ซื้ออาหารพร้อมบริโภค...สังเกตป้ายรับรอง


โครงการอาหารสะอาด รสชาติอร่อย

ข่วง มิถุนายน-กรกฎาคม  ศูนย์อนามัยที่ 8 นครสวรรค์ ได้ดำเนินการสุ่มประเมินร้านอาหาร /แผงลอยจำหน่ายอาหาร   ที่มีป้ายรับรอง อาหารสะอาด รสชาติอร่อย  ป้ายแบบนี้ค่ะ

                                            

ถ้าเป็นร้านอาหารก็จะเป็นป้ายขนาดใหญ่  แต่ถ้าเป็นแผงลอยจำหน่ายอาหารจะเป็นป้ายเล็ก  ซึ่งจะต้องมีการสุ่มตรวจสอบคุณภาพของป้ายกันทุกปี  เพื่อผู้บริโภคจะได้ใช้บริการโดยปลอดภัยในระดับหนึ่ง

                กิจกรรมที่ดำเนินการคือ 

               -การตรวจสภาพของร้าน/แผงขายอาหาร  ดูเรื่องสุขลักษณะของกรรมวิธีการทำอาหารตั้งแต่เตรียม  ปรุง  หยิบจับอาหาร  บางร้าน  หน้าร้านดูแต่หลังร้านสกปรกดูไม่ได้  บางคนบอกว่า"หน้าร้านดี  หลังร้านจะอ้วก" 

               -ตรวจอุปกรณ์  พวกจาน ชาม แก้วน้ำ  ฯลฯ ว่าล้างสะอาดหรือไม่

               -ตรวจความสะอาดของอาหาร  ดูเฉพาะเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย  จะเก็บตัวอย่างอาหารพร้อมบริโภค 5 ตัวอย่าง

               -ตรวจมือผู้ขาย  ผู้เสริฟ  ว่าขณะดำเนินกิจกรรมขายอาหาร  มือสะอาดหรือไม่

การตรวจตัวอย่างดังกล่าวใช้น้ำยา SI-2 สีม่วงที่เห็นในภาพ  ซึ่งการอ่านผลต้องรอเวลา 17-24 ชั่วโมง

                                            

นอกจากนี้  หากเจอร้านก๋วยเตี๋ยว  เราจะแนะนำให้ใช้หม้อที่ไร้สารตะกั่ว  สังเกตรอยเชื่อมจะเรียบ 

ท่านที่ชอบก๋วยเตี๋ยว  ลองสังเกตดูร้านก๋วยเตี๋ยวร้านโปรด  ว่าใช้หม้อแบบใด  ถ้าเป็นแบบเชื่อมด้วยตะกั่ว  ขอบอกว่าถ้าได้รับตะกั่วบ่อย ๆ จะไม่ดีต่อสุขภาพ  ต่อสมอง โดยเฉพาะเด็กๆ นักเรียน 

                

                 อาหารประเภทข้าวมันไก่  ข้าวหมูแดง  จะแนะนำให้แม่ค้าใช้อุปกรณ์ในการหยิบจับอาหารหรือใส่ถุงมือพลาสติกใส  ในการหยิบหมูแดง ไก่ต้ม  ห้ามใช้มือหยิบโดยตรงเด็ดขาด

                ซึ่งแม่ค้าหลายคนไม่ทำตาม  แถมยังต่อต้านเจ้าหน้าที่   ไม่อยากได้ป้าย  ทั้งนี้เพราะขายดีมาก  ผู้บริโภคให้การสนับสนุน  จึงเป็นปัญหาอุปสรรคของการพัฒนา   ซึ่งก็ต้องพัฒนากันต่อไปโดย

 

                                        

                  อาหารปรุงสำเร็จ  พร้อมบริโภคต่าง ๆ  โดยเฉพาะอาหารที่เป็นที่นิยมสั่งซื้อกลับบ้านเช่นอาหารใส่กล่องโฟม  พวกข้าวผัด  ผัดกะเพรา  เท่าที่ไปตรวจจะพบว่าทุกร้านมีคนมาสั่งตลอดเวลา  ทุกกลุ่มไม่ว่าจะเป็นชาวบ้าน  ชาวไร่ชาวนา  และหน่วยงานราชการ  ซึ่งเจ้าหน้าที่จะแนะนำให้แม่ค้ารองพลาสติกก่อนตักอาหารร้อนๆใส่  และปิดด้วยพลาสติกตอนปิดกล่อง  ไม่งั้นจะเสี่ยงต่อการได้รับสาร    สไตรีนที่ก่อมะเร็ง   ที่จริงถ้านึกถึงเรื่องโลกร้อนไม่อยากสนับสนุนการใช้โฟม 

                  ทั้งนี้กรมอนามัย ส่งเสริมให้คนไทยสุขภาพดี  อยากให้ประชาชนผู้บริโภคได้รับอาหารที่มีคุณค่า สะอาดปลอดภัยก่อนส่งถึงปาก  เข้าสู่ปาก  ซึ่งปากเปรียบเสมือนประตูสู่สุขภาพค่ะ 

                 ดังนั้นการเลือกซื้ออาหารจากร้าน/แผงลอยขายอาหาร  ใช้บริการร้านที่มีป้ายรับรองอาหารสะอาด รสชาติอร่อย  จะดีกว่า 

                 และช่วงนี้รณรงค์  "กินร้อน  ช้อนกลาง  ล้างมือ"  ขอถือโอกาสฝากทุกคนและคุณครูที่ได้อ่านเรื่องนี้ได้นำไปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในโรงเรียนด้วยนะคะ

 

 

หมายเลขบันทึก: 273953เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2009 13:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • พี่ณา ลองดูตามวันพระในวัดบ้างนะคะ ไปวัดนครสวรรค์มา แม่ค้าที่ทำอาหารขายในวัดใส่กล่องโมแต่ไม่มีพลาสติกรองเลย
  • ฝากดูให้ด้วยนะคะ สงสารพระคะ

จ๊ะ คุณนายตั้งต้องไปเป็นเพื่อนด้วยนะเจ้าคะ กลัวหัวแตก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท