เพลงชาวบ้าน


เพลงชาวบ้าน

เพลงชาวบ้าน

 

เพลงชาวบ้านหรือเพลงพื้นเมือง คือเพลงประจำท้องถิ่นซึ่งแต่ละท้องถิ่นคิดประดิษฐ์ เนื้อร้องและทำนองขึ้นเอง

         ลักษณะภาษาของเพลงชาวบ้านนั้น จะใช้ภาษาถิ่น และใช้คำสั้นๆ ง่ายๆ มุ่งความไพเราะทางเสียง ใช้จังหวะรุกเร้าเพื่อความสนุกสนานเป็นสำคัญ เนื้อความก็เกี่ยวกับสิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน บางทีก็เป็นลักษณะเกี้ยวพาราสีกันบ้าง

เพลงชาวบ้านแบ่งเป็น 3 ประเภทคือ

1.  เพลงพิธีกรรม

          คือเพลงที่ใช้ร้องในพิธีใดพิธีหนึ่ง เช่นพิธีเกี่ยวกับการเกิด การบวช หรือการทำบุญตามประเพณี

2.  เพลงกล่อมเด็ก

          คือเพลงที่ใช้เห่กล่อมทารก เพื่อให้เด็กเกิดความเพลิดเพลินหลับง่าย ถ้อยคำภาษาจะเป็นภาษาง่ายๆ สั้นๆ ทำนองร้องก็ง่ายๆ เข้าใจง่าย

3.  เพลงร้องเล่น

          คือเพลงที่ชาวบ้านใช้ร้องเล่นในยามว่างจากภารกิจการงาน เพื่อความสนุกสนาน ผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อย หรืออาจจะใช้ร้องเล่นในเทศกาลต่างๆ ตลอดจนในโอกาสที่ผู้คนมาชุมนุมกันมากๆ

          ลักษณะของภาษา  จะเป็นภาษาพูดของท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งบางคำก็ยากแก่ความเข้าใจ โดยที่มุ่งในเรื่องเสียงมากกว่าความหมาย และให้ความสนุกสนานในด้านจังหวะ ทำนอง และเนื้อร้อง ส่วนมากจะเป็นไปในทำนองเกี้ยวพาราสีกันเพื่อความครึกครื้นเป็นสำคัญ ส่วนที่สำคัญ คือ สัมผัสคล้องจองกัน อันเป็นลักษณะความเป็นเจ้าบทเจ้ากลอนของคนไทย

คำสำคัญ (Tags): #เพลงชาวบ้าน
หมายเลขบันทึก: 272779เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2009 13:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 16:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท