รูปแบบและวิธีการสังเกตเด็กปฐมวัย


การสังเกตพฤติกรรมเด็กปฐมวัย

การประเมินผลจากการสังเกตและการบันทึกพฤติกรรม

รูปแบบของการสังเกตพฤติกรรมเด็ก

             การสังเกตมีอยู่ 2แบบคือ การสังเกตแบบเป็นทางการ มีวิธีการที่เป็นไปอย่างมีระบบ ได้แก่การสังเกตอย่างมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนตามแผนที่วางไว้ กับการสังเกตแบบไม่เป็นทางการ เป็นการสังเกตในขณะที่เด็กทำกิจกรรมประจำวันและเกิดพฤติกรรมที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้นและผู้สอนจดบันทึกไว้

             แบบสังเกตพฤติกรรมเด็กมีหลายรูปแบบให้ครูเลือกใช้ตามความเหมาะสม ดังนี้

             1. แบบบันทึกพฤติกรรม กระทรวงศึกษาธิการ (2546: 75-78) อธิบายว่า การสังเกตและการบันทึกพัฒนาการเด็กสามารถใช้แบบง่ายๆ โดยใช้วิธีการบันทึกเหตุการณ์เฉพาะอย่าง โดยบรรยายพฤติกรรมเด็ก ผู้บันทึกแบบบันทึกพฤติกรรมใช้บันทึกเหตุการณ์เฉพาะอย่างโดยบรรยายพฤติกรรมเด็ก และผู้บันทึกต้องบันทึก วัน เดือน ปีเกิดของเด็ก และวัน เดือน ปีที่ทำการบันทึกแต่ละครั้ง

            2. แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรม ในการสังเกตพฤติกรรมเด็กเป็นวิธีการที่ผู้สอนใช้ ในการศึกษาพัฒนาการของเด็ก เมื่อมีการสังเกตก็ต้องมีการบันทึก ผู้สอนควรทราบว่าจะบันทึกอะไรการบันทึกพฤติกรรมมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องทำอย่าง สม่ำเสมอ เนื่องจากเด็กเจริญเติบโตและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงต้องนำมาบันทึกเป็นหลักฐานไว้อย่างชัดเจน แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรม ที่ผู้สังเกตต้องบันทึก พฤติกรรมที่สังเกตเห็น และแสดงความคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะเพิ่มเติม โดยแยกการออกเป็นคนละส่วนจากผลการสังเกตพฤติกรรม กับการนำข้อมูลส่วนแรกมาแปลความหมายพฤติกรรมเด็ก

           3.แบบบันทึกรายวัน เป็น การบันทึกเหตุการณ์หรือประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนทุกวัน ถ้าหากบันทึกในรูปแบบของการบรรยายก็มักจะเน้นเฉพาะเด็กรายที่ต้องการศึกษา ข้อดีของการบันทึกรายวันคือ การชี้ให้เห็นความสามารถเฉพาะอย่างของเด็กจะช่วยกระตุ้นให้ผู้สอนได้พิจารณาปัญหา ของเด็กเป็นรายบุคคล ช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญมีข้อมูลมากขึ้นสำหรับวินิจฉันเด็กว่าสมควรจะได้รับคำปรึกษาเพื่อลดปัญหาและส่งเสริมพัฒนาการของเด็กได้อย่างถูกต้อง นอกจากนั้นยังช่วยชี้ให้เห็นข้อดีข้อเสีย ของการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ได้เป็นอย่างดี (กระทรวงศึกษาธิการ, 2546: 75-78)

          4.แบบประเมินผลพัฒนาการ เป็นวิธีการที่ต้องใช้การสังเกตพฤติกรรมเด็กและบันทึกสิ่งที่สังเกตเห็นตามรายการที่กำหนดขึ้นปัจจุบันนิยมใช้แทนแบบสังเกตมากขึ้น เพราะใช้สะดวกมีรายละเอียดกำหนดกรอบให้บันทึกได้ครบถ้วนทางพฤติกรรมและมีระดับที่บอกระดับความสามารถหรือระดับพัฒนาการ สำหรับข้อจำกัดของแบบประเมินผลพฤติกรรมคือไม่มีการบันทึกข้อมูลปลายเปิด อาจขาดการบันทึกพฤติกรรมสำคัญลงไปในการประเมินผลพัฒนาการเพื่อกำหนดความชัดเจนของพฤติกรรมที่น่าเชื่อถือได้ การใช้แบบประเมินผลพัฒนาการหรือ Checklistsถือเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้ครูเข้าใจพฤติกรรมเด็กได้ดีขึ้นในการใช้แบบประเมินผลพัฒนาการนั้น ครูประจำชั้นจะต้องตั้งวัตถุประสงค์ว่าต้องการจะศึกษาอะไรหลังจากนั้นนำมาสร้างแบบประเมินผลพัฒนาการโดยอาศัยทฤษฎีพัฒนาการ (นภเนตร ธรรมบวร, 2537:48)แบบประเมินผลพัฒนาการถือเป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับการประเมินรูปแบบพฤติกรรมของเด็ก การใช้แบบประเมินผลพัฒนาการจะให้ได้ผลดีที่สุดว่ามีการใช้ควบคู่กับการสังเกตพฤติกรรมเด็กอย่างเป็นระบบ การใช้แบบประเมินผลพัฒนาการช่วยประหยัดเวลาครูประจำชั้นได้มากในกรณีที่ครูประจำชั้นไม่มีเวลามากนัก แต่ในขณะเดียวกันถ้าใช้แบบประเมินผลพัฒนาการแต่เพียงอย่างเดียว ครูประจำชั้นก็ไม่อาจทราบถึงรายละเอียดของพฤติกรรม พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กข้อที่ควรระมัดระวังอีกอย่างหนึ่งในการใช้แบบประเมินผลพัฒนาการ คือครูมีแนวโน้มที่เช็คพฤติกรรมที่เกิดขึ้นของเด็กให้อยู่ในช่วงกลางๆ มากกว่าที่จะเป็นช่วงต่ำสุดหรือสูงสุด

วิธีการสังเกตพฤติกรรมเด็ก

                กระทรวงศึกษาธิการ(2546: 75-78) ได้กล่าวว่าการที่จะได้ข้อมูลของพฤติกรรมที่ต้องการจะพัฒนาเด็กอย่างถูกต้องนั้น ครูคือผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่สุด สอดคล้องกับแนวคิดของประกายรัตน์ ภัทรธิติ (2531:227-233) ที่กล่าวว่าสิ่งสำคัญที่สุดในการที่ครูจะพัฒนาพฤติกรรมของนักเรียนให้ได้ผลนั้น ครูต้องเป็นนักสังเกตพฤติกรรมที่ดีเสียก่อน จึงจะทำให้ครูได้ข้อมูลพื้นฐาน (Baseline Data) ของพฤติกรรมที่ต้องการจะพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงซึ่งข้อมูลเหล่านั้น จะช่วยให้ครูสามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้องว่า พฤติกรรมใดควรพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลง อีกทั้งทำให้รู้ว่าโปรแกรมการพัฒนาเด็กหรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่สร้างขึ้นนั้นได้ผลเพียงใด และในขณะที่สังเกตนั้น ผู้สังเกตจะต้องไม่ทำให้ผู้ถูกสังเกตรู้เพราะจะทำให้ผู้ถูกสังเกตระวังตัว ซึ่งอาจทำให้ข้อมูลที่ได้ผิดพลาดไป ดังนั้นในการสังเกตพฤติกรรมเด็กปฐมวัย จึงมีหลักการเลือกสังเกต โดยครูจะต้องเลือกสถานที่ทำการสังเกตพฤติกรรมว่าพฤติกรรมเกิดขึ้นที่สถานที่ใดบ่อยที่สุดก็เลือกสถานที่นั้น เป็นสถานที่ที่ทำการสังเกตพฤติกรรม จากนั้นเลือกเวลาที่จะทำการสังเกตพฤติกรรม ผู้สังเกตจะทำการสังเกตโดยการสุ่มเวลาที่จะทำให้ได้ข้อมูลที่ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด เนื่องจากว่าไม่มีพฤติกรรมใดที่จะเกิดบ่อยครั้งในช่วงเวลาเดียวกันตลอดเวลา

               ในการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนควรสังเกตจากการเล่นในกิจกรรมประจำวันทุกกิจกรรมจึงจะสามารถมองเห็นพัฒนาการเด็กได้แน่นอนยิ่งขึ้น

                ในกระบวนการสังเกตพฤติกรรมนั้น ครูหรือใคร ก็ตามที่เป็นผู้สังเกต ไม่ควรที่จะสังเกตหลายๆ พฤติกรรมในเวลาเดียวกัน นอกจากว่าจะมีประสบการณ์ในการสังเกตเป็นอย่างดีแล้ว เพราะว่าจะทำให้เกิดความสับสนได้ อันเป็นเหตุให้ได้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงและแบบสังเกตพฤติกรรมอาจเลือกใช้ได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับทักษะของผู้ใช้และบริบทของสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

หมายเลขบันทึก: 268502เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2009 12:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 15:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ นะคะ อ.ชไมมนคนสวยยยยย >w<

รัฐญา สกุลไพรล้ำเลิศ

สวัสดีค่ะอาจารย์

ขอบคุณสำหรับบทความดีดีนะค่ะ

สู้ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆค่ะ

รักการสอนของอาจารย์มากค่ะ

ศิริรัตน์ สุยะราช

ขอบพระคุณค่ะสำหรับบทความดีๆ

ชอบวิธีการสอนของ อ. มากคะ

อะ บะ ดิ บี๊ มากๆๆ

ชอบการสอนของอาจารย์มากคะ มีอะไรดีๆๆบอกหนูบ้างนะคะ ส่งตามอีเมลล์นี้นะคะ [email protected]

ขอขอบพระคุณสำหรับบทความดีๆค่ะ อ.สอนนักศึกษาเก่งมากค่ะ หนูชอบทุกวิชาที่เรียนกับ อ.ชไมมน รักคุณครูคนสวยคนนี้มากค่ะ

จาก นักศึกษา กฐ.52 ค5.1 ภาคปกติ

นางสาว จีรวรรณ จารี

สวัดดีค่ะอาจารย์คนสวย

ขอบคุณอาจารย์

มากค่ะ สำหรับสิ่งอาจารย์สอนมาค่ะ

เป็นความรู้มากค่ะ

นางสาวเนาวรัตน์ เจตดุ

กราบเรียนอาจารย์ชไมมนที่เคารพ

ดิฉันมีเรื่องรบกวนอาจารย์คะ คืออยากทราบว่าการศึกษาแนววอลดอร์ฟ มีการใช้เครื่องมือใดบ้างในการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนคะ ในเมื่อการศึกษาแนวนี้ไม่เห็นด้วยกับการใช้แบบทดสอบ มีการสร้างเครื่องมือวัดโดยเฉพาะเหมือนการเรียนการสอนแบบไฮสโคปไหมคะ

ขอความกรุณาอาจารย์ช่วยไขปัญหาข้องใจให้ด้วยนะคะ พอดีดิฉันได้รับมอบหมายให้ทำรายงานเรื่องการศึกษาแนววอลดอร์ฟนะคะ

ขอบคุณคะ

แล้ว วิธีการสังเกตุ แฟนด้วยจิตวิทยาอ้า ครับ

จะสามารถทำได้ อย่างไร ( แฟนดูแปลกๆ เหมือนจะมีชู้อะครับ แต่เราไม่สามารถรู้ได้ )

จะใช้จิตวิทยาส่วนไหนมาพิสูจน์

ขอบคุณค่ะ สำหรับความรู้ดีดี

เรียนอาจารย์

เนื่องจากอยากสอบถามท่านอาจารย์ค่ะว่าในการสร้างเครื่องมือประเมินหรือการสังเกตพฤติกรรมเด็กนั้น หากเป็นกิจกรรมกีฬาสี ถ้าจะสร้างเครื่องมือขึ้นมาวัดและประเมินผลนั้นต้องสร้างขึ้นโดยวัดเป็นกลุ่มหรือว่าเป็นรายบุคคลค่ะ แต่ในการแข่งขันกีฬาเด็กบางคนไม่ได้แข่งขันรบกวนแนะนำด้วยนะค่ะ

ขอขอบคุณมากๆค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ อาจารย์สบายดีมั้ยคะหนูเดาว่าอาจารย์คงจะสบายดีและก็อยากให้เป็นเช่นนั้นคะ หนูยังจำคำสอนของอาจรย์ได้ว่าอย่าล้อเล่นกับชีวิต คำที่อาจารญืสอนเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจที่สำคัญของหนูขอบพระคุณนะคะ

น.ส.เบญจวรรณ ศรีรักษา

อยากทราบรายละเอียด ในการสังเกตเด็กให้มากว่านี้คะ มีรัย แนะนำ ส่ง ตาม อีเมล นี้นะคะ banroro39_hotmail.com จักขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง ค่ะ

ข้อมุลที่ให้ชมดีมาก แต่ไม่ได้เป็นสมาชิก

อยากทราบว่าระยะเวลาที่ใช้ในการสังเกตพฤติกรรมของเด็กจะต้องใช้ระยะเวลากี่สัปดาห์ สัปดาห์ละกี่วัน และใช้เวลาเท่าไหร่ จึงจะเหมาะสมในการสังเกตพฤติกรรมของเด็กค่ะ ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท