เกาหลีเหนือกับอุโมงค์ในพม่า


 

...

 [ Wikipedia ]

ภาพที่ 1: แผนที่เกาหลีเหนือ ซึ่งมีพรมแดนด้านเหนือติดจีน ด้านใต้ติดเกาหลีใต้ ห่างออกไปทางตะวันออกคือญี่ปุ่น

เกาหลีเหนือชอบยิงจรวดไปตกใกล้ๆ บ้าง, ยิงจรวดข้ามญี่ปุ่นบ้าง, หลักการชวนทะเลาะกับเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะชาติที่เคยเป็นศัตรูกัน... เป็นเทคนิคที่รัฐบาลหลายชาตินิยมใช้ปลุกกระแสชาตินิยม ซึ่งมักจะทำให้รัฐบาลได้คะแนนเสียงมากขึ้น > Thank [ Wikipedia ]

...

เกาหลีเหนือมีพื้นที่ 120,540 ตารางกิโลเมตร (เกาหลีใต้ 100,032 ตร.กม.), เกาหลีเหนือมีประชากร 23.91 ล้านคน เกาหลีใต้มี 48.38 ล้านคน [ Wiki ][ Wiki ]

เกาหลีใต้มีประชากรประมาณ 2 เท่า ทว่า... ควรเปรียบเทียบ "คนที่มีการศึกษา (educated people)" กันมากกว่า เนื่องจากเป็นกำลังรบหลักของสงครามยุคใหม่ ซึ่งเกาหลีใต้น่าจะมีศักยภาพสงครามด้านบุคคลอย่างน้อย 10 เท่าของเกาหลีเหนือ

...

เรื่องนี้ทำให้มีผู้คาดการณ์ว่า ถ้ามีสงครามเกาหลีเหนือ-ใต้ครั้งใหม่ + ไม่มีมือที่สาม + เกาหลีเหนือไม่มีอาวุธลับมากมายจริงๆ (สมมติว่า มีระเบิดปรมาณูไม่เกิน 2 ลูก)...

เกาหลีเหนือจะแพ้สงคราม ปัญหาใหญ่ที่ตามมาคือ คลื่นผู้ลี้ภัยจะกรูกันไปทางเกาหลีใต้ครั้งใหญ่ และส่วนน้อยจะไปออกันแถวๆ ชายแดนจีน (จีนคงจะไม่ยอมให้ลี้ภัย)

...

 [ flickr ]

ภาพที่ 2: โฆษณาชวนเชื่อ (propaganda) ว่า ถ้าอเมริกาบุกละก็... ตายแน่ ซึ่งก็จริง เพราะบุกที่ไหนทีไร ขับเครื่องบินชนกันเองบ้าง ยิงกันเองบ้าง เป็นอย่างนี้บ่อย > Thank [ flickr ] , [ htsh kkch ]

...

 [ flickr ]

ภาพที่ 3: กองทัพหญิงเหล็กสวนสนามครบรอบ 60 ปี (9 สิงหาคม 2551), ท่ามคิม จอง อิล (Kim Jong Il) ไม่เข้าร่วมพิธี เข้าใจว่า ไม่ค่อยสบาย

วิธีจำคำว่า 'ill' = ไม่สบายจากข่าวนี้ คือ ท่านคิม จองกำลัง "อิล (ill)" = ท่ามคิม จองกำลังป่วย > Thank [ flickr ] , [ A23H ]

...

 [ flickr ]

ภาพที่ 4: โรงเรียนอนุบาลฟาร์มสหกรณ์ 'Chonsam' ทำแบบนี้เท่มากๆ เลย > Thank [ flickr ] , [ stephan ]

...

 

ภาพที่ 5: มองจากหลังคาโรงแรม 'Koryo' เมืองเปียงยาง เกาหลีเหนือ > Thank [ flickr ] , [ stephan ]

...

 [ flickr ]

ภาพที่ 6: ล็อบบี้โรงแรม 'Koryo' เปียงยาง เกาหลีเหนือ > Thank [ flickr ] , [ stephan ]

...

 [ flickr ]

ภาพที่ 7: อุโมงค์สถานีรถไฟใต้ดิน 'Yonggwang' เปียงยาง เกาหลีเหนือ > Thank [ flickr ] , [ stephan ]

...

ภาพที่ 8: สถานีรถไฟใต้ดิน 'Ponghwa' เปียงยาง เกาหลีเหนือ > Thank [ flickr ] , [ stephan ]

...

 [ RFA ]

ภาพที่ 9: ภาพท่านตันฉ่วย ผู้นำพม่า ยืนเท่ สง่าบนรถหรู ตรวจพลสวนสนามที่เมืองหลวง "เนปยีดอว์" พม่า (เมื่อกี้เปียงยาง ตอนนี้มาพม่าแล้วครับ) > Thank [ RFA ]

.............................................................

อาจารย์เบอร์ทิล ลินท์เนอร์ (Bertil Lintner) ผู้สื่อข่าวสวีเดนในกรุงเทพฯ รายงานว่า มีความเป็นไปได้ที่ทีมวิศวกรเกาหลีเหนือจะช่วยพม่าสร้างอุโมงค์ยักษ์ในเมืองเนปยีดอว์ ("เน-ปยี-ดอว์") แลกกับอาหารและทรัพยากรอื่นๆ แบบ 'barter trade' = แลกเปลี่ยนสินค้าแบบ "ของ-ต่อ-ของ" (ไม่ใช้เงิน)

อาจารย์คิม กวาง จิน ซึ่งอพยพมาจากเกาหลีเหนือ และเป็นที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนที่วอชิงตันกล่าวว่า เห็นด้วยกับอาจารย์ลินท์เนอร์

...

ทีมงานดังกล่าวเข้าไปในพม่าตั้งแต่ปี 2545-2546

อาจารย์ลินท์เนอร์ ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับเกาหลีเหนือกล่าวว่า ทางการพม่า (State Peace and Development Council / SPDC) เริ่มสร้างอุโมงค์ในเนปยีดอว์ตั้งแต่ปี 2548... ปีเดียวกับที่รีบย้ายเมืองหลวงไปจากย่างกุ้ง

...

อุโมงค์อีกชุดหนึ่งสร้างใกล้ๆ กับเมืองตองจี (Taunggyi) เมืองหลวงรัฐฉาน (ไทยใหญ่) ซึ่งมีอากาศค่อนข้างเย็นสบาย สมัยก่อนทหารอังกฤษชอบหนีร้อนไปแถวๆ นั้น (เมืองเมเมี้ยว)... ทุกวันนี้มีบ้านลูกท่านหลานเธอมากมาย

รัฐบาลพม่าพยายามสร้างที่ทำการใต้ดินไว้หลายแห่ง เช่น โรงไฟฟ้าพลังน้ำ ฯลฯ ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่า มีไว้เพื่อรักษาความปลอดภัยคณะผู้นำพม่าจากภยันตรายต่างๆ เช่น กรณีมีการโจมตีทางอากาศ การประท้วง ฯลฯ

...

ทีมวิศวกรเกาหลีเหนือมีความชำนาญในเรื่องอุโมงค์มากเป็นพิเศษ เนื่องจากอะไรๆ ที่นั่นมุดลงดินเป็นว่าเล่น

อ.ลินท์เนอร์กล่าวว่า เวลาบินผ่านเกาหลีเหนือ... จะพบควันไฟลอยมาจากกลางภูเขาที่โน่นบ้าง ที่นี่บ้าง ซึ่งไม่ต้องสงสัยเลยว่า ต้องมีการทำอะไรกันใต้ดิน

...

ส่วนพม่าจะมีโครงการอาวุธนิวเคลียร์แบบเกาหลีเหนือหรือไม่... ยังไม่แน่ใจ (ไม่ทราบ)

ความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีเหนือกับพม่ามีปัญหาในปี 2526 เนื่องจากสายลับเกาหลีเหนือถูกจับได้ว่า อยู่เบื้องหลังการวางระเบิดผู้แทนจากเกาหลีใต้

...

ทางการเกาหลีเหนือบินไปคุยกันลับๆ กับพม่าที่กรุงเทพฯ ในช่วง early 1990s = 1990-1995 = พ.ศ. 2533-2538 เพื่อขอตัวนักโทษกลับ

อ.ลินท์เนอร์กล่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่ทั้งสองฝ่ายจะ "แสวงหาจุดร่วม" กันหลายอย่าง เช่น มีทรัพยากรมากแต่มีเงินตราต่างประเทศน้อย การถูกคุกคามจากโลกตะวันตกคล้ายๆ กัน ฯลฯ ทำให้ความสัมพันธ์ดีขึ้นเรื่อยๆ

...

ช่วง late 1990s = 1996-2000 = พ.ศ. 2539-2543 อาวุธชุดแรกจากเกาหลีเหนือก็ไปถึงพม่า เพื่อใช้ทำสงครามกับคนกลุ่มน้อย และคนกลุ่มใหญ่ที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล

พม่าได้อาวุธ ส่วนเกาหลีเหนือได้รับอาหาร ยางพารา และอะไรๆ อีกหลายอย่าง ทำให้ความสัมพันธ์ดีขึ้นเรื่อยๆ จนสถาปนาความสัมพันธ์ทางการฑูตกันใหม่ในปี 2550

...

เกาหลีเหนือมีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี ส่วนพม่ามีข้าว แร่ธาตุ และอะไรๆ ที่เกาหลีต้องการ

1 ในสิ่งเหล่านั้นคือ ทองคำ ซึ่งพบมากทางเหนือของพม่า

...

 

"North Korea would be willing to supply Burma with goods that not even Russia or the Chinese would. And one of them would be tunneling technology and the other one could be, possibly, nuclear know-how," he said. [ RFA ]

แปลว่า "เกาหลีเหนือดูจะเต็มใจมอบอะไรที่แม้แต่รัสเซียหรือจีนทำไม่ได้ และ 1 ในสิ่งเหล่านั้นอาจจะเป็นเทคโนโลยีในการสร้างอุโมงค์ และบางที... อาจจะเป็นเทคโนโลยีนิวเคลียร์" [ RFA ] 

...

ถ้าเราลองมองพม่าในแง่ดีบ้าง... หากพม่าใช้เทคโนโลยีอุโมงค์ในทางสร้างสรรค์ เช่น ใช้ทำระบบขนส่งมวลชน ฯลฯ ซึ่งชาติในอาเซียนทำได้ดีจริงๆ เพียงไม่กี่ชาติ (สิงคโปร์และมาเลเซีย) พม่าจะก้าวไปไกล โดยเฉพาะการท่องเที่ยวจะดีขึ้นได้มากมายเลย

แนะนำให้อ่าน > [ เรือเกาหลีฯ 1 ] , [ เรือเกาหลีฯ 2 ] , [ เรือเกาหลีฯ 3 ]

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

... 

 > Thank  [ Radio Free Asia ]

ที่มา                                                                      

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า >   > 22 มิถุนายน 2552.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.

หมายเลขบันทึก: 270757เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2009 23:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 15:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท