ด.ช.ไป่ชิดโซ่ กับบัตรแขวนคอของแม่


รัฐไทยมีขั้นตอนในการส่งกลับอย่างไร หลังจากที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว คงจะไม่ใช่การส่งกลับ เช่นการปล่อยปลาลงทะเลในเส้นแบ่งแดน แล้วให้ปลาว่ายน้ำข้ามกลับไปเอง เพราะถือว่าหมดภาระหน้าที่ของรัฐไทยที่ชายแดนแล้ว

           ไป่ชิดโซ่ (นามแฝง) เป็นเด็กชายที่เกิดจากแม่และพ่อชาวพม่า ในโรงพยาบาลระนอง พ่อแม่ของไป่ชิดโซ่มาจากมะริด

 

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2548 ด.ช.ไป่ชิดโซ่ถือกำเนิดในขณะที่พ่อแม่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว และยังไม่มีทะเบียนประวัติ เมื่อเดือน 5 ที่ผ่านมาแม่ของไป่ชิดโซ่มาขอความช่วยเหลือในการแจ้งการเกิดลูก

 

เอกสารที่เธอใช้ก็เป็นบัตรแขวนคอที่ออกโดยจังหวัดระนอง และเป็นเอกสารเดียวที่มีชื่อแม่ตรงกันทั้งในหนังสือรับรองการเกิด (ท.ร.1/1) และบัตรข้างต้น การแจ้งเกิดของลูกเธอจึงไม่มีปัญหา เธอสามารถแจ้งเกิดลูกโดยใช้บัตรแขวนคอนั้น

 

แต่ว่าเมื่อบัตรแขวนคอมิใช่บัตรแรงงานจึงไม่มีทะเบียนประวัติอยู่ในท.ร.38/1 และพ่อก็ไม่มีบัตรอะไร ลูกเธอจึงได้สูติบัตรประเภท (บุตรบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน) ท.ร.031 และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลาง

 

การแจ้งเกิดลูกของเธอประสบความสำเร็จ ลูกเธอได้สูติบัตรเป็นที่เรียบร้อย และด.ช.ไป่ชิดโซ่ พ้นจากสภาวะไร้รัฐในทันที หลังจากที่ต้องตกอยู่ในสภาวะไร้รัฐมาเป็นเวลา 4 ปีกว่า

 

สิ่งที่ผมกังวลใจ

1.ลูกเธอจะอยู่ในประเทศไทยได้เพียงใด เพราะถึงบัดนี้ก็ยังไม่มีกฎกระทรวงออกตามม.7 แห่ง พ.ร.บ. (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551

2.ผมไม่แน่ใจว่าพ่อแม่ของเธอจะไปขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวรอบใหม่หรือไม่ หากไม่ไป สถานะของลูกเธอจะเป็นเช่นไรต่อไป

3.หากพ่อแม่เธอขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวรอบใหม่ ลูกเธอจะอยู่ในประเทศไทยตามสิทธิของพ่อแม่หรือไม่ อย่างใด

4.หากมีการผลักดันด.ช.ไป่ชิดโซ่ ออกไปนอกประเทศไทย รัฐพม่าจะรับด.ช.ไป่ชิดโซ่หรือไม่ หากรับสภาพความเป็นอยู่ของด.ช.ไป่ชิดโซ่จะเป็นอย่างไร

 

สิ่งที่ผมไม่รู้ คือกระบวนการผลักดันคนออกนอกประเทศไทย

1.รัฐไทยมีขั้นตอนในการส่งกลับอย่างไร หลังจากที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว คงจะไม่ใช่การส่งกลับ เช่นการปล่อยปลาลงทะเลในเส้นแบ่งแดน แล้วให้ปลาว่ายน้ำข้ามกลับไปเอง เพราะถือว่าหมดภาระหน้าที่ของรัฐไทยที่ชายแดนแล้ว

2.ทางรัฐพม่ามีขั้นตอนในการรับคนส่งกลับอย่างไร พิจารณาอย่างไรในการรับใครสักคนว่าเป็นคนของเขา หรือรัฐพม่ารับหมดทุกคน ที่รัฐไทยอ้างว่าเป็นพลเมืองของเขา

หมายเลขบันทึก: 267944เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2009 21:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผมพยายามลองตอบข้อกังวลใจดูนะครับ

1.ลูกเธอจะอยู่ในประเทศไทยได้เพียงใด เพราะถึงบัดนี้ก็ยังไม่มีกฎกระทรวงออกตามม.7 แห่ง พ.ร.บ. (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551

- คำตอบยังอยู่ในสายลมครับ ก็ยังอยู่ไปได้เรื่อย ๆ เป็นภาวะสุญญากาศของการจัดการต่อไป ใบมีอายุสิบปีใช่ไหมครับ ก็อยู่กันไปแบบนี้

2.ผมไม่แน่ใจว่าพ่อแม่ของเธอจะไปขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวรอบใหม่หรือไม่ หากไม่ไป สถานะของลูกเธอจะเป็นเช่นไรต่อไป

- สถานะก็น่าจะเหมือนคนถือบัตรเลขศูนย์ทั่วไป ล่องลอย ไร้ที่ยึดเหนี่ยว ไร้อนาคต แต่เป็นไปได้ก็อยากให้เธอไปจดทะเบียนนะครับ เพราะมันก็จะเพิ่มช่องทางในการแก้ไขปัญหาให้แก่เธอและลูกเพิ่มขึ้นระดับหนึ่ง

3.หากพ่อแม่เธอขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวรอบใหม่ ลูกเธอจะอยู่ในประเทศไทยตามสิทธิของพ่อแม่หรือไม่ อย่างใด

- ไม่น่าจะมีสิทธิตามพ่อแม่ครับ เพราะในมติระบุชัดว่าเฉพาะตัวแรงงานไม่รวมถึงครอบครัวผู้ติดตาม สถานะของลูกเธอก็ยังเป็นบุคคลที่ยังไม่มีสถานะทางทะเบียนต่อไป

เรื่องการส่งกลับ และเรื่องรัฐบาลพม่า ผมก็ยังไม่รู้เหมือนกัน เรื่องรัฐบาลพม่า ผมก็ยังคิดไม่ออกว่าจะเป็นอย่างไร อาจจะโชคดีรับหมด ถ้าคนที่กลับไปสัญญาว่าเลือกตั้งที่จะถึงจะเลือกพรรคของรัฐบาลทหารมั้ง โดยส่วนตัวผมว่าการเมืองพม่ามันเดายากพอควร สิ่งที่เห็นอาจจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ได้ที่คิดว่าได้ อาจจะสลายไปชั่วพริบตา

(ขี้เกียจ log in เลยใช้ชื่อและเมล์แบบนี้ไปพลาง ๆ ก่อน)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท