การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษา


นับตั้งแต่มีการพัฒนาไมโครคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานในปี ๒๕๑๘ ต่อจากนั้นได้เกิดวิวัฒนาการองค์ประกอบต่าง ๆ ของไมโครคอมพิวเตอร์อย่างรวดเร็ว รวมทั้งมีการประยุกต์นำไปใช้งานต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง ทางด้านการศึกษาก็เช่นเดียวกัน ได้มีการประยุกต์นำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ต่าง ๆ หลายด้านด้วยกัน โดยประยุกต์การใช้งานที่สำคัญ

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานการศึกษา  ดังนี้

                  ๑.  ใช้ในการคำนวณ    เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคแรก ๆ ที่สร้างขึ้นถูกนำไปใช้ประโยชน์ทางด้านคำนวณก่อน  โดยมีผู้ประดิษฐ์เครื่องคำนวณในยุคแรก ๆ หลายแบบด้วยกัน   ได้แก่  เครื่องคำนวณที่ใช้เฟืองเป็นคนแรก ในปี พ.ศ. ๒๓๘๕    เครื่องคำนวณที่เรียกกันว่า Leibniz ซึ่งใช้ระบบกลไกและเป็นต้นแบบของเครื่องคิดเลข  ในปี พ.ศ. ๒๔๕๓  จนกระทั่งมีการสร้างเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกในโลก  พ.ศ. ๒๔๘๘  มีเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เรียกว่า Personnel Computer เกิดขึ้นเป็นเครื่องแรก คือเครื่อง Apple II   พ.ศ. ๒๕๒๐  บริษัท IBM  สร้างเครื่อง Personal Computer ขึ้น และวิวัฒนาการเป็นต้นแบบของเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ก็แพร่หลายไปทั่วโลก  ที่เรียกกันว่า IBM Computer Microcomputer    พ.ศ. ๒๕๒๔   

           การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในยุคแรกนั้นจะใช้ในการคำนวณเป็นส่วนใหญ่  โดยเขียนโปรแกรมคำสั่งให้คอมพิวเตอร์คำนวณตามฟังก์ชั่นที่กำหนด  เช่น  การนับจำนวนประชากร  การหาค่าเฉลี่ยต่าง ๆ เช่น อายุ ความสูง รายได้ของประชากร   คอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้ในระยะแรก ๆ จึงนำเข้ามาใช้เพื่อการสำมะโนประชากร  และต่อมาก็นำไปใช้ในการจัดทำบัญชีซึ่งมีการคำนวณตัวเลขจำนวนมาก และเริ่มเข้าไปใช้ในการคำนวณทางวิศวกรรม

                  ๒.   ใช้เก็บข้อมูลและคำนวณควบคู่กัน    เกิดจากวิวัฒนาการในความสามารถสร้างสื่อเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ขึ้น  เช่น  เทปเก็บข้อมูล จานแม่เหล็กเก็บข้อมูล  และดิสเก็ต ที่มีขนาดเล็กลง แต่สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้นและมีราคาต่ำลงDiskette ที่ใช้เก็บข้อมูลในสมัยแรกมีขนาด ๘ นิ้ว  ต่อมาได้ลดขนาดลงเป็น ๕.๒๕ นิ้ว และ ๓.๕ นิ้ว ตามลำดับ แต่สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น   ในปัจจุบันได้วิวัฒนาการเป็นแผ่น CD และ DVD ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลได้ถึง ๑๐ GB   ซึ่งหากเปรียบเทียบกับ Diskette ๕.๒๕ นิ้ว  ที่มีขนาดใกล้เคียงกันแต่เก็บข้อมูลได้เพียง ๓๖๐ KB  จะเห็นว่าเก็บข้อมูลได้แตกต่างกันมาก  

                  ๓.   ใช้ทำงานในสำนักงานทั่วไป      เป็นวิวัฒนาการสำคัญโดยการสร้างโปรแกรมชุดคำสั่งงานคอมพิวเตอร์    เป็นโปรแกรมคำสั่งงานที่มีขนาดใหญ่และสามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้นด้วยวิวัฒนาการสำคัญที่ควรกล่าวถึงก็คือ  การใช้คอมพิวเตอร์ในการประมวลผลคำ (Word processing)  และขณะเดียวกันก็มีการสร้างโปรแกรมเพื่อเก็บข้อมูลและคำนวณผลเบื้องต้นได้   จึงเกิดเป็นโปรแกรมตารางทำงาน ( Work sheet)  ทำให้คอมพิวเตอร์ถูกนำไปใช้งานต่าง ๆ ในสำนักงานได้อย่างกว้างขวาง

                  ๔.   ใช้ในงานกราฟิกและภาพเคลื่อนไหว   เป็นวิวัฒนาการต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๗  คือ  การก้าวไปสู่การใช้คอมพิวเตอร์ในงานกราฟิก  รูป และภาพเคลื่อนไหว   เป็นการก้าวไปสู่ยุคสื่อผสม (Multimedia)  ซึ่งต้องมีสื่อเก็บข้อมูลขนาดใหญ่และมีความเร็วสูงในการประมวลผลข้อมูล   วิวัฒนาการช่วงนี้ใช้เวลานานประมาณ ๑๐ ปี จึงทำให้การเก็บและประมวลผลข้อมูลสื่อผสมสามารถใช้ได้เหมาะสมกับความต้องการ

                  ๕.   ใช้ในการสื่อสาร   เป็นวิวัฒนาการที่สำคัญอย่างยิ่ง ได้แก่  การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ และการสื่อสารทางไกลร่วมกัน    เกิดเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Telecommunication Technology)  ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ที่เรียกว่า อินเทอร์เน็ต (Internet)  ในปี พ.ศ. ๒๕๑๒   โดยเริ่มต้นจากมหาวิทยาลัย  ๔ แห่ง  ในประเทศสหรัฐอเมริกา และขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อกันได้ทั่วโลก   โดยผ่านช่องทางสื่อสารที่มีใช้กันอยู่แล้วทั้งโทรศัพท์และเคเบิ้ลที่เชื่อมต่อกันในการใช้งานต่าง ๆ    การใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๑  ต่อมามีการขยายตัวรวดเร็วอย่างต่อเนื่อง  จนกระทั่งในปัจจุบันประมาณกันว่ามีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกถึง ๘๐๑.๔  ล้านคน

                  นวัตกรรมอินเทอร์เน็ตเกิดจากความต้องการสื่อสารของทหารที่ต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารระหว่างเครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ ที่มีระบบต่างกัน   ทำให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันสามารถสื่อสารกันได้   ซึ่งเป็นก้าวสำคัญของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องสามารถเชื่อมต่อเข้าด้วยกันได้  และขยายออกไปอย่างไม่มีขอบเขต   ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจึงเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่ต่อเชื่อมกันเหมือนใยแมงมุมที่เรียกว่า World Wide Web  หรือ WWW. โดยนำเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อเชื่อมกันผ่านเครือข่ายโทรศัพท์   และวิวัฒนาการต่อมาในปัจจุบันจนสามารถเชื่อมต่อกันได้โดยไม่ต้องใช้สายโทรศัพท์  เรียกว่า  Wireless Internet หรือ WiFi  ซึ่งมีรัศมีกระจายคลื่นประมาณ ๑๐๐ เมตร   ในอนาคตอันใกล้กำลังเกิดเทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่า WiMAX  มีขีดความสามารถเพิ่มขึ้นประมาณ ๑,๐๐๐ เท่า  ซึ่งจะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ ณ จุดที่ห่างไกลประมาณ ๒๐ ไมล์ สามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้

              .  การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร   เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่สำคัญในปัจจุบัน   มีมากมาย  ที่สำคัญควรจะได้ทำความเข้าใจได้แก่ สื่อมัลติมีเดีย, Digital Content,  e-Library  และ e-Learning

                     . สื่อมัลติมีเดีย หมายถึง สื่อที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบด้วย ตัวเลข ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง โดยอาจรวมเอาการตอบโต้กับผู้ใช้ได้ด้วย สื่อมัลติมีเดียสามารถสื่อสารผ่านประสาทสัมผัสได้หลายทางพร้อม ๆ กัน  สามารถสร้างความเข้าใจได้ดีขึ้นกว่าสื่อที่เป็นเอกสาร

                        ๖.๒ Digital Content  หมายถึง  สื่อที่สามารถใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์และมีเนื้อหาครอบคลุมวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ เราสามารถแบ่ง Digital Content ออกได้ ๓ ระดับ คือ Media, Topics, และ Curriculum  (Horton, ๒๐๐๔)    ADB (๒๐๐๔) แบ่ง Digital Content ออกเป็น ๕ ประเภทตามวัตถุประสงค์ของการใช้ คือการฝึก  การทบทวน  การเล่นเกม  การจำลองสถานการณ์  และ สื่อมัลติมีเดีย    สื่อแต่ละประเภทจะช่วยให้ผู้เรียนได้สำรวจและค้นพบตัวเองด้านความถนัดในการเรียนรู้แบบต่าง ๆ  และช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่สร้างความคิด  การสำรวจ  และสร้างสถานการณ์จำลองในการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น

                        ๖.๓ E-Library  เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลและความรู้ที่อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีระบบ CMS (Content Management System) เป็นตัวจัดการ  เพื่อให้ข้อมูลและความรู้ถูกเก็บอย่างเป็นระบบ  สามารถค้นหาและนำมาใช้ได้อย่างสะดวก   e-Library เป็นสิ่งจำเป็นในการรวบรวมความรู้เพื่อใช้ในงานต่าง ๆ  รวมทั้งเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่สำคัญต่อไป   การค้นหาข้อมูลและความรู้ที่จัดเก็บไว้อาจจะใช้หลายรูปแบบ  เช่น  การเลือกหัวข้อเรื่อง และดูทั้งหมดตามลำดับที่เก็บรวบรวมไว้หรือค้นหาจากคำหรือใจความที่จัดเก็บก็ได้   การจัดเก็บกับการค้นหาจึงต้องทำควบคู่กันไป

                        ๖.๔ E-Learning เป็นรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา มีผู้ให้นิยามความหมายของ e-Learning ไว้มากมาย  อาทิ Quah  (ADB, ๒๐๐๔)  ให้ความหมายว่า   e-Learning  เป็นทั้งการเรียนรู้เพิ่ม เติมและการเรียนรู้ประกอบ  สามารถเรียนได้เป็นอิสระจากเวลาที่กำหนด  สามารถใช้ในการเรียนรู้ของคนปริมาณมากโดยไม่จำกัดสถานที่   ทำให้บทบาทของผู้สอนและผู้เรียนเปลี่ยนแปลงไป   ผู้สอนทำหน้าที่เหมือนผู้ดูแล  แนะนำ จัดการ ติดตามผู้เรียน และสร้างสื่อการเรียนรู้     ในขณะที่ผู้เรียนแสดงบทบาทเป็นผู้เสาะแสวงหา สังเกต วิจัย วิเคราะห์  และแก้ปัญหา  สุรสิทธิ์ วรรณไกรโรจน์ ให้คำจำกัดความ -Learning ว่า เป็นการเรียนรู้แบบออนไลน์ On – line ซึ่งอาจจะผ่านอินเทอร์เน็ตหรืออินทราเน็ต (Intranet) เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง   ผู้เรียนจะได้เรียนตามความสามารถและความสนใจของตนเอง  โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย  ข้อความ รูปภาพ  เสียง  วิดีโอ และมัลติมีเดียอื่น ๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่าน Web browser  โดยผู้สอน ผู้เรียน และผู้เข้าร่วมชั้นเรียน  สามารถติดต่อ  ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นปกติ  โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัย (เช่น  e-mail, web-board, chat)  จึงเป็นการเรียนสำหรับทุกคน เรียนได้ทุกเวลา และทุกสถานที่    

       โดยการประยุกตย์ใช้ ICT ในการบริหารจัดการศึกษาในโรงเรียนสามารถประยุกต์ใช้ในด้านอื่น ๆ อย่างหลากหลาย ดังนี้

             ภาพตัวอย่างจาก   โรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี)๔

หมายเลขบันทึก: 268100เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2009 14:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นเนื้อหาที่น่าสนใจมาก ซึ่งตอนนี้ผมกำลังศึกษาอยู่ ขอบคุณมากที่ให้ความรู้

ออกสอบมั้ยครับ ท่านอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท