ประตูเปลี่ยนนิสัย


พอใครต่อใครที่ผ่านประตูนิสัยก็เปลี่ยน

หอการค้าจังหวัดสงขลา ได้จัดประชุมร่วมกับผู้ประกอบการ และผู้ได้รับผลกระทบการสร้างด่านศุลกากรแห่งใหม่ เนื่องจากด่านศุลกากรอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา เป็นด่านศุลกากรในการส่งออกสินค้าเป็นอันดับต้นๆ รองลงมาจากท่าเรือแหลมฉบัง และเป็นด่านพรมแดนที่ชาวไทย ชาวต่างชาติรวมถึงชาวมาเลเซียใช้ผ่านเข้าออกปริมาณปีละเกือบล้านคน

หากผู้ใดที่เคยผ่านเข้าออก บริเวณดังกล่าวจะเห็นความบกพร่อง ของราชการไทยในอดีต ที่ขาดการเตรียมการและการบริหารจัดการที่ดี ที่ปล่อยปละละเลยให้ชาวบ้านเปิดร้านขายของจนติดชิดด่าน ทำให้เกิดการแออัด เป็นอเมซิ่งหนึ่งของเมืองไทย ที่ด่านศุลกากรและด่านตรวจคนเข้าเมืองหนึ่งในโลกที่มีร้านรวงค้าขายของจนติดประชิดด่าน

มาเลเซียกำลังก่อสร้างด่านศุลกากรใหม่ที่บ้านดุเรียนบุหรง ฝั่งตรงข้าม บ้านประกอบ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา เพื่อเป็นศูนย์กลางของระบบโลจิสติกส์และซัพพลายเชนส์ ของมาเลเซียตอนเหนือ เมือก่อสร้างทางมาเลเซียขีดวง และตั้งกองกำลังทหาร หนึ่งกองพัน เพื่อดูแลรอบบริเวณการก่อสร้างป้องกันการบุกรุกของชาวบ้าน

แต่ฝั่งไทยบริเวณบ้านประกอบทุกวันนี้ยังไม่ได้ทำอะไร เห็นว่าติดขัดการเวณคืนที่ดินยังไม่เรียบร้อย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่ได้ตั้งงบก่อสร้างไว้  ทางผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา (ดร.สนธิ เตชานันท์) ได้รับปากกับทางมาเลเซีย ว่าจะพยายามเปิดด่านให้ได้ แม้ว่าต้องเอาตู้คอนเทนเนอร์ดัดแปลงเป็นสำนักงานชั่วคราวก็จะทำ

ด่านนี้หากเปิดขึ้นมาสินค้าจากปัตตานี ยะลา นราธิวาส จะสามารถส่งออกไปยังท่าเรือบัตเตอร์เวิร์ต และท่าเรือคลัง ของมาเลเซียได้อย่างรวดเร็ว แต่หากทางไทยไม่ได้วางแผน และบริหารจัดการดีๆ ผมกลัวว่าด่านนีจะไป อเมซิ่ง เหมือนด่านสะเดา

เนื่องจากทางกายภาพของด่านสะเดาไม่สามารถจะแก้ไขได้แล้ว ทางการจึงดำริจะเปิดทำการด่านใหม่บริเวณใกล้เคียงกับด่านเดิม โดยกันเนื้อที่ประมาณ 700 ไร่ ตอนนี้ชาวบ้านปลูกยางพาราอยู่ประมาณ 40 ครอบครัว ทางหอการค้าสงขลาจึงขอรับฟังความเห็นของชาวบ้านและผู้ประกอบการ เพื่อทำการผลักดันผ่านทางรัฐบาลต่อไป ความเห็นร่วมทุกฝ่ายสนับสนุนการขยายทำด่านใหม่ แต่ขอให้ชดเชยค่าอาสิน ต้นยางพาราให้ชาวบ้านให้เป็นธรรม

หลังจากรับฟังที่ประชุมเสร็จ ทางคณะกรรมการหอการค้าจังหวัดสงขลาได้เดินทางไปดูบริเวณด่านสะเดา ได้เห็นความคับคั่งของการเข้าออกบริเวณด่าน และได้พบผู้กำกับตรวจคนเข้าเมืองสะเดา ท่านชี้ให้ดูประตูรั้วที่กั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย ท่านเรียกว่าประตูเปลี่ยนนิสัย เพราะคนไทยเมื่อพ้นประตูนี้เข้าไปในมาเลเซีย คนขับรถเวลาอยู่ในเมืองไทยไม่เคยคาดเข็มขัดนิรภัย แต่พอพ้นประตูนี้ออกไปจะคาดเข็มขัดทันที(โทษปรับในมาเลเซีย คิดเป็นเงินไทย ห้าพันบาท) แต่พอกลับเข้าเมืองไทยก็กลับไปเหมือนเดิม รวมทั้งคนมาเลเซียอยู่ในประเทศจะเคารพกฎหมายเต็มที่ แต่พอพ้นประตู้นี้เข้ามานิสัยก็จะเปลี่ยนทำทุกอย่างที่ไม่เคยทำในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการคาดเข็มขัดนิรภัย การทิ้งสิ่งของ(ขยะ)ออกมาจากรถ เป็นอีกอเมซิ่งหนึ่ง ประตูเปลี่ยนนิสัยครับ

สิ่งที่เห็นได้ก็คือการบังคับใช้กฎหมาย ในประเทศมาเลเซีย การบังคับใช้กฎหมายเคร่งครัดกว่าเมืองไทยเรา แล้วเมื่อไรหนอประเทศไทยจะมีการบังคับใช้กฎหมายได้เคร่งครัดบ้าง

หมายเลขบันทึก: 274682เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2009 12:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 09:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

สวัสดีค่ะ

  • วินัยเริ่มที่บ้าน...เห็นจะจริงนะคะ
  • มาอยู่โรงเรียนนิสัยของเด้กมีมากมายหลายอย่าง
  • แต่ก็โชคดีที่ได้สอนโรงเรียนที่มีนักเรียนเริ่มเรียน..อยู่จนจบชั้นการศึกษาภาคบังคับ
  • พวกเราไม่ท้อแท้ที่จะสอนวินัยนักเรียนและปฏิบัติเป็นแบบอย่างค่ะ
  • เชื่อว่า..สักวันหนึ่งข้างหน้าสามัญสำนึกจะเกิดค่ะ
  • ขอขอบพระคุณเรื่องเล่าค่ะ
  • น่าเอาประตูเปลี่ยนนิสัยมาตั้งทุกจังหวัดในประเทศนะคะ
  • อิอิ
  • ขอบพระคุณค่ะ

ขอบคุณ ครูคิม

ขอบคุณ คุณลีลาวดี

ที่แวะมาเยือน

ขอเป็นกำลังใจให้ครูคิม

ไม่ทราบว่าคุณลีลาวดี จะเอาบานผ่านเข้าไทย หรือผ่านเข้ามาเลเซีย ครับ

  • สวัสดีครับคนใต้ฯ
  • คนสมัยก่อนถึงบอกว่า "ทำอะได้ตามใจคือไทยแท้"
  • คนไทยเป็นคนที่รักสนุก ไม่ค่อยชอบระเบียบวินัย
  • ผมมีโอกาสได้ไปประเทศมาเลเซีย ต้องยอมรับการบังคับใช้กฎหมายของเขาเคร่งครัดมากครับ
  • บ้านเราอะไรนิดอะไรหน่อยก็ไม่ได้
  • ลำบาก
  • ขอบคุณครับ
  • รู้สึกเสียใจ
  • ที่ระบบการจัดการบ้านเราสู้เขาไม่ได้
  • แถมระเบียบวินัย
  • เรื่องความสะอาดยังแย่อีก
  • แบบนี้ต้องช่วยกันแก้ไข
  • ต้องเริ่มจากที่บ้าน
  • ไปสู่โรงเรียนครับ

สวัสดีครับ คุณวัชรา ทองหยอด

คงต้องช่วยกันทุกภาคส่วน

ผมเห็นด้วยกับท่านอาจารย์ขจิต

ต้องเริ่มแต่ที่บ้าน

และโรงเรียน

ช่วยกันครับ ช่วยกัน

ท่านอ.ขจิตครับ

ขอเห็นแย้ง

ระบบการจัดการเราสู้เขาได้ แน่ๆ

แต่คน ของเรา ครับ

ที่ไม่ค่อยเอาไหน

เห็นด้วยกับอาจารย์ครับ

ที่ต้องเริ่มสอนคนของเราตั้งแต่อยู่ในท้องครับ

มาชม

มาเชียร์

มีมุมมองน่าสนใจนะครับผม...

  • ชีวิตครับ
  • เขาว่า "ทำอะไรได้ตามใจ คือ ไทยแท้"
  • เอ ต้อง แก้ ดีใหม ครับ
  • ส ที่ ๖ (สันดาน) ต้องปรับ ปรุง เพื่อพัฒนา ครับ

ขอบพระคุณ ท่านอาจารย์ยูมิ ครับ

ผมก็ติดตามงาน ท่านอาจารย์ อยู่ครับ

ท่าน อาจารย์ JJ ครับ

เริ่ม ตรงไหนดีครับ

21 ขอบคุณที่ไปเยี่ยม..การปลูกฝังจิตสำนึกเสำคัญมากค่ะ

ขอบคุณ อ.นงนาท สนธิสุวรรณ ครับ

ทุกวันนี้สอนหนังสือ พยายามปลูกอยู่ครับ

แวะมาขอบคุณอาจารย์ที่ไปเยี่ยมขอรับ..

..กฏระเบียบมีไว้ให้.ละเมิด..ยังใช้ได้กับสังคมไทยขอรับอาจารย์..

นมัสการพระคุณเจ้า

ทำอย่างไร

จะขัดเกลากิเลส

ตัวนี้ให้เบาลงได้บ้าง

เรียน ท่านอาจารย์คนใต้โดยภรรยา

นุชเข้าตามมาดู "ประตูเปลี่ยนนิสัย" เพื่อนำไปปรับปรุง "ตามหา จิตสำนึก" สุดท้ายก็ต้องขึ้นอยู่กับพื้นเพของนิสัย (นิสัยลึกๆ และมีมาอย่างยาวนาน) จริงๆ นะคะเนี่ย

คุณน้องนุชครับ

พื้นเพของนิสัย(นืสัยลึกๆและมีมาอย่างยาวนาน)

เวลาคนไทยผ่านประตูเข้าไปเมืองเขา เราทำตามกฎหมายเขาทุกอย่าง เพราะกลัวเนื่องจากโทษปรับของเขาสูง และเขาบังคับใช้กฎหมายจริงจัง

คนของเขาอยู่ในประเทศ ก็อยู่ในกรอบ แต่พอผ่านประตูนี้มา และเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท