chat(เข้าสังคม)วันละนิด-จิตแจ่มใส


 

...

ศาสตราจารย์สเตฟานี บราวน์ (Stephanie Brown) และคณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างนักศึกษาผู้หญิง 160 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม

กลุ่มหนึ่งให้คุยกัน อีกกลุ่มหนึ่งให้อ่านบทความวิจัยทางด้านพฤกษศาสตร์ (พืช) 20 นาที

...

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มที่ได้คุย (chat) กันมีระดับฮอร์โมนเพศชนิดโปรเจสเทอโรน  คงที่หรือเพิ่มขึ้น

ส่วนกลุ่มที่ได้รับมอบหมายให้อ่านบทความวิจัยมีระดับฮอร์โมนเพศลดลง

...

โพรเจสเทอโรน - progesterone เป็นฮอร์โมนที่เด่นในครึ่งหลังของรอบเดือน และช่วงตั้งครรภ์ มีฤทธิ์ช่วยต้านทานเชื้อโรค และยับยั้งผลของฮอร์โมนเอสโทรเจน - estrogen ซึ่งเด่นในครึ่งแรกของรอบเดือน

ถ้าไม่มีฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนมากพอ จะทำให้เสี่ยงมะเร็งบางชนิดเพิ่มขึ้น เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งเยื่อบุมดลูก ฯลฯ

...

ศาสตราจารย์บราวน์กล่าวว่า การมีกิจกรรมกับเพื่อนๆ หรือญาติสนิทมิตรสหายพอสมควร มีส่วนทำให้คนเราอายุยืนยาวขึ้น และทำให้ฮอร์โมนที่หลั่งออกมาเมื่อคนเรามีความสุขหลายชนิด (ไม่เฉพาะแต่โพรเจสเทอโรน) ทำงานได้ดี

นี่อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่สนับสนุนว่า การเข้าสังคมพอประมาณมีส่วนทำให้คนเราอายุยืนขึ้นอย่างมีคุณภาพ

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

... 

 > Thank MailOnline

ที่มา                                                                      

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า >   > 22 มิถุนายน 2552.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.

หมายเลขบันทึก: 270764เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2009 23:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท