จากงานในห้องเรียนสู่การนำเสนอที่กว้างขึ้น


วาทกรรมกับการสร้างสตรี

วาทกรรมกำหนดสตรีในอุดมคติกับการสร้างมาตรฐานความเป็นสตรี

 

มนุษย์มีความรู้สึกพื้นฐานว่าด้วยเรื่องของความสวยงามทั้งสิ้น  ความงามเป็นปัจจัยให้มนุษย์เกิดความต้องการที่จะคอบครองสิ่งสวยงามเหล่านั้น  แม้แต่ในการจินตนาการ  การคิดที่ถูกถ่ายทอดออกมาในรูปแบบต่างๆ  ความงามยังมีอิทธิพลไม่เปลี่ยนแปลง  หากวรรณคดีที่สร้างขึ้นเกิดจากการปล่อยสิ่งที่สะสมอยู่ในตัวของผู้สร้างแล้ว  ความงามจึงถูกปล่อยให้ออกสู่ภายนอกเช่นกัน  แสดงให้เห็นถึงความต้องการหรือเรียกร้องในความงามเหล่านั้น  ประกอบกับการที่นักประพันธ์ล้วนแต่เป็นชาย  การกำหนดความงามจึงเน้นหนักไปที่สตรีเพศ  และหากวรรณคดีเป็นเครื่องขัดเกลาจิตใจจริง  วรรณคดีที่ชายสร้างจึงกำหนดให้หญิงเป็นตามที่ตนต้องการ

                ในมิติของวรรณคดีไม่มีอะไรแตกต่างไปจากโลกแห่งความเป็นจริง  ทั้งในอดีตและปัจจุบัน  เมื่อเราศึกษาลักษณะตัวละครอย่างละเอียดจะพบว่า  ตัวละครที่ถูกสร้างโดยกวีนั้นมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันหรือเรียกว่า  แบบตัวละคร  คำว่าแบบในที่นี้ผู้เขียนนำมาจากคำว่า  แบบเรื่อง  ที่ใช้ในการศึกษานิทานว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร  ท้ายที่สุดก็พบว่านิทานเรื่องนี้เหมือนนิทานเรื่องนี้  เพียงแต่เปลี่ยนแปลงรายละเอียดเล็กน้อย  เช่นชื่อตัวละคร  สถานที่  เหตุการณ์  แล้วเกิดเป็นนิทานเรื่องใหม่หรืออาจจะเรียกว่าการ  ลอกแบบ  เรียนแบบ  หรือการ  ลอกการบ้าน  ส่งครู  แบบตัวละครจึงไม่ต่างอะไรกับการลอกแบบจากต้นฉบับเดียวกัน  หรือความต้องการของผู้สร้าง(กวีชาย)เช่นเดียวกัน

                วาทกรรมความงามสร้างมาตรฐานของความเป็นสตรีเอาไว้อย่างไม่เท่าเทียมทางเพศ  ในกรณีนี้ผู้เขียนได้ใช้ตัวละครเป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิเคราะห์จำนวน  ๑๐  ตัวละครเอก  ดังนี้  นางสีดา  นางสาวิตรี  นางศกุนตลา  นางมัทธนา  นางทมยันตี  นางอุษา  นางบุษบา  นางรจนา  นางมโนราห์  และนางเปอร์เซีย  ซึ่งนางดังกล่าวล้านแต่เป็นนางเอกของเรื่องทั้งสิ้น  กวีใช้วาทกรรมกำหนดลักษณะที่ดีของสตรีผ่านทางตัวบทวรรณกรรมโดยที่ไม่มีสิ่งที่แสดงให้เรารับรู้  แต่เมื่อพิจารณาให้ถ่องแท้กับพบว่าเหตุที่ตัวละครถูกสร้างให้เป็นเช่นนั้นย่อมมี  นัย สำคัญที่ชวนให้พิจารณาไขความปริศนาที่แอบแฝงอยู่ในตัวหนังสื่อผ่านเรื่องเหล่านั้น

 

ภาพสตรี  :  เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงไป

                วาทกรรมความงามเป็นหัวใจสำคัญของสตรี  จากการศึกษาตัวละครเอกทั้งสิบตัว  พบว่าได้ว่าไม่มีตัวละครใดที่ถูกสร้างด้วยความอัปลักษณ์  นอกจากการพูดถึงความสวยงามที่เห็นเพียงครั้งแรกก็หลงใหล  บ้างเป็นลม  บ้างขาดสติ  บ้างหลงรัก  สตรีเหล่านี้ถูกสร้างให้มีลักษณะที่สวยงามราวกับเป็นนางสวรรค์หรือนางฟ้าอัปสร  สะท้อนให้เห็นว่าความงามของรูปลักษณ์มีความสำคัญที่ผู้สร้างใช้เป็นประเด็นหลักในการสร้าง  ความงามในตัวละครจึงเกิดขึ้น  ภาพของสตรีจึงรับใช้ความต้องการของบุรุษเพศ  สตรีที่รูปร่างไม่สวยงามจึงไม่ใช่สตรีในอุดมคติ  แม้แต่ภาพของตัวโกงผู้สร้างยังให้สตรีเหล่านั้นมีรูปร่างที่งดงาม  แต่ตัวละครสองประเภทนี้จะแตกต่างกันออกไปที่ลักษณะภายในหรือรูปร่างภายใน  อันเป็นเรื่องของจิตใจที่มีความละเอียดอ่อน  สตรีจึงไม่ใช่สตรีที่งามเพียงรูปกายต้องงามทั้งภายนอกจรดภายในจึงจะได้ชื่อว่าสตรีที่สวยงาม  สมบูรณ์พร้อมด้วยธรรมเนียมสตรี

                ลักษณะของสตรีที่งามรูปร่างผู้สร้างได้บรรยายไว้ในบทประพันธ์ที่เรียกว่าบทชมโฉม  ซึ่งกล่าวเน้นความงามแห่งรูปโฉมดังนี้

 

                                                เปิดขึ้นเห็นโฉมพระธิดา                                                  งามยิ่งนางฟ้าในสวรรค์

                                นรลักษณ์พักตราวิลาวัณย์                                                  รับขวัญแล้วอุ้มนางเทวี

                                                                                                                                                                                                (บทชมโฉมนางสีดา)

 

                                                พิศพักตร์ผ่องดังจันทร                                                       พิศขนงโก่งงอนดังคันศิลป์

                                พิศเนตรดั่งเนตรมฤคิน                                                                      พิศทนต์ดั่งนิลอันเรียบราย

                                                พิศโอษฐ์ดั่งหนึ่งจะแย้มสรวล                          พิศนวลดั่งศรีมณีฉาย

                                พิศปรางดั่งปรางทองพราย                                                                พิศกรรณงามคล้ายบุษบง

                                                พิศจุไรดั่งหนึ่งแกล้งวาด                                   พิศอวิลาสดั่งคอหงส์

                                พิศกรดั่งวงคชาพงศ์                                                                           พิศทรงดั่งเทพกินรา

                                                พิศถันดังปทุมเกสร                                                             พิศเอวอ่อนดั่งเลขา

                                พิศผิวผิวผ่องดั่งทองทา                                                                      พิศจริตกิริยาก็จับใจ

                                                                                                                                                                                (บทชมโฉมนางสีดา)

 

                                                นี่ฤๅบุตรีพระดาบส                                                             งามหมดหาใครจะเปรียบได้

                                อนิจจาบิดาท่านแสร้งใช้                                                    มารดต้นไม้พรวนดิน

                                                ดูผิวสีนวลละอองอ่อน                                                       มะลิซ้อนดำไปหมดสิ้น

                                สองเนตรงามกว่ามฤคิน                                                    นางนี้เป็นปิ่นโลกา

                                                งามโอษฐ์ดั่งใบไม้อ่อน                                                      งามกรดั่งลายเลขา

                                งามรูปเลอสรรขวัญฟ้า                                                                       งามยิ่งบุปผาเบ่งบาน

                                                                                                                                                                                (บทชมโฉมนางศกุนตลา)

 

                                                ราชะอันพระธิดาไท้                                                           รูปเห็นแล้วพอใจเป็นหนักหนา

                                ผิวพักตร์ผ่องพรรณดั่งจันทรา                                           ลักขณาราวพระศรีอวตาร

                                                กิริยามารยาทพิลาศล้ำ                                                         ทั้งวาจาถ้อยคำก็อ่อนหวาน

                                อีกทรงธรรมกำกับในสันดาน                                           เห็นเป็นยอดนงคราญในโลกนี้

                                                                                                                                                                                (บทชมโฉมนางสาวิตรี)

 

                                                เมิลมุขไขแข่ง                                                                                       รุจิเรขเดือนวรรณ

                                แจ่มจันอับพรรณ                                                                                 ศศิรัชนิเรืองรอง

                                                นวยน้อมขนงก่ง                                                                  กลกงกุทัณฑ์ทอง

                                ไรโรมภมูปอง                                                                                      กลปีกภมรมัน

                                                ศรเนตรเสมอศร                                                                  นิลเนตรยองยรร

                                ยงยลยับพรรณ                                                                                     ระลงกามกามา

                                                ..........................                                                                             ........................

                                มือแมนประจงปอง                                                                             อรองคองคกามฯ

                                                                                                                                                                                (บทชมโฉมนางมโนราห์)

 

                จากตัวอย่างบทประพันธ์ที่กล่าวมาข้างต้นพบว่า  สตรีที่มีรูปงามต้องมีลักษณะต่างๆ  เช่น  มีผิวสีนวลดังสีของพระจันทร์  มีตาคิ้วดำงามดังตากวาง  ผมงามดำเป็นประกาย  จมูกคม  ปาก  แขน  มือ  ทรวดทรงเล็ก  หุ่นบางร่างน้อย  เล็บยาวสะอาด  สิ่งเหล่านี้ต้องงามประกอบกันทั้งสิ้น  หาเป็นความงามแต่เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง  ในบทประพันธ์ข้างต้นยังได้กล่าวถึงความงามของนมสตรี  การกล่าวถึงสิ่งดังกล่าวแสดงให้เห็นความต้องการของผู้สร้าง(ที่มีแต่ผู้ชาย)ใช้สตรีเป็นเครื่องตอบสนองความต้องการบางอย่างทางเพศ  หาได้เกิดจากการเสริมสร้างให้สตรีน่าชื่นชมเท่านั้น  นมอาจจะเป็นตัวแทนของวาทกรรมทางเพศอย่างหนึ่งที่แสดงให้ทราบถึงความต้องการหรือรสนิยมทางเพศของผู้สร้าง  ดังที่ได้กล่าวไว้แต่ตอนต้นว่า  หากว่าการสร้างวรรณกรรมเป็นการปล่อยสิ่งที่กำกับอยู่ภายในของผู้สร้างออกมา  การกล่าวถึงปัจจัยเรื่องนมจึงนับว่ากวีได้ปล่อยความต้องการทางเพศออกมา  อาจเป็นเพราะตนเองไม่สามารถที่จะหาภารยาที่สวยงามเหมือนนางสนมได้  โดยปกติแล้วผู้สร้าง(กวี)เป็นผู้ที่อยู่ในรั้วในวัง  พบเห็นนางสนมกำนัลอยู่เป็นนิจ  จึงเปรียบกับภารยาของตนจึงต้องระบายความต้องการดังกล่าวออกมา  การจะเป็นหญิงงามได้ไม่ใช่การมีรูปร่างงดงาม ในบทประพันธ์ได้กล่าวถึงการมีกิริยามารยาท  ความมีธรรมะในตัวละครเหล่านั้นปรากฏอยู่  แสดงว่านอกจากลักษณะความงามภายนอกแล้วยังมีความงามที่อยู่ภายในจิตใจ(ลักษณะภายใน)ของตัวละคร  อันประกอบด้วยลักษณะนิสัย  พฤติกรรม  การประพฤติปฏิบัติตนรวมอยู่ด้วย  การจะเป็นสตรีจึงต้องพร้อมในองค์ประกอบต่างๆ เหล่านั้น

                การสร้างให้ตัวละครมีลักษณะภายในที่งดงาม  อาจมองว่าเป็นสิ่งที่ผู้สร้างใช้เสริมภาพของตัวละครสตรีให้มีความน่าชื่นชมมากยิ่งขึ้น  แต่หากวิเคราะห์ในทางตรงกันข้ามจะพบว่ามี  นัยบางอย่างซ่อนอยู่  ความจริงบุรุษย่อมมีความมักมาก  ดังที่เขาเหล่านั้นได้ถ่ายทอดออกมาในตัวละครเอกที่เป็นพระเอก  พระเอกสามารถมีภรรยาได้อย่างไม่กำจัดจำนวน  ในขณะที่สตรีเพศต้องมีศีล  มีธรรมะ  นั่งก็คือการสร้างอำนาจหรือกฎเกณฑ์ในการควบคุมสตรีไม่ให้กระทำการเทียบเท่าตน  การสร้างเรื่องศีลธรรมจึงถือว่าเป็นเครื่องมือหรือวาทกรรมทางเพศที่บุรุษใช้บังคับกับสตรีเพศมากกว่าการมุ่งเสริมภาพความเป็นสตรีที่งดงาม  ดังที่ได้กล่าวมาแล้วเบื้องต้นในเรื่องผู้สร้างเขียนถึงเรื่องความงามของนม  นั่นคือทุกอย่างมุ่งรับใช้ผู้สร้างตัวละคร

 

การเข้าสู่ตำแหน่งตัวละครเอก  (นางเอก)

                ตัวละครเอกในวรรณคดีไทยที่เป็นสตรี  นอกจากจะมีรูปร่างงดงามเป็นทุนแล้ว  การได้เป็นนางเอกต้องมีลักษณะที่ผ่านเกณฑ์ในเรื่องต่างๆ  นานัปการ  จากการศึกษาพบว่ามีอยู่หลายลักษณะ  ที่ไม่สามารถนำมากล่าวถึงได้ทั้งหมดอย่างละเอียด  จึงขอนำเสนอโดยสรุป 

                นอกจากความงามที่ได้อธิบายแต่ต้นแล้ว  ตัวละครเอก(นางเอก)ทุกตัวจะมีลักษณะต่างๆ  คล้ายกับตัวละครเอก(พระเอก)  เช่นการมีสติปัญญา  มีความกล้าหาญ  มีความเป็นผู้นำ  แต่อย่างไรก็ตามตัวละครเอก(นางเอก)  ยังต้องมีคุณสมบัติที่พิเศษยิ่งกว่าชาย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการซื่อสัตย์ต่อสามี  ตัวละครเอก(นางเอก)ต้องมีความจงรักภักดีต่อสามี เช่นในพฤติกรรมของนางสาวิตรีที่แต่งานกับพระสัตยวาน  ทั้งที่รู้ว่าพระสัตยวานจะต้องตายในเร็ววัน  แม้ขณะที่พระสัตยวานตายไปแล้วนางยังทำทุกอย่างจนสามารถได้ชีวิตสามีคืน  หรือนางสีดาความซื่อสัตย์ถึงขั้นยอมลุยไฟเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์  ตรงข้ามกับเพศบุรุษที่ไม่ต้องพิสูจน์ให้เห็นถึงความบริสุทธิ์ของตน  ทั้งนี้ยังสามารถแสดงออกถึงความหลายรักได้อย่างอิสระปราศจากข้อครหา  ตรงข้ามกับปัจจุบันที่สตรีสามารถบังคับตรวจเลือดก่อนแต่งงานอันเป็นผลจากแนวคิดสตรีนิยมสตรีนิยม 

                ความรักต่อสามีที่แบ่งให้ชายอื่นไม่ได้  วาทกรรมอย่างหนึ่งที่กดทับความเป็นเพศสตรีคือการปรนิบัติต่อบิดามารดาของสามี  เหมือนดังบิดามารดาตน  อันเป็นวาทกรรมที่รับใช้ความจริงที่ว่า  หากภารยาไม่รักบิดามารดาตนด้วยจะตกเป็นที่ลำบาก  เนื่องจากการเลี้ยงดูบิดามารดาเป็นสิ่งไม่ถนัดสำหรับเพศบุรุษ  วาทกรรมเหล่านี้ส่งผลให้สตรีไม่สามารถเรียกร้องสิ่งอื่นใดได้นอกจากการก้มหน้ารับแนวปฏิบัติอันเลวร้ายนั้นสืบต่อมา

                การเป็นตัวละครเอก(นางเอก)  พิจารณาอย่างละเอียดชนิดผ่าดูข้างใน  สตรีที่คุณสมบัติดังกล่าวจึงสมควรที่จะยกย่องให้เป็นตัวเอก  หากสตรีใดยังมีข้อสามารถตำหนิได้ไม่สามารถเข้าสู่ตำแหน่งเหล่าตัวล

หมายเลขบันทึก: 271490เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2009 19:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 17:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุงมากๆเลยนะคร้า

บทกลอนเกี่ยวกับนางสาวิตรี

หามานานแล้วม่ายเจอซักกะที

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท