อุโมงค์ใต้ดินพม่า อาจมีถึง 800 แห่ง?


 

...

 [ DVB ]

ภาพที่ 1: ทางเข้าอุโมงค์รัฐฉาน (สะกด "สยาม" ออกเสียง "ชาน" หรือรัฐไทยใหญ่) 22 สิงหาคม 2548 น่าทึ่งมากๆ ที่เงียบได้ถึง 5 ปี > Thank [ DVB ]

...

 [ DVB ]

ภาพที่ 2: ทางเข้าอุโมงค์ตองจี (Taunggyi = ภูเขา + ใหญ่) 8 กุมภาพันธ์ 2547 > Thank [ DVB ]

...................................................................................................

สำนักข่าว DVB รายงานว่า เกาหลีเหนือและผู้เชี่ยวชาญต่างชาติอีกหลายชุดให้คำแนะนำพม่าในการสร้างเครือข่ายอุโมงค์ใต้ดินทั่วประเทศประมาณ 800 แห่ง

อุโมงค์เหล่านี้เริ่มสร้างมาตั้งแต่ปี 1996 หรือ พ.ศ. 2539

...

ภาพถ่ายที่ปยินมะนาร์ในเดือนมีนาคม 2549 (Pyinmanar Taung Nyo, dated 29 May 2006) แสดงให้เห็นว่า ที่ปรึกษาเกาหลีเหนือช่วยพม่าสร้าง

ข้าราชการระดับอาวุโสในพม่าหายตัวไปหลังจากมีการตีพิมพ์ภาพอุโมงค์พม่าในวันที่ 8 มิถุนายน (Yale Global Online on 8 June)

...

งานนี้คนใกล้ชิดกับท่านนายพลขิ่น ยุ้นต์ (associates of former intelligence chief Lieutenant General Khin Nyunt) ตกเป็นผู้ต้องสงสัย หรือ "แพะ" ตามฟอร์ม

ทางการพม่าอ้างว่า นี่เป็นส่วนหนึ่งของการติดตั้งเครือข่ายเส้นใยนำแสง (a fibre optic cable installation project)

...

ขนาดอุโมงค์ใหญ่พอสำหรับรถบรรทุกเข้า-ออกได้ ภายในมีที่เก็บอาหาร-น้ำ, อาวุธ, และห้องแยก ซึ่งอาจจุคนได้ถึง 600 คนนานหลายเดือน

เอกสารที่หลุดรอดออกมาระบุว่า แผนการขั้นต่อไป คือ การติดตั้งจรวดขนาดใหญ่ และการสื่อสารผ่านดาวเทียมจากภายในอุโมงค์

...

งบประมาณด้านการทหารคิดเป็น 40% ของทั้งหมด ทำให้การสร้างอุโมงค์ที่ต่อเนื่อง ยาวนานถึง 13 ปีมาแล้วน่าจะมีค่านับพันล้านดอลลาร์ หรือหลายหมื่นหลายแสนล้านบาทขึ้นไป

มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า ราคาเชื้อเพลิงที่พุ่งสูงขึ้นในเดือนสิงหาคม 2550 น่าจะมีส่วนกระตุ้นให้มีการทุ่มทุนสร้างเครือข่ายอุโมงค์มากขึ้น (สำหรับเป็น 'war room' หรือศูนย์บัญชาการรบ หรือเป็นที่หลบภัยกรณีมีการประท้วง หรือต่างชาติโจมตี)

...

รายได้จากการขายแก๊สธรรมชาติให้จีนในเดือนเมษายน 2552 มีส่วนเพิ่มงบฯ ลงทุนด้านนี้มากขึ้น

สายลับเกาหลีเหนือที่วางระเบิดฆ่าผู้แทนรัฐบาลเกาหลีใต้ถูกจับได้ในปี 1983 หรือ พ.ศ. 2523 ทว่า... ผลประโยชน์ที่ลงตัวก็ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศนี้ดีขึ้นเรื่อยๆ

...

เกาหลีเหนือมีอาวุธ และความเชี่ยวชาญในการสร้างอุโมงค์ ส่วนพม่ามีข้าว ยางพารา และทองคำ

ทั้งคู่ไม่ไว้ใจสหรัฐฯ-ชาติตะวันตก และขาดแคลนเงินตราต่างประเทศคล้ายๆ กัน

...

อาจารย์เบอร์ทิล ลินท์เนอร์ (Bertil Lintner) ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีเหนือ-พม่า ให้ข้อคิดเห็นไว้หลายด้าน

มีข่าวลือว่า พม่ากำลังขุดแร่ยูเรเนียม แต่ยังไม่มีหลักฐาน (ถ้าขุดจริง จำเป็นต้องส่งแร่ออกไปทำให้มี Uranium-235 มากพอนอกประเทศ) ซึ่งเรื่องนี้น่าจะตรวจสอบจากภาพถ่ายดาวเทียมได้ เนื่องจากเทคโนโลยีนี้ทำได้ยากกว่าการเตรียมแร่จากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มาก

...

 

การที่พม่าเก็บเรื่องนี้เป็นความลับได้นานบ่งชี้ถึงความมีระเบียบวินัยของทหารพม่า... หรือบางทีพม่าอาจจะใช้วิธีเดียวกับการสร้างทัชมาฮาล หรือพระมหาเจดีย์อนันดาในพุกาม (Ananda pagoda, Pagan)

ธรรมเนียมการสร้างอันอลังการของกษัตริย์แต่โบราณมีอยู่ว่า ให้เก็บนายช่างใหญ่ไว้ (กักบริเวณ) เลี้ยงดูให้ดี, "เสร็จนาแล้วฆ่าควาย" คือ ควักลูกตา ตัดมือ หรือตัดคอ, ชะตากรรมนายช่างใหญ่หลังเสร็จนาอาจจะคล้ายๆ กัน เพราะฉะนั้นถ้านายช่างอยากหายใจต่อไป... อย่าสร้างให้เสร็จ

...

คนไทยไม่ควรมองพม่าในแง่ร้าย... ควรมองพม่าในแง่ดี เช่น นี่อาจเป็นเครือข่ายเส้นใยนำแสง (fiber optic) จริงๆ ก็ได้ ฯลฯ

ถ้าจริง... พม่าก็พัฒนาไปไกลกว่าไทยมาก เพราะอินเตอร์เน็ตไทยนั้นบ่อยครั้งเต่าเรียกพี่ ('intertle' = 'internet' + 'turtle' = อินเตอร์เน็ต + เต่า = อินเตอร์เต่า) บางทีไทยน่าจะขอเช่าใช้บริการสายใยนำแสงพม่า เพื่อให้อินเตอร์เน็ตไทยเร็วขึ้นหน่อย

...

 

ภาพข่าวนี้มาจาก DVB ซึ่งเป็นฝ่ายต่อต้านรัฐบาลพม่า อาจจะเป็นการใส่ร้ายป้ายสี หรือทำขึ้นปลอมก็ได้

ทางที่ดีคือ อย่าเพิ่งเชื่อ แต่ควรหาข้อมูล ตรวจสอบข้อเท็จจริง หาพิกัดอุโมงค์ให้ได้ ซึ่งทำได้ไม่ยากจากภาพถ่ายดาวเทียมย้อนหลัง

... 

พม่าเป็นประเทศที่ตั้งอยู่บนรอยต่อเปลือกโลก ประวัติศาสตร์สอนเราว่า พุกาม ซึ่งอยู่ใกล้ๆ ปยินมะนาร์ (เมืองหลวงใหม่) เกิดแผ่นดินไหวมาแล้วหลายครั้ง

เร็วๆ นี้มีแผ่นดินไหวหลายครั้งในจีน ทำให้มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดแผ่นดินไหวครั้งต่อไปในพม่า ไม่ว่ายุคไหนๆ อะไรๆ ก็เกิดขึ้นได้ ถ้าเหตุและปัจจัยถึงความพร้อม โดยเฉพาะกัมมปัจจัย

...

ถ้าพม่าจะสร้างอุโมงค์... ควรคำนวณเผื่อแผ่นดินไหวไว้ด้วย จะได้ปลอดภัย เผื่อจะได้ให้ไทยเช่าใช้บริการสายใยนำแสงบ้าง

คนไทยควรมองพม่าในด้านดี ไม่ใช่มองแต่ด้านร้าย... พม่ากับไทยพึ่งพาอาศัยกันมากกว่าชาติอื่นๆ ในอาเซียน

... 

ไทยพึ่งพม่าในด้านพลังงาน แรงงาน (คนไทยมีลูกน้อย พม่าลูกดก แรงดี ส่งออกแรงงานได้มาก) และการค้าขาย, พม่าเองก็พึ่งนักท่องเที่ยวจากไทย พึ่งการค้าขาย และอาศัยรายได้จากแรงงานส่งออก

ไทยไม่ควรมองพม่าเป็นศัตรู ควรมองพม่าเป็นมิตรเป็นเพื่อนบ้าน ควรทำความเข้าใจ ไม่ใช่อ่านแต่ประวัติศาสตร์แบบเดิมๆ แล้วไม่พยายามเข้าใจพม่า

...

ขอให้ชาวพม่าและชาวไทยมีความสุข มีความเจริญ และมีอินเตอร์เน็ตความไวสูงใช้ ไม่ให้เต่าเรียกอินเตอร์เน็ตว่าพี่อีกต่อไป

ถ้าพม่า-ไทยร่วมมือกัน... สองประเทศนี้จะเป็นทางผ่านการค้า (transit) และการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียนได้ภายใน 5-10 ปี

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

... 

 > Thank DVB

ที่มา                                                                      

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า >   > 28 มิถุนายน 2552.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.

หมายเลขบันทึก: 271849เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2009 02:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 23:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท