ธรรมฐิต
พระ(มหา) วิชิต ชิต สมถวิล(ฐิตธมฺโม)

ต่อสู้เพื่ออะไรในชีวิต....one for all or two for everything?


ในชีวิตที่ผ่านมาบ่อยครั้ง เรามักถูกปลูกฝังให้เอาชนะเพื่อขึ้นสู่การเป็นเลิศ



นานมาแล้วได้ฟังเทปที่อัดจากการพูดคุยของพี่ศุ บุญเลี้ยงกับแฟนๆ ในงานสัมมนางานหนึ่ง
เป็นมุมมองและความคิดของชายหนุ่มที่ไฟความฝันไม่เคยมอดคนนี้
โดยรู้ว่ากิจกรรมอย่างหนึ่งในชีวิตที่ศุบุ-เลี้ยงชอบมากและเต็มใจที่จะทำอยู่เสมอ 
นั่นก็คือการทำค่าย..ไม่ว่าจะเป็นค่ายเด็กหรือค่ายคนพิการ (หรือค่ายเด็กพิการ)
ในเทปมีคำพูดของเขาอยู่ตอนหนึ่งที่ฟังแล้วชอบมาก  เขาเล่าว่าครั้งหนึ่งเขาพาเด็ก

ไปเข้าค่าย แล้วเขาให้เด็กวิ่งแข่งกัน แต่กติกาคือใครเข้าเส้นชัยเป็นที่สอง-ชนะ

ชายหนุ่มเล่าว่าผลที่เกิดขึ้นก็คือแทนที่จะเอาชนะกัน ด้วยการเป็นคนที่เร็วที่สุด

ที่เข้าเส้นชัยเด็กๆ กลับวิ่งแข่งกันอย่างสนุกสนาน  มีเสียงหัวเราะเฮฮาดังขึ้น

อย่างร่าเริงในหมู่ผู้แข่งขันที่ไม่ต้องการเป็นที่หนึ่ง.........

................

ในชีวิตที่ผ่านมาบ่อยครั้ง เรามักถูกปลูกฝังให้เอาชนะเพื่อขึ้นสู่การเป็นเลิศ

กันมาตลอด เราอยากเรียนให้ได้คะแนนดีที่สุด  เราอยากสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่ดีที่สุด
เราอยากเป็นคนทำงานที่เก่งที่สุด เพื่อให้เจ้านายเห็นว่า เราเยี่ยมที่สุดในบริษัท
เราอยากเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จสูงสุด ฯลฯ
และเมื่อตั้งเป้าอย่างนี้แล้ว เราจึงต้องทำทุกอย่างเพื่อให้บรรลุจุดหมาย
โดยบ่อยครั้งที่เราหลงลืม หรือจงใจมองข้ามมันไปว่า เราได้ทำร้ายใครบ้างหรือเปล่า ?
ไม่ได้หมายความว่า การแข่งเป็นสิ่งที่เลวร้ายไปซะหมด
มันมีความดีอยู่บ้างในตัวของมัน อย่างน้อยก็ทำให้เราไม่เป็นคนเอื่อยเฉื่อย
เดินหายใจไปวันๆ เพียงอยากให้ผู้เข้าแข่งขันทุกคน ได้หยุดคิดสักนิดว่า
เราสามารถที่จะแข่งขันกันโดยไม่ต้องขัดขา ว่าร้าย ผลักหลัง
หรือแอบเหยียบเท้าฝ่ายตรงข้ามได้หรือไม่ ซึ่งคำตอบสำหรับคำถามนี้
คิดว่าได้อยู่แล้ว ทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด ไม่ก่อความเดือดร้อนให้ใคร
ผลลัพธ์ได้แค่ไหนก็แค่นั้น มีไมตรีจิตรที่ดี
สร้างพันธมิตรย่อมดีกว่าก่อศัตรูเป็นแน่
แล้วคุณล่ะคิดอย่างไร one for all or two for everything?

คำสำคัญ (Tags): #one for all or two for everything
หมายเลขบันทึก: 274358เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2009 07:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 14:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

นมัสการค่ะ ท่านธรรมฐิต

  • ศุ บุญเลี้ยงเป็นศิลปินในดวงใจค่ะ..บทบาทของเขากับสังคมในฐานะผู้ให้ ผู้เสียสละมีมาอย่างสม่ำเสมอ
  • พ่อแม่ครอบครัวใดที่ยังสอนให้ลูกเป็น One for all ก็เท่ากับทำร้ายชีวิตลูกไปแล้วครึ่งหนึ่ง
  • จะเป็นที่หนึ่ง ที่สอง แต่ขอให้เป็นคนดีของสังคม ของครอบครัวก็โอเคแล้วค่ะ

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณเรื่องเล่าถึงคุศุ บุญเลี้ยง

ดิฉันชื่นชอบ และคุณศุ บันดาลใจให้ดิฉัน

เป็นผู้เต็มใจให้

เหมือนเพลงของพี่เขา

เพราะนั่นเป็นการสร้างความรู้สึกดีให้แก่กัน

โดยไม่ได้คิดหวังว่าจะได้อะไรตอบแทน

สุขใจที่ได้ทำ

ขอบคุณคุณ ศุ และเจ้าของบันทึกค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท