เป้าหมายการพัฒนาว่าด้วยการแก้หนี้ที่เป็นทุกข์ของชุมชนโดยสภาองค์กรชุมชนตำบลหนองพันจันทร์.....เวทีจัดการความรู้ตัวชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่น(3)


หนี้สถาบันการเงินภายนอก(ธกส.) จำนวน 82.2 ล้านบาท .... หนี้กองทุนหมุนเวียนในหมู่บ้านและสถาบันการเงินชุมชน 20ล้านบาท

17 มิ.ย. 52 ผมเดินทางมาตำบลหนองพันจันทร์  อำเภอบ้านคา  จ.ราชบุรี  เพื่อร่วมการประชุมปรึกษาหารือประจำเดือนของสภาองค์กรชุมชนตำบลหนองหนองพันจันทร์   เรื่องที่มีการปรึกษาหารือมี  2  เรื่องครับ คือเรื่องการเตรียมการเวทีประชุมระดมความคิดเห็นการจัดทำเป้าหมายตัวชี้วัดการพัฒนาของตำบล   และเรื่องการติดตามความก้าวหน้าการประมวลภาวะหนี้สินของคนในตำบลหนองพันจันทร์  ซึ่งเรื่องการแก้หนี้เป็น 1 ใน 8 ประเด็นเป้าหมายการพัฒนาครับ  จากการประมวลข้อมูลมีสิ่งที่น่าสนใจอยู่หลายเรื่องครับ  โดยเฉพาะเรื่องหนี้สิน  และเงินทุน มีข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้

·         หนี้สถาบันการเงินภายนอก(ธกส.) จำนวน  82.2 ล้านบาท

·         หนี้กองทุนหมุนเวียนในหมู่บ้านและสถาบันการเงินชุมชน  20ล้านบาท

รวมหนี้ทั้งตำบลประมาณ 100  ล้านบาทครับ

·         ในชุมชนมีกองทุนหมุนเวียนในหมู่บ้านและสถาบันการเงินชุมชน  20ล้านบาท

สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินของชุมชน  ที่ประชุมสภาองค์กรชุมชนได้เสนอแนวทางดังนี้

1.        การรณรงค์ให้คนทั้งตำบลมีความตระหนักในการจัดทำ บ/ช ครัวเรือน  จากการประเมินเบื้องต้นน่าจะมีไม่เกิน  3%ของครัวเรือนที่รู้จักทำ บ/ช ครัวเรือน 

2.       การรณรงค์กับคนทั้งตำบลให้ตระหนักในเรื่องปัญหาหนี้สินของคนทั้งตำบลแล้วช่วยกันหาทางแก้ร่วมกัน

3.      การน้อมนำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาสู่การประยุกต์ใช้ในชุมชน  ที่หมู่ 5 มีศูนย์ปราชญ์ชาวบ้านและมีศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนอยู่แล้วจึงควรมาใช้ขยายผล

4.       การรณรงค์ให้คนทั้งตำบลใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยชีวภาพ เพื่อลดต้นทุนการผลิต   ซึ่งมีโรงงานปุ๋ยของชุมชนอยู่แล้ว

5.       การบริหารกองทุนในชุมชนให้ส่งผลต่อการลงทุนและนำเงินกู้ไปใช้เกี่ยวกับการสนับสนุนปัจจัยการผลิตอย่างจริงจัง

6.       การรณรงค์ให้คนทั้งตำบลมีความตระหนักในการออมกับสถาบันการเงินชุมชน  เพื่อสถาบันการเงินชุมชน  จะได้มีบทบาทและความสามารถในการเป็นแกนในการแก้หนี้ได้

นี่เป็นร่างข้อเสนอเบื้องต้นของสภาเพื่อนำเข้าสู่วงการประชุมระดมความคิดเห็นการจัดทำเป้าหมายตัวชี้วัดการพัฒนาของทั้งตำบล  ในวันที่  22 มิ.ย.นี้ครับ

หมายเลขบันทึก: 269879เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2009 23:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • ทุกคนรู้ทุกอย่าง
  • แต่จะทำอย่างไรให้ตระหนัก
  • นี่ซิ   เป็นเรื่องสำคัญค่ะ

ขอบคุณ คุณมนัญญาครับ

เป็นความคาดหวังครับ ว่าการประชุมแบบรวมพลังสร้างอนาคตจะเป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันแบบมีความหวัง

เชื่อว่าคนเราหากคิดคนเดียวก็จะมีพลังน้อย หากร่วมมือกันจะเป็นพลังทวีคูณครับ เมื่อคนเราได้พูดคุยกันอย่าสร้างสรรค์ เปิดใจ อย่างน้อยก็จะทำให้เราก็มีความเชื่อมั่นในคนและในพลังชุมชนท้องถิ่นครับ มีหลายพื้นที่กำลังค่อยๆแกะค่อยๆฟื้นกับเรื่องนี้ครับ

พวกเขา ยังต้องการพลังใจ ต้องการการหนุนเสริม

เช่นในพื้นที่ที่เราไปเรียนรู้ด้วย เราเชื่อว่าคนในชุมชนท้องถิ่นที่เราทำงานด้วย ก็เหมือนคนในพื้นที่อื่นๆ ที่สามารถพัฒนาได้ เรียนรู้ได้ พวกเขามีจุดแข็งคืออยู่ในพื้นที่มานาน มีความรักความผูกพันกันและกันเป็นพี่น้องและมีความภาคภูมิใจกับแผ่นดินของตน พวกเขามีความปรารถนาที่จะเห็นและมุ่งที่จะสร้างชุมชนที่ดี ให้เป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็งและมีสิ่งแวดล้อมที่ดี

เขารู้ปัญหา รู้จุดแข็ง รู้จุดอ่อนของคนและของชุมชนท้องถิ่นตนเองมากกว่าใครๆเมื่อให้โอกาส ได้รับความเชื่อมั่น

คนเหล่านั้นก็จะช่วยกันคิดค้นหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆและลงมือแก้ไข มีความรับผิดชอบดูแลชุมชนท้องถิ่นของเขาด้วยความกระตือรือร้นในการลงมือทำ เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ หากผิดพลาดหรือล้มเหลวก็สามารถสรุปบทเรียนและเรียนรู้ใหม่ แก้ไขใหม่

และยกระดับ ทั้งการเรียนรู้และการปฏิบัติได้ครับ(หวังว่าครับ)

ขอบคุณครับที่มาเยี่ยมทักทาย

อ.ไพบูลย์  วัฒนศิริธรรม ให้คำปรึกษาการจัดทำเป้าหมายและตัวชี้วัดการกับสมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบลหนองพันจันทร์ โดยเฉพาะการแก้หนี้ที่เป็นทุกข์ของคนในชุมชน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท