3 ปัจจัยที่ทำให้มีความสุขในชีวิต


 

...

ศูนย์วิจัยพิว (Pew Research Center) พบว่า ไม่ ว่าคนเราจะมีอายุเท่าไร ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้คนเรามีความสุข 3 ประการได้แก่

  • (1). good health = สุขภาพดี
  • (2). stalwart friends = มีเพื่อนที่ซื่อสัตย์ ไว้ใจได้หลายคน 
  • (3). financial security = ความมั่นคงทางการเงิน เช่น มีงานทำ ไม่มีหนี้หรือมีหนี้ที่ไม่เกินกำลัง ฯลฯ

...

การศึกษาใหม่พบว่า

  • คนเรามีความสุข "สมวัย" ได้ทุกช่วงอายุ ไม่ได้มีความสุขเฉพาะวัยใดวัยหนึ่ง
  • คนที่มีสุขภาพดีเยี่ยม (excellent) มีความสุขมากกว่าคนที่มีสุขภาพแย่กว่า 25%

...

  • การเตรียมพร้อมในการใช้ชีวิตหลังเกษียณงาน เช่น การอยู่แบบพอเพียง การไม่มีหนี้ หรือมีหนี้ไม่เกินตัว (กำลัง), การออม การประกันชีวิตเพื่อสะสมทรัพย์และลดภาษี ฯลฯ เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับความมั่นคงทางการเงิน ซึ่งทำให้คนเรามีความสุข
  • การมีเพื่อนที่ดีพอสมควร และไว้ใจได้มีผลต่อความสุขของคนเรา ซึ่งการจะมีเพื่อนดีได้นั้น... ขั้นแรกคือ เราต้องทำตัวของเราให้ดี และคู่ควรกับคนดี เพราะคนดีมักจะเลือกคบคน โดยมากจะเลือกคบคนดีด้วยกันเท่านั้น

...

คนที่มีอายุมากขึ้นมักจะมีเพื่อน และญาติสนิทมิตรสหายน้อยลง... ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สุขภาพแย่ลง

ยุทธศาสตร์สำคัญที่จะทำให้คนเรามีความสุขไปตลอดชีวิต คือ การไม่ทอดทิ้ง และจริงใจกับเพื่อนดีๆ - ญาติสนิทมิตรสหายที่ดี

...

ส่วนญาติที่ไม่ดี (อาจารย์หมอท่านหนึ่งกล่าวว่า ญาติที่ไม่ดีมักจะทำตัวคล้าย "พยาธิ") นั้นอนุเคราะห์ (ช่วยเหลือตามสมควร) ได้,

แต่ไม่ควรไว้วางใจ และไม่ควรเข้าไปใกล้ชิด เพราะอาจจะถูก (พยาธิ) ปอกลอกจนหมดตัว เป็นทุกข์ระทมไปตลอดชีวิตที่เหลือ

...

เรื่องที่สำคัญมากในการใช้ชีวิตให้มีความสุข คือ อยู่กับปัจจุบัน ไม่ฝันกลางวัน และไม่ทำการคาดหวัง (expectation) ในเรื่องที่เกินจริงมากเกินไป

ตัวอย่างของคนสูงอายุที่แสนทุกข์ คือ คาดหวังว่า ลูกๆ หลานๆ ทุกคนจะต้องดี (so good) และ "ดีดังใจ (as expected)" ซึ่งเกือบไม่มีทางเป็นไปได้ในชีวิตจริง

...

วิธีที่น่าจะดีคือ ทำตัวของเราให้ดี ให้โอกาสคนรอบข้าง และไม่คาดหวังอะไรกับคนอื่นมากเกินไป

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

ศัพท์ที่น่าสนใจ

  • key factors = ปัจจัยสำคัญ สาเหตุสำคัญ (ที่จะทำให้ประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว)
  • key = กุญแจ
  • factors = เหตุ ปัจจัย (ปัจจัย = เหตุหลายๆ อย่าง)

... 

 > Thank nytimes

ที่มา                                                                      

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า >  > 5 กรกฎาคม 2552.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.

หมายเลขบันทึก: 273662เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2009 09:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 23:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท