พม่า : ปัญหาภายหลังการได้เอกราชของพม่า



            อังกฤษปกครองพม่าโดยการผนวกเป็นมณฑลหนึ่งของอินเดีย ได้บริหารราชการในพม่าแบบเดี่ยวกับที่อินเดียเพื่อป้องกันมิให้ชาวพม่าก่อกบฏ ยกเลิกการปกครองในหมู่บ้านแบบเก่า แต่งตั้งหัวหน้าหมู่บ้านแบบหมุนเวียน มีการใช้ระบบเทศาภิบาลเพื่อกำหนดการเก็บภาษีให้สูง กำหนดข้อบังคับในการรับชาวพม่าเข้าราชกามากมาย ไม่ให้ความสนใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมและพุทธศาสนาในพม่า สร้างความไม่พอใจให้กับชาวพม่าเป็นอย่างมาก อีกทั้งการการที่อังกฤษให้การศึกษาแบบตะวันตกนั้นได้เป็นคมที่เข้ามาทำร้ายอังกฤษเองในภายหลัง จะเห็นได้ว่าอังกฤษใช้วิธีการปกครองกับพม่าแตกต่างกับที่ปกครองมาลายอย่างสินเชิง
           การศึกษาแบบตะวันตกช่วยให้ปัญญาชนในพม่าได้รู้เห็นเหตุการณ์และความเคลื่อนไหวในประเทศมากขึ้น ลัทธิชาตินิยม และลัทธิประชาธิปไตยยังได้แพร่กระจายเข้ามาสู่พม่า ทำให้ปัญญาชนพระและชาวบ้านทำการต่อต้านอังกฤษอย่างหนัก อังกฤษทำการปราบปรามอย่างรุนแรง เกิดการบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก
           ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ในปี ค.ศ. ๑๙๔๗ ได้มีการเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พม่าได้ประกาศเอกราชในวันที่ ๔ ม.ค. ค.ศ. ๑๙๔๘
          พม่าประสบกับปัญหามากมายหลักจากที่ได้รับเอกราช สรุปได้ดังนี้
           ๑. การไม่มีเสถียรภาพในการปกครอง เปลี่ยนแปลงผู้นำบ่อยครั้ง
                - การลอบสังหารอองซานซึ่งเป็นผู้นำคนสำคัญ ทำให้พวกคิมมิวนิสต์และพวกทหารกองทัพแห่งชาติ ต่อต้านรัฐบาลใหม่ของพม่า รัฐบาลอนุได้ปราบปรามอย่างรุนแรง
               - การที่อนุเข้าไปฟื้นฟูศาสนาและปล่อยให้พระเข้ามามีอิทธิพลทางการเมือง ทำให้ประชาชนไม่พอใจในการกระทำของพระ โดยเฉพาะผู้นำทางทหาร นายพลเนวิน
               - เกิดความแตกแยกภายในกลุ่ม AFPFL ผนวกกับปัญหาสังคมและเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ทำให้อนุต้องเชิญเนวินขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งก็กลายเป็นรัฐบาลเผด็จการทหาร เกิดการเรียกร้องประชาธิปตยจากประชาชนและนักศึกษา
               - รัฐบาลทหารของเนวินได้แก้ไขปัญหาบ้านเมืองและเศรษฐกิจโดยการนำระบอบสังคมนิยมมาใช้ มีการโอนกิจการต่าง ๆ ขอเอกชนมาเป็นของรัฐ ไม่ยอมรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ ปิดบังข่าวสาร ดำเนินนโยบายโดดเดี่ยว
          ๒. ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ
           สืบเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ ๒ พม่าเสียหายอย่างหนัก แม้แต่อังกฤษไม่สามารถจะแก้ไขปัญหานี้ได้ เมื่อพม่าได้รับเอกราชจึงประสบกับปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การที่รัฐบาลอนุมีนโยบายเศรษฐกิจเสรี ทำให้เกิดปัญหาระหว่างนายทุนกับชนชั้นกรรมกร ถึงแม้จะนำการระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์เข้ามาใช้ในรัฐบาลเนวิน ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้เนื่องจากไม่มีประสบการณ์และขาดการจัดการที่ดี จึงทำให้เกิดสินค้าขาดแคลน มีการซื้อขายในตลาดมืด นับว่าเป็นความล้มเหลวทางเศรษฐกิจและการบริการประเทศอย่างสิ้นเชิง ภายหลังได้ยอมให้ต่างชาติเข้าไปลงทุนในกิจการบางอย่างเช่น น้ำมัน ป่าไม้ เหมืองแร่ เศรษฐกิจจึงได้กระเตื้องขึ้น
          ๓. ปัญหาทางสังคม
          ปัญหาชนกลุ่มน้อยที่มีมาอย่างยาวนานของพม่า ได้บ่อนทำลายเสถียรภาพทางการเมืองของพม่ามาตลอด เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองชนกลุ่มน้อยเหล่านั้นก็มีอำนาจในการปกครองตนเองมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาในการรวมประเทศให้เป็นหนึ่งเดียว รัฐบาลพม่าได้ทำการปราบปรามอย่างหนัก และชนกลุ่มน้อยก็ทำการต่อต้านรัฐบาลอย่างหนักเช่นกัน ในปัจจุบันปัญหานี้ก็ยังไม่ได้รับการคลี่คลาย
           ๔. ปัญหาคอมมิวนิสต์
            การที่พรรคคอมมิวนิสต์แตกแยกออกเป็น ๒ กลุ่ม คือกลุ่มธงแดง และ กลุ่มธงขาว ซึ่งทั้งสองกลุ่มได้สร้างความวุ่นวายทางการเมือง เมื่อรัฐบาลพม่าประกาศยกเลิกพรรคคอมมิวนิสต์ จึงมีการต่อต้านใต้ดินรัฐบาลทหารของเนวิน
          ๕. ปัญหาพรมแดนระหว่างพม่ากับจีน
          เนื่องจากมีพรมแดนที่ติดกัน จึงทำให้เกิดการกระทบกระทั่งกันบ่อยครั้ง ซึ่งเป็นอุปสรรคในการพัฒนาประเทศอย่างหนึ่ง จนในปี ค.ศ. ๑๙๖๑ – ๑๙๗๗ ทั้งสองจึงตกลงเจรจากันเรื่องดินแดน โดยมีการประสานผลประโยชน์ทางการเมืองร่วมกัน จีนรับรองความเป็นกลางของพม่า และพม่าขอจีนมิให้สนับสนุนคอมมิวนิสต์ในพม่า

          ในปัจจุบันรัฐบาลพม่าได้สร้างภาพให้ชาวโลกเชื่อว่า การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของประเทศได้คลี่คลายโดยเฉพาะเรื่องสิทธิมนุษยชนแล้ว แต่ภาพที่โลกเห็นนั้นต่างกับที่พม่าอยากให้เห็น ยังมีภาพการใช้กำลังอย่างรุนแรงปราบปรามชนกลุ่มน้อย การจำกัดสิทธิของประชาชนทางด้านการเมืองหรือการเข้า-ออกประเทศ หรือแม้แต่ภาพการจำกัดสิทธิเสรีภาพของนางอองซาน ซูจี ถึงแม้จะมีการกดดันทางเศรษฐกิจจากต่างชาติอย่างหนัก แต่พม่าก็หาได้สนใจ เพราะถือว่ามีมหามิตรให้การหนุนหลังเช่น จีน เมื่อทั่วโลกยังให้ความเกรงใจมหาอำนาจจีน ปัญหาต่าง ๆ พม่าก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง

คำสำคัญ (Tags): #อองซาน
หมายเลขบันทึก: 271224เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2009 14:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2013 07:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท