อาเซียน : การเข้ามาของชาติตะวันตกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ - ฉบับย่อ


ในคริสศตวรรษที่ 16 ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความสำคัญต่อการค้าโลกมากขึ้น เนื่องจากมีสินค้าที่ยุโรปต้องการ อีกทั้งยังมีลักษณะภูมิประเทศที่เป็นเส้นทางการเดินเรือระหว่างจีนกับอินเดีย โดยมีช่องแคบมะละกาเป็นสำคัญ จึงเป็นที่หมายปองของชาติตะวันที่ดาหน้าพากันเข้ามาแสดงหาผลประโยชน์ในภูมิภาคนี้

          แรงจูงใจการเข้ามาของชาติตะวันตก
           การค้า
          – ต้องการเข้ามาแสวงผลประโยชน์ทางการค้า เนื่องจาก SEA อุดมไปด้วยเครื่องเทศ พริกไทย และสินค้าจากป่า ซึ่งเป็นสินค้าที่ชาติตะวันตกมีความต้องการสูง
          – ต้องการคุมเส้นทางทางการค้าจากตะวันตกสู่ตะวันออกโดยแข่งกับพวกมุสลิม โดยเน้นเส้นทางการค้าทางทะเลระหว่างจีนและอินเดีย
การเผยแพร่ศาสนาและอุดมการณ์ทางการเมือง
          - ต้องการเผยแพร่ศาสนาไปในดินแดนไกล ๆ ความคู่ไปกับการทำการค้า เป็นนัยยะสำคัญเพื่อให้ปกครองคนพื้นเมืองให้ง่ายขึ้น แต่ก็มีปัญหาการต่อต้านมากมายจากชนพื้นเมือง
          - ต้องการเผยแพร่อุดมการณ์ทางการเมือง เพราะมีความเชื่อมั่นว่าตนเป็นชาติที่เจริญแล้ว เป็นหน้าที่หลักของคนผิวขาวที่จะนำพาความเจริญสู่คนพื้นเมือง
การปฏิวัติอุตสาหกรรม
          - ในคริสศตวรรษที่ ๑๘ ชาติตะวันตกมีความตื่นตัวในการพัฒนาอุตสาหกรรม จึงมีความต้องการวัตถุดิบ และตลาดในการระบายสินค้าเพื่อตอบสนองให้เพียงพอต่อความต้องการที่สูงขึ้น ซึ่ง SEA มีศักยภาพตามที่ชาติยุโรปต้องการ
          ชาติแรกที่เดินทางเข้ามาใน SEA คือ โปรตุเกส


          ในที่นี่จะกล่าวถึงการขยายอำนาจของชาติตะวันตกสองชาติ เพื่อเป็นการเปรียบเทียบระหว่างการปกครอง คือ
          ๑. โปรตุเกสในมะละกา
          ๒. อังกฤษในมะละกา

โปรตุเกสในมาลายู
         โปรตุเกสเดินทางเข้ามาเป็นชาติแรก เพื่อต้องการเปิดตลาดการค้ากับ SEA แต่เนื่องจากต้องแข่งขันกันพ่อค้ามุสลิมที่คุมเส้นทางการค้าในถูมิภาคนี้อยู่เดิม จึงต้องปราบพวกมุสลิมโดยการตั้งอาณาจักรคริสเตียน โปรตุเกสขยายอำนาจเข้ามาโดยมีฐานอยู่บริเวณโคชิน ฝั่งมะละบาร์ประเทศอินเดีย
หลังจากที่เจรจากับสุลต่านมะละกาเพื่อขอตั้งสถานีการค้าในมะละกาได้แล้ว ก็ได้ตั้งโรงงานขึ้น รวมทั้งยังผูกขาดกานพลูในบริเวณนี้และในบริเวณใกล้เคียง ควบคู่ไปกับการขยายศาสนาคริสต์ แต่การขยายอำนาจนั้นไม่ประสบความสำเร็จเพราะ
          ๑. การมิได้จับจองเป็นอาณานิคม หลังจากที่ได้มะละกาแล้วโปรตุเกสใช้การปกครองแบบทหาร โดยเน้นไปที่ผลประโยชน์ทางการค้าไม่ได้เน้นการขยายดินแดน โปรตุเกสได้สร้างป้อมค่ายไปตามเมืองต่าง ๆ เพื่อป้องกันตนเองและควบคุมคนพื้นเมืองโดยทิ้งกำลังไว้ดูแลน้อยนิด วิธีการดังนี้ถือว่าเป็นผลร้ายตนเอง เพราะถูกชาวพื้นเมืองและชาติมหาอำนาจตะวันตกโจมตีง่าย
          ๒. โปรตุเกสไม่มีขันติธรรมทางศาสนา ใช้วิธีการบีบบังคับให้คนพื้นเมืองมานับถือศาสนาคริสต์ อีกทั้งยังทำลายศาสนาสถาน จึงได้รวมตัวกันต่อต้านโดยมีชาวมุสลิมสนับสนุน
          ๓. พ่อค้าโปรตุเกสละโมบโลภมาก เอารัดเอาเปรียบชาวพื้นเมือง
          ๔. การที่โปรตุเกสมีอำนาจเหนือหมู่เกาะโมลุกะ โดยมีมีข้อสัญยญทางการค้าและทางการทหาร ทำให้โปรตุเกสมีความได้เปรียบชาวพื้นเมือง สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน จึงรวมตัวกันก่อกบฏทั่วประเทศ
          ในปี ค.ศ. ๑๕๘๑ กษัตริย์สเปนมีอำนาจเหนือการบัลลังก์โปรตุเกส ได้ละเลยผลประโยชน์ของโปรตุเกสใน SEA และบีบโปรตุเกสออกไปเรื่อย ๆ จนเหลือแต่เพียงกัวและมาเก๊า และถอนตัวออกไปทั้งหมดในปี ค.ศ. ๑๖๘๕ จากนั้นสเปนกับดัชช์จึงเข้ามามีบทบาทใน SEA แทนโปรตุเกส

อังกฤษในมาลายู
          อังกฤษมีความต้องการขยายการค้าใน SEA เนื่องจกต้องการเปิดตลาดการค้าในจีน อีกทั้งยังต้องการขจัดอธิพลของฝรั่งเศสจากภูมิภาคนี้เพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเอง
          อังกฤษได้เช่าเกาะปีนังและมณฑลเวสเลย์จากสุลต่านไทรบุรีเพื่อเป็นฐานในการขยายอำนาจและเป็นแหล่งผลิตอาหารตามลำดับ อังกฤษได้ขยายอิธิพลจนคุมดินแดนน่านน้ำแถบนี้ได้ทั้งหมดโดยเฉพาะช่องแคบมะละกา โดยใช้วิธีการคือ ขอเช่าดินแดน ใช้วิธีการทางการทูต ใช้อิทธิพลทางเศรษฐกิจ
          อังกฤษได้ขยายอิทธิพลในมาลายูและแบ่งการปกครองเป็น ๓ แบบคือ
          ๑. การปกครองโดยตรง ใช้กับบริเวณช่องแคบมะละกาคือ ปีนัง มณฑลเวสเลย์ สิงค์โปร มะละกา
          ๒. ปกครองทางอ้อมแบบสหพันธ์ ประกอบด้วย เปรัค ปาหัง สลังงอ เนรักแซมบิสัน
          ๓. ปกครองทางอ้อม โดยให้สุลต่านมีอำนาจในการปกครองตนเอง เช่น ไทรบุรี ปะลิส กลันตัน ตรังกานู
          อังกฤษได้พัฒนามาลายูในด้านต่าง ๆ เช่น การศึกษา ระบบการปกครอง ระบบการสื่อสารการคมนาคมขนส่ง การธนาคาร โรงงานอุตสาหกรรม อีกทั้งยังเป็นนายทุนในกิจการใหญ่ ๆ เช่นเหมืองแร่ จึงเป็นการสร้างงานสร้างอาชีพให้กับชนพื้นเมือง การให้คนมาลายูมีส่วนร่วมปกครองตนเอง สิทธิในการรับเข้าราชการ สิทธิการเป็นเจ้าของที่ดิน สิทธิการเป็นเจ้าของประเทศและไม่แทรกแซงทางศาสนาดังที่โปรตุเกสเคยทำ จึงสร้างความพึงพอใจให้กับคนมาลายูเป็นส่วนใหญ่
          แต่ปัญหาที่ตามมาคือ ปัญหาเรื่องเชื้อชาติ ระหว่างคนมาลายู คนจีน ซึ่งคนเกล่านี้เป็นคนที่อังกฤษนำเข้ามาเพื่อรับจากในโรงงานอุตสาหกรรมและเหมืองแร่ คนเหล่านี้สามารถสร้างเนื้อสร้างตัวได้จนกลายเป็นเจ้าของที่ดิน เจ้าของกิจการมากมาย มีอิทธิพลทางเศรษฐกิจในมาลายูเป็นอย่างมาก จึงเกิดลัทธิชาตินิยม รวมตัวกันต่อต้านอังกฤษอย่างรุนแรง

          จะเห็นได้ว่าการปกครองของโปรตุเกสและอังกฤษในมาลายูมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงการที่อังกฤษให้ชาวมาลายูมีส่วนร่วมในการปกครอง และมุ้งมี่จะพัฒนามาลายูให้มีความเจริญทำให้คนมาลายูไม่ต่อต้านอังกฤษเหมือนกับที่ต่อต้านโปรตุเกส ในบทต่อไป (ถ้ามีโอกาส จะขอกล่าวถึงความล้มเหลวในการครอบครองอาณานิคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้)

หมายเลขบันทึก: 271221เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2009 14:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2013 07:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท