อบรมการทำการเกษตรแบบธรรมชาติตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง


เพื่อนำความรู้มาใช้ในงานด้านปศุสัตว์ที่ทำอยู่โดยเฉพาะเรื่องการทำอาหารเลี้ยงสัตว์แบบธรรมชาติ การนำเอาจุลินทรีย์มาใช้ในการเกษตรทั้งทางพืช ปศุสัตว์ ประมง โดยหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี เน้นการลดต้นทุน ประยุกตืการทำปุ๋ย อาหารสัตว์เองพึ่งตนเอง ใช้ปัจจัยการผลิตเองให้มากที่สุด พัฒนาสิ่งแดล้อม การดำเนินงานเน้นปรัชญาเครษฐกิจพอเพียงของในหลวงมาวางแผนดำรงชีวิตเพื่อช่วยเหลือตัวเองได้อย่างมั่นคงยั่งยืน โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

นับว่าโชคดีมากที่คุณจเร หลิมวัฒนา ชวนไปอบรมการทำเกษตรธรรมชาติ ที่บ้านของอาจารย์พงษ์พันธ์ นันทขว้าง บ้านเวียงยอง จังหวัดลำพูน พร้อมกับกลุ่มเกษตรกรปศุสัตว์อินทรีย์บ้านเกี๋ยงหนองข่วง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย เพื่อนำความรู้มาใช้ในงานด้านปศุสัตว์ที่ทำอยู่โดยเฉพาะเรื่องการทำอาหารเลี้ยงสัตว์แบบธรรมชาติ ไปถึงบ้านอาจารย์ช้าสายมากทำให้ได้เรียนแบบเร่งรีบอย่างไรก็ตามได้แนวคิดหลักการหลายอย่าง เช่น ความหมายของเกษตรธรรมชาติ ที่หมายถึงการนำเอาจุลินทรีย์มาใช้ในการเกษตรทั้งทางพืช ปศุสัตว์ ประมง โดยหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี เน้นการลดต้นทุน ประยุกตืการทำปุ๋ย อาหารสัตว์เองพึ่งตนเอง ใช้ปัจจัยการผลิตเองให้มากที่สุด พัฒนาสิ่งแดล้อม การดำเนินงานเน้นปรัชญาเครษฐกิจพอเพียงของในหลวงมาวางแผนดำรงชีวิตเพื่อช่วยเหลือตัวเองได้อย่างมั่นคงยั่งยืน โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

สรุปองค์ประกอบการอบรมการทำการเกษตรแบบธรรมชาติคือคือ

๑.การผลิตเชื้อจุลินทรีย์ ๓ ประเภท ๗ ชนิด

ประเภทที่ ๑ การทำน้ำหมักจากพืชมี ๓ ชนิด -จากพืชสีเขียวและสด

                                                        -จากผลไม้สุก

                                                        -จากพืชสมุนไพร

ประเภทที่ ๒ การทำน้ำหมักจากน้ำซาวข้าว มี ๓ ชนิด -แลกโตบาซิลลัสจากนมสด

                                                                   -แคลเซี่ยมจากเปลือกไข่

                                                                   -ฟอสฟอรัสจากถ่านกระดูกสัตว์

ประเภทที่ ๓ การทำน้ำหมักจากสัตว์ ได้แก่กุ้ง หอย ปู ปลา ไส้เดือน รกหมู ฯลฯ อย่างใดอย่างหนึ่ง รวมกันไม่ได้

๒.การผลิตเชื้อราขาว/จุลินทรีย์ท้องถิ่น

   ๒.๑. การเก็บเชื้อราขาว

   ๒.๒.การต่อหัวเชื้อราขาว

   ๒.๓.การขยายหัวเชื้อราขาว

๓.การทำปุ๋ยหมักจากเชื้อราขาว

   ๓.๑.โดยคนทำ

   ๓.๒.โดนสัตว์ทำ

๔.การเลี้ยงสัตว์

   ๔.๑.การวางแผนการเลี้ยงสัตว์

   ๔.๒.การผลิตอาหารสัตว์

   ๔.๓.การผสมอาหารสัตว์

   ๔.๔.การให้อาหารและน้ำสัตว์

๕.การทำคอก

   ๕.๑.การสร้างคอกหมูและคอกสัตว์อื่นๆ

   ๕.๒.การทำพื้นคอก

๖.การปลูกพืช

   ๖.๑.การวางแผนการปลูกพืช

   ๖.๒.การบำรุงรักษา

๗.การผลิตจุลินทรีย์ป้องกันและกำจัดศัตรูพืชและสัตว์

๘.การพัฒนาสิ่งแวดล้อม

   ๘.๑.การกำจัดขยะ

   ๘.๒.การบำบัดน้ำเสีย

   ๘.๓.การกำจัดกลิ่นเหม็น

สนุกสนานได้รับความรู้วิชาการก่อนปูพื้นที่ไม่เคยสัมผ้สมาก่อน   แล้วค่อยเล่าต่อตอนต่อไปครับ

หมายเลขบันทึก: 268191เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2009 22:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เนื้อหาดูไม่ใช่เรื่องใหม่นะ

แต่การเล่าของคุณหมอดูจะเจือด้วยความรู้สึกตื่นเต้นลึกๆ

คงมีบางสิ่งบางอย่างที่พิเศษเป็นแน่

น่าสนใจดีน้อ ธรรมชาตอบำบัดเอง

เกษตรแบบนี้ ยั่งยืนดีน้อ

จาวหลวงล้านนา

ของเก่านะแต่ว่าการนำไปปฏิบัติจริงยังไม่มีครับ

ผมว่าจะลองดูครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท