เว็บไซต์ศูนย์รวมสำหรับผู้ต้องการศึกษาชีวโมเลกุลทั้งหลาย...NCBI


สมัยเมื่อเริ่มกลับไปใช้ชีวิตนักศึกษาอีกครั้ง เมื่อหลายปีที่แล้ว พบว่าการศึกษาในระดับปริญญาโท ปริญญาเอกในสาขาวิชาชีวเคมี โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับทางคลินิก จะต้องทำวิจัยกับงานในระดับโมเลกุลกันทั้งนั้น เรียกว่าเป็นงานหลักส่วนใหญ่เลยทีเดียว อะไรๆก็ DNA, RNA, gene กันทั้งนั้น

หาอะไรสมัยก่อนก็ไป NCBI ซึ่งเป็นเว็บศูนย์รวมข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับชีวโมเลกุลทั้งหลาย ก็จะได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้ เป็นที่ตั้งต้นเก็บข้อมูลในการทำงานเลยทีเดียว

เวลาผ่านไป 4-5 ปี เราก็จะได้เห็นว่ามีศูนย์ต่างๆมากมายที่ศึกษาเกี่ยวกับยีน และมีข้อมูลเผยแพร่มากมาย เก็บกันไม่หวาดไม่ไหวของหลายๆชาติในเว็บไซต์ต่างๆ ตอนที่เขียนวิทยานิพนธ์ก็พบแล้วว่า NCBI เริ่มมีการรวบรวมข้อมูลให้เราติดตามเก็บได้ง่ายดายยิ่งขึ้นกว่าเมื่อเราเริ่มต้นใช้

มาวันนี้ได้รับคำถามเกี่ยวกับ GAPDH ซึ่งเป็นยีนที่มักใช้เป็น internal control ในการศึกษาเกี่ยวกับ RNA, cDNA amplification อยากจะอธิบายให้เข้าใจง่ายๆและอ้างอิงที่มาให้ด้วย ทำให้ได้กลับไปเยี่ยม NCBI อีกครั้ง

ประทับใจมากกับหน้าศูนย์รวมข้อมูลของสิ่งที่เราค้นหาค่ะ ใครทำงานด้านนี้ลองเข้าไปดูนะคะ ทุกอย่างมารวมให้เห็นอยู่ที่หน้าเดียวกัน มีลิงค์ไปถึงแต่ละส่วนอย่างสะดวก ง่ายดายมากๆ ต้องขอเอามาประชาสัมพันธ์กันตรงนี้ว่า ใครอยากได้ข้อมูลด้านชีวโมเลกุลพลาดไม่ได้เชียวนะคะ สมกับชื่อ National Center for Biotechnology Information จริงๆ

หมายเลขบันทึก: 270750เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2009 22:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2012 20:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับ คุณโอ๋ ผมเพิ่มทำงานในสาย Molecular โดยผมเป็น Sale ที่บริษัท Biodesign

ได้เข้ามาอ่าน page ของคุณโอ๋ พบว่าได้ข้อมูลต่างๆมากมายทำให้ผมเข้าใจงานในสายนี้มากขึ้น

เนื่องจากผมเองจบมาทางเคมี การมองการจินตนาการภาพอาจจะไปคนละทิศคนละทางกับสายนี้

ยินดีที่ได้รู้จักครับ ผมคงต้องเข้ามาขอรบกวนข้อมูล คุณโอ๋ บ่อยๆแล้วละครับ

ยินดีที่คุณอาร์ม [IP: 125.25.16.223]ได้ประโยชน์จากบันทึกและอุตส่าห์ลงชื่อบอกกล่าวกันค่ะ มาเป็นสมาชิก GotoKnow สิคะยังมีเรื่องราวดีๆอีกมากมายให้ศึกษาค่ะ

สำหรับเรื่องทาง Molecular เดี๋ยวนี้ก็มีให้หาอ่านได้ง่ายมากทางอินเตอร์เน็ต แม้ส่วนใหญ่จะเป็นภาษาอังกฤษ แต่ก็มีตัวช่วยแปลมากมายอีกเช่นกันค่ะ แต่ถ้ามีอะไรให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันก็ยินดีนะคะ

มาเริ่มอ่านใหม่อีกรอบค่ะ คุณโอ๋

ขอบคุณค่ะ คุณหมอเล็ก ขอให้งานสำเร็จได้กลับบ้านอย่างสบายใจนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท