สรุปบทเรียน 12 ปี อิสรชน กับการทำงานเด็กด้อยโอกาส(1)


ส่วนประเด็นคุณภาพชีวิต ทักษะชีวิตในการเอาตัวรอดของเด็ก ถูกหยิบยกอามาพูดคุยในทักษะการเอาชีวิตรอด เริ่มมีการเรื่องหลักสูตร และรูปแบบกิจกรรม โดยใช้หลักสูตรทักษะชีวิตที่เคยใช้กับกลุ่มอื่น ๆ มาปรับใช้ให้สอดคล้องกับกลุ่มเด็กด้อยโอกาสที่ทำงานอยู่ ซึ่งทักษะชีวิตเริ่มต้นจากกลุ่มในแวดวงสายนักกิจกรรม ซึ่งเรียกว่า สายนักวิชาการ กระบวนการค่ายทั้งหลายที่เด็กแต่ละกลุ่มจะมีทักษะชีวิตที่แตกต่างกันไป เช่นเด็กชนบท เด็กในเมือง เด็กในเมืองก็จะไม่มีชีวิตกลางแจ้ง

จุดเริ่มต้นและแรงจูงใจในการทำงานกับเด็กด้อยโอกาส

สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชนหรือ VACA. หลายคนคงเคยมีความคิดว่าสมาคมนี้เป็นสมาคมอะไร ? เป็นสมาคมที่ทำอะไรให้สังคมบ้าง จะสร้างแต่กิจกรรมเพื่อความสนุกสนานและสีสันให้สังคมอย่างเดียวหรือไม่  แต่ในความจริงแล้วสมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชนจะเป็นหน่วยงานที่เปรียบเหมือนสะพานแห่งโอกาสที่เชื่อมต่อระหว่าง อาสาสมัครที่เป็นประชาชนทั่วไปในสังคมที่ต้องการมีส่วนร่วมในการทำสิ่งดี ๆ เพื่อสังคมและคนที่ขาดโอกาสและประสบภาวะวิกฤตต่างๆ มาเจอกันเพื่อทำกิจกรรมแลกเปลี่ยน เรียนรู้ สร้างกระบวนการสัมพันธ์ต่อกันและกัน 

สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน เริ่มจากมานั่งคุยกันก่อนว่าอะไรคือ เด็กด้อยโอกาส มองถึงกลุ่มเป้าหมายเด็กด้อยโอกาสในกรุงเทพฯการก่อตั้งในรูปแบบของ กลุ่มอิสรชน ที่ก่อตั้งขึ้นจากการรวมตัวของนักพัฒนาที่ทำงานในองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนด้อยโอกาส ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2539 โดยในช่วงแรกเป็นการทำงานไม่เต็มเวลา ส่วนใหญ่ใช้เวลาว่างหลังจากการทำงานประจำ หาเวลารวมตัวกันพบปะพูดคุยและทำกิจกรรมกับเด็กในพื้นที่ต่าง ๆ โดยประสานความร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ ที่ดำเนินงานอยู่แล้วในรูปแบบของอาสาสมัครในกิจกรรมย่อย ๆ มองถึงกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็กด้อยโอกาสในกรุงเทพฯ

 

จุดเริ่มต้นของรูปแบบกิจกรรม

            เริ่มต้นจากรากของโครงการคือเด็กในชุมชนแออัด บางคนเป็นเด็กเร่ร่อนหรือบางคนก็มีเพื่อนที่เป็นเด็กเร่ร่รอนมา ตอนที่เลือกรูปแบบกิจกรรมนั้น คิดว่ารูปแบบกิจกรรมต้องเป็นกิจกรรมที่สามารถเคลื่อนที่ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้  เพราะว่าแต่ละกลุ่มหรือหน่วยงานที่เข้ามาทำงานนั้น เป็นกิจกรรมหลักที่เข้าไปจับในชุมชน ล้วนแล้วแต่เป็นกิจกรรมที่ตายตัว แต่ไม่สามารถเคลื่อนที่เร็วไปที่อื่นได้ ซึ่งจะเป็นกิจกรรมที่เฉพาะ มีขอบเขตเฉพาะในพื้นที่ ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้

การจัดกิจกรรมนั้นสืบเนื่องมาจาก สภาพปัญหา เด็กด้อยโอกาสถูกกระทำค่อนข้างเยอะ เด็กด้อยโอกาสไปแทบทุกเรื่อง ซึ่งในเวลานั้นทีมอิสรชนทำงานเรื่องเอดส์ส่วนใหญ่ เมื่อมาเจอกันก็จะเป็นประเด็นเรื่องเอดส์เป็นหลัก แล้วมาดูว่าเด็กถูกกระทำ เลยมาจับโจทย์เรื่องเอดส์ ซึ่งพบว่าเด็กมีควมรู้เรื่องเอดส์น้อยมาก แต่ทำเหมือนมีความรู้เยอะ รู้แค่คำว่า “เอดส์” แต่พอถามถึงความรู้เรื่องเอดส์แล้วไม่ค่อยรู้ รู้แบบ ผิดๆ ถูก ๆ ฟังเขาเล่ามา เขาบอกว่า ไม่เคยมีคนมาให้ความรู้หรือทำกิจกรรมเกี่ยวกับเอดส์ เห็นแต่ในโทรทัศน์ รุ่นพี่เล่าบ้าง สื่อต่าง ๆ ซึ่งทำให้เด็กได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง

 

จุดเริ่มต้นกระบวนการหลักสูตรทักษะชีวิต

ส่วนประเด็นคุณภาพชีวิต ทักษะชีวิตในการเอาตัวรอดของเด็ก ถูกหยิบยกอามาพูดคุยในทักษะการเอาชีวิตรอด เริ่มมีการเรื่องหลักสูตร และรูปแบบกิจกรรม โดยใช้หลักสูตรทักษะชีวิตที่เคยใช้กับกลุ่มอื่น ๆ มาปรับใช้ให้สอดคล้องกับกลุ่มเด็กด้อยโอกาสที่ทำงานอยู่  ซึ่งทักษะชีวิตเริ่มต้นจากกลุ่มในแวดวงสายนักกิจกรรม ซึ่งเรียกว่า สายนักวิชาการ กระบวนการค่ายทั้งหลายที่เด็กแต่ละกลุ่มจะมีทักษะชีวิตที่แตกต่างกันไป เช่นเด็กชนบท เด็กในเมือง เด็กในเมืองก็จะไม่มีชีวิตกลางแจ้ง นอกบ้าน (Outdoor) ขึ้นรถเมล์เองไม่เป็น เด็กคุณหนูทั้งหลาย ใช้โทรศัพท์สาธารณะไม่เป็น ใช้ชีวิตทำอาหารเองไม่เป็น เมื่อเกิดปัญหาใครจะช่วยก็ไม่สามารถรู้ได้ ซึ่งก็เหมือนกับเด็กต่างจังหวัด เข้ามาอยู่ในเมืองหรือเด็กด้อยโอกาสในชุมชนกรุงเทพฯ ก็ทำอย่างอื่นที่เด็กมีโอกาสเขาทำไม่เป็น หรือบางครั้งไม่รู้ว่าตนเองถูกกระทำ หรือมีสิทธิที่จะทำได้หรือไม่ได้ เช่น ใช้อุปกรณืเครื่องไม่ เครื่องมือที่เป็นสาธารณะ เช่น ใช้ลิฟท์ไม่เป็น แต่เชียวชาญในเรื่องขึ้นรถเมล์เอง ทำอาหารเองเป็น อย่างเช่นเด็กในชุมชนแออัดหรือเด็กด้อยโอกาสทั้งหลาย

จนเกิดการพยายามเอาเด็ก  2  กลุ่มมาทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งแทนที่จะต้องสอน สิ่งที่เด็กในเมืองทำเป็น แต่เด็กด้อยโอกาสต่าง ๆ ทำไม่เป็น หรือสิ่งที่ตรงกันข้ามกัน กลุ่มอิสรชนจึงคิดวิธีที่ดีที่สุดและง่ายที่สุดที่ไม่ต้องสอน คือการนำเด็ก 2 กลุ่มมาทำกิจกรรมร่วมกัน ก็เลยกลายมาเป็นกิจกรรมค่ายทักษะชีวิตเด็ก ไม่แยกทักษะชีวิตในเมือง ทักษะชีวิตกลางแจ้ง ไม่เลือกเหมือนกิจกรรมเดิม ๆ แล้ว ซึ่งแต่ก่อนนั้นเด็กที่จะมาทำกิจกรรมตรงนี้ จะเป็นเด็กที่มีโอกาสไปเข้าค่าย 

จนกระทั่งปี 2542 ได้พัฒนารูปแบบการดำเนินงานขึ้นเป็นศูนย์กิจกรรมอิสรชนที่เป็นองค์กรทำงานแบบอาสาสมัคร ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 ศูนย์กิจกรรมอิสรชนได้เสนอโครงการขอรับการสนับสนุนไปยังธนาคารโลกประจำประเทศไทย เพื่อดำเนินกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตแก่คนด้อยโอกาสและผู้ยากไร้ในช่วงภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ  และได้ดำเนินกิจกรรม อย่างต่อเนื่องตลอดมา โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายหลักคือเด็กเร่ร่อน เด็กด้อยโอกาส และเด็กที่อยู่ในภาวะวิกฤต มุ่งให้ความรู้ในเรื่องของทักษะชีวิต ยาเสพติด และความรู้เรื่องเอดส์ ตลอดจนโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการให้การสนับสนุนงบประมาณต่าง ๆ ตลอดมา  โดยได้รับการสนับสนุนการทำงานจากทุกภาคส่วนในสังคม และได้รับความสนใจจากผู้สนใจทั่วไปเข้ามาทำงานในฐานะอาสาสมัคร ร่วมกับ ศูนย์กิจกรรมอิสรชน

 

ย้อนรอยหลักสูตรทักษะชีวิต

YPDC มีหลักสูตร 2 หลักสูตร โดย YPDC เป็นจุดเริ่มต้นเรื่องทักษะชีวิต

1.            ทักษะชีวิตในเมือง (City living skill)

2.            ทักษะชีวิตกลางแจ้ง (Outdoor living skill)

ตอนหลังถูกนำมาใช้เฉพาะในเรื่องนั้น ๆ นักวิชาการหรือใคร ๆ ที่ได้ยิน ก็จะหยิบยกนำไปใช้ เป็นทักษะต่าง ๆ เช่น ทักษะชีวิตสตรี  ทักษะชีวิตงานทั่วไป แล้วนำไปปรับปรุงตกแต่งหลักสูตรให้เป็นของตนเอง หลาย ๆ สาขา หลาย ๆหลักสูตร

ในช่วงที่กรมประชาสงเคราะห์นำไปเป็นหลักสูตรทักษะชีวิตสำหรับเด็กด้อยโอกาสนั้น ได้เอาไปทำหลังจากได้บทเรียนจาก NGO ที่ทำงานร่วมกันมาพอสมควร แต่ที่เอาไปทำเป็นกลุ่มแรก ๆ ก่อนกลุ่มอื่น  คือ สภากาชาดกับกรมสุขภาพจิต ในสภากาชาดนั้นทำหลักสูตรทักษะชีวิตสำหรับสตรี ส่วนกรมสุขภาพจิตทำหลักสูตรทักษะชีวิตเยาวชน ซึ่งก็มีหนึ่งในกลุ่มอิสรชนไปเป็นตัวเสริม ตัวร่าง

ต่อมาหนึ่งในทีมอิสรชนได้เข้าไปช่วยในกรมควบคุมโรค เรื่องทักษะชีวิตสำหรับเยาวชน เน้นการต่อรองและการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ของกรมควบคุมโรค เพราะตอนนั้น หลักคือ เรื่อง โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์

ในส่วนของสภากาชาดนั้นก็มีการปรับปรุงหลักสูตรในหลายต่อหลายครั้ง มีการทำวิจัย ในครั้งสุดท้ายร่วมกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำไปทดลองหลักสูตรเป็นระยะแล้วปรับปรุงใหม่ ปรับปรุงอยู่เป็นเวลาหนึ่งปี จึงเกิดหลักสูตรที่สมบูรณ์ในปี 2542 เป็นหลักสูตรทักษะชีวิตทั่ว ๆ ไป แต่หลักสูตรทักษะชีวิตเกี่ยวกับเยาวชนนั้นสมบูรณ์ในปลายปี 2547 เป็นช่วงที่ อิสรชนได้ยื่นจดทะเบียนเป็นสมาคมกับ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ในชื่อสมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชนเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2548 ตาม หนังสืออนุญาตเลขที่ ต.001/2548 โดยใช้ชื่อย่อว่าสกอ.และใช้ชื่อในภาษาอังกฤษ ว่า “Voluntary Activity Creation Association” ใช้ชื่อย่อในภาษาอังกฤษว่า “VACA.”


           
หมายเลขบันทึก: 269650เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2009 08:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 23:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท