เรื่องเล่าจากการอบรมหลักสูตร Narrative Medicine


เขียนเรื่อง เขียนโลก: เรื่องเล่าเปลี่ยนแปลงโลก

        ท่ามกลางอากาศอันร้อนแรง ของช่วงเวลาบ่ายแก่ๆ เมื่อวานนี้  มีคนกลุ่มหนึ่งของพวกเรา  กำลังทำกิจกรรม"สุมหัว" กันอยู่ในห้องสี่เหลี่ยมที่ต้องอาศัยเครื่องปรับอากาศในจัดการสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีสมาธิในการร่วมคิดและเรียนรู้สิ่งดีๆ ร่วมกัน...Facilitator จำนวน 6 คน ของพวกเรา ชาว รพร.ปัว ก็มาพบปะกันตามนัดหมาย เพื่อสานต่องานพัฒนาคุณภาพและเรียนรู้สิ่งดีๆ...เราได้มีโอกาสนำเอาเรื่องราว แนวคิดเรื่อง Narrative Medicine ซึ่งได้มีโอกาสเรียนรู้มาจากท่านอาจารย์ โกมาตร  จึงเสถียรทรัพย์ เมื่อครั้งที่เข้ารับการอบรม หลักสูตร Narrative Medicine

เมื่อ 27-29 พ.ค.52 ณ โรงแรมโรสการ์เด้น ริเวอร์ไซด์ สวนสามพราน นครปฐม จัดโดย สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล มาแบ่งปัน เรียนรู้ร่วมกัน 

        จึงถือโอกาสนี้ขออนุญาตท่านอาจารย์และทางทีมผู้จัด นำเอาเรื่องราวบางส่วนที่ได้เรียนรู้ มาแบ่งปันกับท่านผู้อ่านอีกหลายท่านที่สนใจ แต่ไม่มีโอกาสได้เข้าร่วมอบรม ในครั้งนี้ ด้วยค่ะ..

***

เขียนเรื่อง เขียนโลก: เรื่องเล่าเปลี่ยนแปลงโลก



ทำไมต้องใช้ “เรื่องเล่า”  อาจารย์ท่านให้แนวคิดว่า...เป็นเพราะ...

·       มนุษย์มีศักยภาพการเรียนรู้จากเรื่องเล่ามาตั้งแต่เกิด--> เด็กเรียนรู้นิทาน ก่อนที่จะเรียนรู้เรื่องเลข

·       ชีวิตและสังคม มีมิติคุณภาพที่ลดทอนเป็นปริมาณไม่ได้ --> บางเรื่องราว บางกิจกรรม ไม่สามารถที่จะนับเป็นปริมาณได้ในทุกเรื่อง

·       เรื่องเล่า เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ในทุกจารีต ความรู้ ในทุกวัฒนธรรม

·       เรื่องเล่าสถาปนาความจริง นิยามความหมายและตีกรอบความเป็นไปได้ให้กับวิธีคิด

·       เรื่องเล่าสร้างสรรค์จินตนาการของมนุษย์---> การผูกปม และคลี่คลายทีละน้อย  Reader response theory

                     

            เราอาจใช้เรื่องราวเกี่ยวกับความดี ความงามที่ได้พบเจอ มาบอกเล่าเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ชีวิตในด้านดีของผู้คนหรือแม้แต่ชีวิตในด้านดีขององค์กร เรื่องเล่าไม่จำเป็นต้องเศร้าโศก รันทด สลดหดหู่เสมอไป

            เรื่องเล่าที่ดีจะก่อให้เกิดการแรงบันดาลใจแก่ผู้คนที่ได้ยิน ได้ฟังเสมอ

            ผู้เขียนสามารถถ่ายทอดความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวตน ออกมาสู่ผู้คนอื่นได้โดยผ่านทางเรื่องเล่า

            การเขียนเรื่องเล่านอกจากสามารถก่อให้เกิดการเรียนรู้และให้แรงบันดาลใจแก่ผู้อื่นแล้ว ยังเป็นการเรียนรู้ตนเอง เมื่อเราเขียนเรื่องเล่า เราจะเกิดการตรึกตรองเรื่องราวต่างๆ ก่อให้เกิดการเข้าใจตนเอง เป็นการเยียวยาตนเองไปในคราวเดียวกันอีกด้วย

 

 การเขียนสร้างสรรค์ทักษะและความละเอียดอ่อนของผู้เขียน

·       การใช้คำและภาษา ---> เช่นแทนที่จะบอกคนไข้ว่า ครั้งต่อไป หัดเอายามาบ้างนะ ถ้ามีความละเอียดอ่อน ก็จะไม่ใช้คำว่า หัดซึ่งจะให้ความรู้สึกที่ดีแก่คนฟังมากกว่า

·       การคิดและรู้สึกแทนผู้อื่น---> เราจะเกิดการเรียนรู้ความคิดความรู้สึกของผู้ป่วย เมื่อเราสวมบทบาทเป็นผู้ป่วยขณะเขียนเรื่องเล่า

·       การครุ่นคิด ตรึกตรองชีวิตของตนเอง ---> ดูหนังดูละคร แล้วย้อนมาดูตัวเอง / เขียนเรื่องเล่า เขียน
                                                             ละคร ย้อนมาดูตัวเอง
                                               
---> เวลาที่เราจรดปากกาเขียน จะเป็นช่วงที่ slowdown
                                                               /Freeze
 เป็นช่วงเวลาแห่งการครุ่นคิดพิจารณา      

            การจะเขียนเรื่องเล่าที่ดีได้ ผู้เขียนต้องมีวัตถุดิบที่ดี  วัตถุดิบที่ดี ได้มาจากการช่างสังเกต ใส่ใจในรายละเอียดต่างๆของผู้คนและสิ่งแวดล้อมรอบข้าง ต้องรู้จักการฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening)

Deep Listening

·       ฟังเพื่อความเข้าใจใหม่---> ไม่ใช่ฟังเพื่อตอกย้ำความเข้าใจเก่า เพราะจะไม่เกิดการเรียนรู้ใหม่ๆ

·       ฟังเพื่อหาความหมายเชิงลึก ---> ถามต่อ เชิงลึก

·       คนฟัง จะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปพร้อมๆกับคนพูด

·       เป็น Active listening

·       ไม่อยู่ในอารมณ์รีบร้อน ---> บางที การเงียบ ชั่วครู่ ก็เป็นเสมือนกับช่วงเวลาของการรอคำตอบดีๆ ที่กำลังจะคลอดออกมาในเวลาอีกไม่นาน “Pregnant silent”

·       ไม่ด่วนตัดสิน ไม่ตัดบท ---> U-theory

·       ใช้ทวนความ ทวนคำ

ค่ะ...นี่ก็เป็นเพียงบางส่วนที่พวกเราได้เรียนรู้ร่วมกัน และเราก็หวังไว้ไม่น้อยว่า กระบวนการพัฒนาคุณภาพบริการของเราคงจะยั่งยืนต่อไปได้ ถ้ามีเรื่องเล่า เรื่องราวดีๆในองค์กร มาสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานประจำให้เป็นงานที่มีคุณภาพอยู่เสมอๆค่ะ...

หมายเลขบันทึก: 269156เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2009 05:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 19:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ทำงาน APN ของ รพ  เป็นยังไงบ้าง เล่าให้ฟังบ้างนะคะ

  • สมัยก่อนที่ยังไม่มีวิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต คนเราก็ใช้กระบวนการเล่าเรื่องนี่แหล่ะ ทั้งเล่าเรื่องราวชีวิต เล่านิทาน เล่าโศลกธรรมต่างๆ และก็เป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนมากมาย ได้เรียนรู้ และสร้างจินตนาการ
  • เคยอบรมการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง(Community for social change) มีประโยคหนึ่งที่น่าสนใจว่า ทำไมเรื่องไม่ดีๆ มันกระจายไปอย่างรวดเร็ว แบบเล่าปากต่อปากแพร่สะพัดเร็วมาก (ภาษาคำเมืองเรียกว่า "เล่าขวัญ") แล้วเราจะอย่างไรให้เรื่องราวดีดีแพร่กระจายไปแบบนี้บ้าง ยิ่งเรื่องดีดีแพร่กระจายไปเท่าไหร่ ความดีความงามยิ่งเบ่งบานไปเท่านั้น
  • เราต้องมาช่วยกันเล่าเรื่องความดีให้มาก หลักพื้นฐานสำคัญคือ "คิดดี ทำดี พูดดี สร้างบรรยากาศที่ดี และคบคนดีดี"
  • "การฟังอย่างลึกซึ้ง และใช้วาจาแห่งรัก" ก็เป็นหลักสำคัญ ซึ่งสุนทรียสนทนาที่ทีมกระบวนกร รพร.ปัว ทำอยู่ก็เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยสร้างจิตปฏิบัติที่เป็นพื้นฐานนี้
  • เคยบันทึกเรื่อง "U Theory" ไว้ที่นี่

  • สวัสดีค่ะ นู๋เล็ก
  • ขอบคุณมากเลย
  • กำลังคิืดกันว่า narrative อาจารย์สอนอะไรบ้าง
  • ขอบคุณมากค่ะ/pa_daeng

สวัสดีค่ะ มาเรียนรู้ด้วยค่ะ

ยังไม่ได้อบรมเลยค่ะ

สวัสดีคะ

แม่ต้อยจะมาบอกว่า บล้อกนี้ อาจารย์ โกมาตรเข้ามาอ่านแล้วนะคะ

อย่าลืมเขียนเรื่องราวดีดี มาลงอีกนะคะ

 

  • อยากไปอบรมบ้างจังครับ
  • ผมตอบคำถามยาวๆและมีเรื่องรบกวนที่บันทึกนี้แล้วนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท