SEROIUS GAME : I GAME4SOCIETY


 

วันนี้ผู้เขียนได้เข้าร่วมเสวนาเรื่อง I-game computer 4 Society เมื่อวันจันทร์ที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๒ ณ ห้องประชุม ๑ ชั้น ๒๑ กระทรวงวัฒนธรรม โดยศูนย์พัฒนาปัญญาคม และ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล ว่าด้วยเรื่องเนื้อหาของเกมคอมพิวเตอร์ กับการพัฒนาเด็ก เยาวชนและครอบครัว โดยชักชวนผู้ที่เกี่ยวข้องในวงการเด็กและเยาวชน เครือข่ายผู้ปกครอง

บรรยากาศการเสวนา โดยการเปิดงานของ รศ.วรรณะ มหากิตติคุณ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาปัญญาคม (MUWAC)  พูดถึงโครงการเสวนาขับเคลื่อนสังคมในครั้งนี้ว่าหากมองเกมในทิศทางสร้างสรรค์ ทิศทางในการพัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ในกับเด็กและเยาวชนในด้านต่างๆ ได้ โดยชี้แจ้งการเสวนานี้จะแบ่งออกเป็น ๓ ครั้ง โดยในครั้งแรกต้องการค้นหาว่าสังคมไทยมีประเด็นใดบ้างที่จะนำมาพัฒนาเป็นเกมที่ส่งเสริมได้ โดยเกมประเภทนี้เรียกว่า serious game โดยสังคมไทยอาจจะยังไม่เข้าใจและมีทัศนคติกับคำว่า serious ไปในทางลบ อาจจะเรียกเกมประเภทนี้ว่า I Game หรือ Intelligent game ก็เป็นได้  ถัดมาคือการค้นนาแนวร่วมในการพัฒนาประเด็นนั้นเพื่อเป็นเกมต่อไป และสุดท้ายนั้นคือเพื่อการ หาแนวทางในการบริหารจัดการ โดยเน้นการร่วมทุนของสังคม ทั้งภาครัฐและเอกชน วิชาการและภาคประชาชน

โดย นายพีรพัทธฺ  ..............จากกลุ่ม ไดเมนชั่นพลัส ตัวแทนเยาวชนที่เป็นผู้ผลิตเกมเล่าเรื่องความหมายของ Serious game ว่าเป็นไม่เป็นเพียงเกมส่งเสริมการศึกษาแต่เพียงอย่างเดียว แต่ที่สำคัญที่สุดของความเป็นเกม คือ ยังคงความสนุกไว้ โดยนำตัวอย่าง serious game มาให้ชมกัน อาทิ เกม เพื่อการแพทย์ เกมจำลองการรบ เกมช่วยเหลือผู้อพยพ เป็นต้น โดยประเด็นที่นายพิรพัทธ์สนใจเพื่อนำมาพัฒนาเป็น serious game คือ เกมที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมและ

   
   
ความสามัคคี

นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ ได้ให้แนวทางเกี่ยวกับประเด็นไว้ดังนี้คือ ในส่วนแรกจะต้องเป็นเกมที่สนุก และท้าทายไว้ แต่ต้องส่งเสริมสาระความรู้  ประการที่สองควรจะเป็นเกมที่ฝึกทักษะให้เด็กสามารถผ่านสถานการณ์ต่างๆในชีวิตได้  และ ท้ายที่สุดคือเกมที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวแต่สิ่งสำคัญสำหรับเกมในบ้านเราคือ ควรระวังเส้นบางๆระหว่างการผจญภัย ท้าทาย และความรุนแรงที่เกิดขึ้นในเกมด้วย ยกตัวอย่างเช่น เกมจำลองการรบนั้น อาจจะต้องมาดูกันว่าแค่ไหนถึงจะเหมาะสม

ในช่วงของการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นก็เป็นไปโดยความเป็นมิตร

รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร  ได้ชวนกันสร้างจินตนาการของวัยเด็กเำพื่อหาประเด็นเกมที่ในเวทีวันนี้ต้องการ.......

นายธเนศ จิตต์สว่าง ผู้จัดการทั่วไปบริษัท ฟิวเจอร์เกมเมอร์ จำกัด ได้นำเสนอถือการกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนไปก่อนว่าเราจะทำเกมให้ใคร เช่น กำหนดว่าเป็นกลุ่มคนเล่นเกมกระแสหลัก หรือเฉพาะ เพื่อความชัดเจนในการออกแบบเนื้อหาให้เหมาะสมกับแต่ละกลุ่ม  สำหรับประเด็นในแง่ของเนื้อหานั้นเป็นเนื้อหาใดก็ได้แต่อย่างไรควรมีความทันสมัย เช่น เกมสามก๊กซึ่งในเกมมีความคล้ายคลึงกับประวัติศาสตร์ และได้สอดแทรกเกร็ดความรู้ทางประวัติศาสตร์เข้าไปเล็กน้อยก็ทำให้คนเล่นสนุกได้  และมีการตีความเนื้อหาที่แตกต่างกันไป  และนำเสนอถึงวิธการเล่นที่ควรเป็นเกมที่สามารถเล่นได้มากกว่า  ๒ คนขึ้นไป แต่ในส่วนตัวหากจะสนับสนุนให้เด็กเล่นเกมสร้างสรรค์ในมากขึ้นก็จะต้องสร้างให้ได้รับความนิยมในวงกว้าง

อ.สิทธิชัย เทพย์ไพฑูรย์  ม.ศรีปทุม นำเสนอว่า ในวงการผลิตเกมจริงๆแล้วมีเกมที่มีความสร้างสรรค์และอาจจะครอบคลุมประเด็นที่สังคมต้องการอยู่แล้วและมีชาวไทยที่พัฒนาเองอยู่มากแต่ไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจัง ทั้งในแง่ของการพัฒนาผลงาน การตลาด เป็นต้น

นางปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร  ผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจล นำเสนอให้ทีมงาน ช่วยนำภาพรวมของ Serious game มาให้เห็นภาพรวมทั้งไทยและต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน เป็นต้น เพื่อความชัดเจนว่า เราจะใช่เกมเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนได้อย่างไร? โดยนำผลสำเร็จและ เงื่อนไขของความสำเร็จของแต่ละประเทศมาพิจารณาเพื่อปรับหาแนวทางที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย

 

และท้ายที่สุด อ.อิทธิพล ปรีติประสงค์  สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล ผู้ดำเนินรายการได้ เสนอให้ประชุมวงย่อยทั้งสามกลุ่ม กลุ่มคนทำงานด้านเด็ก ผู้ประกอบการเกม และ กับคนทำงานขับเคลื่อน ประเด็นของการทำงานก็คือ การหาสมการร่วมว่าแต่ละกลุ่มอยากให้ไอเกมหน้าตาเป็นอย่างไร ประเด็นสำคัญที่อยากให้เอามาทำเป็นไอเกมคืออะไร มีตัวอย่างเป็นรูปธรรมที่เรียกว่าเกมต้นแบบสักสาม สี่ เกมก็จะดี ว่าแต่ละเกมคืออะไร และ มีแนวทางในการพัฒนาเกมแต่ละเกมอย่างไรที่เป็นรูปธรรม การทำงานร่วมกับเครือข่ายคนทำงานด้านเด็ก เพื่อหารือ ข้อเสนอเชิงประเด็นว่าอยากให้ไอเกมมีเรื่องอะไรบ้าน่าจะจัดประมาณอาทิตย์หน้าครับ ส่วนเวทีผู้ประกอบการ จะหารือกับ คุณเลิศชาย (เอเซียซอฟท์) ทางทรู ทางอินนิทรี ฟิวเจอร์เกมเมอร์ เพื่อหารือถึงความเป็นไปได้ในการพัฒนาเกม ต่อยอด หรือสร้างเกม สำหรับเวทีคนทำงานขับเคลื่อน จะลองหารือกับคนทำงานด้านกระบวนการเรียนรู้ รวมไปถึง e- Sport เพื่อสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้และเลือกไอเกม

 

 

หมายเลขบันทึก: 267006เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2009 22:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท