู้ป่วยต่างๆ นี้คือ การเรียกคืน"ความรู้สึกมีคุณค่า"ในตนเอง ให้กลับฟื้นคืนมาอย่างเต็มเปี่ยมในจิตใจของเขา

       และที่สำคัญการมาร่วมทีมพัฒนาระบบบริการ DM ของเราชาวจิตเวชนี้ ก็เพื่ออยากจะเน้นลงไปที่เป้าหมายในเรื่องการส่งเสริมป้องกันภาวะสุขภาพจิตที่อาจเกิดขึ้นในผู้ป่วยเบาหวาน และรวมไปจนถึงการคัดกรองภาวะสุขภาพจิตต่างๆ ร่วมด้วย ก่อนที่ปัญหาต่างๆ จะเกิดขึ้นในระดับรุนแรง เพราะการป้องกันนี้น่าจะได้ผลดีอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าการนั่งคอยตั้งรับ case มากกว่า

 

หมายเลขบันทึก: 27464เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2006 13:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 ตุลาคม 2013 06:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

คุณ"ขจิต" 

ไปร่วมงานครบรอบวันเกิด GotoKnow.org ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยน ลปรร. ประเด็นนี้กับท่านอาจารย์วัลลา...และคุณชายขอบด้วยคะ..เดี๋ยวจะนำมาเล่าสู่กันฟังนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท