ใบความรู้


ใบความรู้

เรื่อง สมบัติของสารและการจำแนกสาร

 

1. สารและสมบัติของสาร

 

                1.1 ความหมายของสาร     

                             สาร หมายถึง สิ่งที่มีรูปร่าง มีมวล ต้องการที่อยู่และสามารถสัมผัสได้ เช่น ดิน น้ำ  สมุด  ปากกา อากาศ เป็นต้น ( กาญจนา  เนตรวงศ์.  2543 : 75 )       

                             สาร หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา มีตัวตน มีน้ำหนัก ต้องการที่อยู่ และสัมผัส ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า เช่น อากาศ ต้นไม้ ก้อนหิน ดินสอ โต๊ะ ปากกา ดีบุก น้ำ เป็นต้น

( ประเสริฐ  ศรีไพโรจน์.  2545 : 213 )           

                             สาร หมายถึง สิ่งที่มีตัวตน มีมวลหรือน้ำหนัก ต้องการที่อยู่และสามารถสัมผัสได้

เช่น ดิน หิน น้ำ อากาศ พืช และสัตว์ ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบ ๆ ตัวเราจัดเป็นสารทั้งสิ้น

( ยุพา  วรยศ  และคณะ.  2546 : 71 )               

                กล่าวโดยสรุปได้ว่า สาร หมายถึง สิ่งที่มีตัวตน มีน้ำหนัก ต้องการที่อยู่ และสัมผัสได้ เช่น น้ำ น้ำมัน น้ำปลา น้ำอัดลม แชมพู ทองเหลือง ผงซักฟอก เกลือ น้ำตาลทาย อากาศ โต๊ะ เก้าอี้ สมุด หนังสือ ปากกา ดินสอ ยางลบ ดิน หิน ทราย พืช สัตว์ และทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา

                1.2 ความหมายสมบัติของสาร

                                                                                               

                             สมบัติของสาร หมายถึง ลักษณะเฉพาะของสารแต่ละชนิดเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาว่าสารนั้นเป็นสารชนิดใด เนื่องจากสารแต่ละชนิดมีสมบัติไม่เหมือนกันทุกประการ ดังนั้นการทดสอบสมบัติของสารจึงเป็นการพิสูจน์และจำแนกสารแต่ละชนิด

( กาญจนา  เนตรวงศ์.  2543 : 75 )

                             สมบัติของสาร หมายถึง ลักษณะเฉพาะของสาร ซึ่งสารแต่ละชนิดจะมีสมบัติที่แตกต่างกัน เราสามารถใช้สมบัติของสารมาจำแนกชนิดของสารได้ ( บัญชา  แสนทวี.  2546 : 3 ) 

                             กล่าวโดยสรุปได้ว่า สมบัติของสาร หมายถึง ลักษณะเฉพาะตัวของสารที่สามารถ

บ่งบอกว่าสารชนิดนั้นคืออะไร ซึ่งสารแต่ละชนิดจะมีสมบัติที่แตกต่างกัน

 

                     1.3 ประเภทสมบัติของสาร แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สมบัติทางกายภาพ และ

สมบัติทางเคมี                      

 

                             1.3.1 สมบัติทางกายภาพของสาร       

                                       สมบัติทางกายภาพของสาร หมายถึง สมบัติที่สามารถตรวจสอบได้ง่ายโดย

การสังเกต จากลักษณะภายนอก เช่น สถานะ สี กลิ่น รส การละลาย จุดเดือด จุดหลอมเหลว

จุดเยือกแข็ง ลักษณะผลึก เป็นต้น ( กาญจนา  เนตรวงศ์.  2543 : 75 )

                                       สมบัติทางกายภาพของสาร หมายถึง สมบัติทางกายภาพเป็นสมบัติที่เราสามารถสังเกตได้ด้วยประสาทสัมผัส หรือตรวจวัดได้ด้วยเครื่องมือ เช่น ความแข็ง ความยืดหยุ่น การนำไฟฟ้า เป็นต้น ( บัญชา  แสนทวี.  2546 : 3 )

                                       สมบัติทางกายภาพของสาร หมายถึง สมบัติซึ่งสามารถสังเกตได้ง่ายจากภายนอก เช่น เป็นของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ สี จุดหลอมเหลว จุดเดือด การนำไฟฟ้า การนำความร้อน

ความแข็ง ความเหนียว หรือเปราะ ( ยุพา  วรยศ  และคณะ.  2546 : 71 )

                                       สมบัติทางกายภาพของสาร หมายถึง สมบัติบางอย่างบ่งบอกถึงรูปร่างลักษณะภายนอกที่สัมผัสได้สังเกตได้และทดสอบได้โดยไม่ใช้ปฏิกิริยาเคมีเป็นตัวบ่งชี้ เช่น สถานะ สี กลิ่น รส จุดเดือด จุดหลอมเหลว ความหนาแน่น และลักษณะเนื้อสาร เป็นต้น

( พิมพันธ์  เดชะคุปต์  และคณะ.  2548 : 54 )   

 

                                       กล่าวโดยสรุปได้ว่า สมบัติทางกายภาพของสาร หมายถึง สมบัติที่ตรวจสอบได้ง่าย จากการสังเกตจากลักษณะภายนอกโดยไม่ใช้ปฏิกิริยาเคมี เช่น สี กลิ่น รส สถานะ ลักษณะผลึก ความหนาแน่น การนำไฟฟ้า การนำความร้อน ความแข็ง ความเหนียว หรือเปราะ ความยืดหยุ่น การละลาย จุดเดือด จุดหลอมเหลว และจุดเยือกแข็ง เป็นต้น

                             1.3.2 สมบัติทางเคมีของสาร

 

                                       สมบัติทางเคมีของสาร หมายถึง สมบัติที่ตรวจสอบได้โดยดูการเปลี่ยนแปลงเมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมีขึ้น ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับโครงสร้างภายในของสาร เช่น ความสามารถในการสลายตัว แล้วเกิดเป็นสารใหม่ การเกิดปฏิกิริยาเคมีกับสารอื่น เป็นต้น ( กาญจนา  เนตรวงศ์.  2543 : 75 )

                                       สมบัติทางเคมีของสาร หมายถึง สมบัติทางเคมีเป็นสมบัติที่ได้จากการเปลี่ยนแปลงทางเคมีหรือมีการเกิดปฏิกิริยาเคมีของสาร ซึ่งได้แก่ ความเป็นกรด-เบส การเป็นสนิม การติดไฟ การทนความร้อน เป็นต้น ( บัญชา  แสนทวี.  2546 : 4 )

                                       สมบัติทางเคมีของสาร หมายถึง สมบัติที่ใช้ปฏิกิริยาเคมีเป็นตัวบ่งชี้ เช่น การติดไฟ การเกิดสนิม การเปลี่ยนแปลงทางเคมี การรวมตัวกับสารอื่นแล้วได้สารใหม่ สมบัติเหล่านี้เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบทางเคมีของสาร ( พิมพันธ์  เดชะคุปต์  และคณะ.  2548 : 54 )      

                                       กล่าวโดยสรุปได้ว่า สมบัติทางเคมีของสาร หมายถึง สมบัติที่ตรวจสอบได้ใช้ปฏิกิริยาเคมีเป็นตัวบ่งชี้ โดยดูการเปลี่ยนแปลงของสารเมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมีขึ้น เช่น การเกิดสนิม การติดไฟ ความเป็นกรด-เบส และความเป็นโลหะ-อโลหะ เป็นต้น

 

2. การจำแนกสาร

                                               

                     สารในชีวิตประจำวันมีจำนวนมากมาย จึงต้องมีการจัดหมวดหมู่เพื่อให้สะดวกในการศึกษาค้นคว้า การจำแนกสารสามารถทำได้โดยการตั้งเกณฑ์ขึ้นเพื่อใช้ในการพิจารณา เช่น สถานะ การนำความร้อน การละลายน้ำ เป็นต้น

 

                     2.1 การจำแนกสารโดยใช้สถานะของสารเป็นเกณฑ์ สามารถจำแนกสารได้ 3 สถานะดังนี้

 

                             2.1.1 สารที่มีสถานะเป็นของแข็ง หมายถึง สารที่มีรูปร่างและปริมาตรคงที่ อนุภาคของสารจะอยู่ชิดกัน และยึดกันแน่น เช่น หิน เหล็ก ทองแดง กำมะถัน เป็นต้น

                             2.1.2 สารที่มีสถานะเป็นของเหลว หมายถึง สารที่มีรูปร่างไม่คงที่เปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ สามารถไหลได้ แต่ปริมาตรคงที่ เช่น น้ำ น้ำส้มสายชู เป็นต้น

                             2.1.3 สารที่มีสถานะเป็นก๊าซ หมายถึง สารที่มีรูปร่างไม่คงที่เปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ มีปริมาตรไม่คงที่ เพราะฟุ้งกระจายเต็มภาชนะที่บรรจุ ทำให้มีปริมาตรเท่ากับภาชนะที่บรรจุ

เช่น ก๊าซออกซิเจน ก๊าซไนโตรเจน ก๊าซไฮโดรเจน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นต้น

( ยุพา  วรยศ  และคณะ.  2546 : 72 )               

  

                     2.2 การจำแนกสารโดยใช้การนำความร้อนเป็นเกณฑ์ สามารถจำแนกสารได้ 2 ประเภทดังนี้

                             2.2.1 สารที่เป็นตัวนำความร้อน คือสารที่ยอมให้ความร้อนเคลื่อนที่ผ่านได้ดี เช่น เงิน ทองแดง เหล็ก ดีบุก อะลูมิเนียม เป็นต้น

                             2.2.2 สารที่เป็นฉนวนความร้อน คือสารที่ไม่ยอมให้ความร้อนเคลื่อนที่ผ่านได้ดี เช่น ไม้ กระเบื้อง แก้ว ยาง พลาสติก เป็นต้น ( พิมพันธ์  เดชะคุปต์  และคณะ.  2548 : 162 )      

               

                     2.3 การจำแนกสารโดยใช้การละลายน้ำเป็นเกณฑ์ สามารถจำแนกสารได้ 2 ประเภท

ดังนี้

                             2.3.1 สารที่ละลายน้ำได้ คือสารซึ่งเมื่อนำไปละลายในน้ำแล้วสามารถละลายรวมกับ น้ำได้  เช่น เกลือแกง น้ำตาลทราย สีผสมอาหาร เป็นต้น

                             2.3.2 สารที่ไม่ละลายน้ำ คือสารซึ่งเมื่อนำไปละลายในน้ำแล้วไม่สามารถละลายรวมมกับน้ำได้  เช่น ดิน หิน ทราย เป็นต้น

ใบความรู้

เรื่อง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

 

1. ความหมายของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

 

                ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติและฝึกฝนความคิดอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นกระบวนการทางปัญญา ( ภพ  เลาหไพบูลย์.  2542 : 14 )

                ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการใช้กระบวนการต่าง ๆ ได้แก่ การสังเกต การวัด การจำแนกประเภท การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา การใช้ตัวเลข การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล การลงความคิดเห็น การพยากรณ์ การตั้งสมมติฐาน การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ การกำหนดและควบคุมตัวแปร การทดลอง และการตีความหมายข้อมูลและการลงข้อสรุป (วรรณทิพา  รอดแรงค้า.  2544 : ค)

                     ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความชำนาญและความสามารถในการใช้การคิดเพื่อค้นหาความรู้รวมทั้งการแก้ปัญหา ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นทักษะทางปัญญา ไม่ใช่ทักษะการปฏิบัติด้วยมือ เพราะเป็นการทำงานของสมอง การคิดมีทั้งการคิดพื้นฐานหรือการคิดในระดับต่ำ  และการคิดระดับสูงหรือการคิดที่ซับซ้อน ( พิมพันธ์  เดชะคุปต์ และพเยาว์  ยินดีสุข.  2548 : 9 )

 

                     กล่าวโดยสรุปได้ว่า ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ และความสามารถในการแก้ปัญหา รวมทั้งความสามารถในการใช้กระบวนการต่าง ๆ ได้แก่ การสังเกต การวัด การคำนวณ การจำแนกประเภท ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล การลงความคิดเห็น

การพยากรณ์ การตั้งสมมติฐาน การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ การกำหนดและควบคุมตัวแปร

การทดลอง และการตีความหมายข้อมูลและการลงข้อสรุป ซึ่งจัดเป็นกระบวนการทางปัญญา

2. ประเภททักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

 

                     สมาคมอเมริกันเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ (American  Association  for  the  Advancement  of  Science : AAAS) ได้กำหนดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไว้ 13 ทักษะ ประกอบด้วยทักษะขั้นพื้นฐาน 8 ทักษะ และทักษะขั้นผสมหรือบูรณาการ 5 ทักษะ ดังนี้

 

                     ทักษะขั้นพื้นฐาน8 ทักษะ ได้แก่ ( ภพ  เลาหไพบูลย์.  2542 : 14 )

                             1) ทักษะการสังเกต

                             2) ทักษะการวัด

                             3) ทักษะการคำนวณ

                             4) ทักษะการจำแนกประเภท

                             5) ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา

                             6) ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล

                             7) ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล

                             8) ทักษะการพยากรณ์

                     ทักษะขั้นผสมหรือบูรณาการ 5 ทักษะ ได้แก่ ( ภพ  เลาหไพบูลย์.  2542 : 14-15 )

                             9) ทักษะการตั้งสมมติฐาน

                             10) ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ

                             11) ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร

                             12) ทักษะการทดลอง

                             13) ทักษะการตีความหมายของข้อมูลและลงข้อสรุป

                                    

 

                     ทักษะขั้นพื้นฐาน 8 ทักษะ ได้แก่ ( พิมพันธ์  เดชะคุปต์ และพเยาว์  ยินดีสุข.  2548 : 9 )

                             1) ทักษะการสังเกต

                             2) ทักษะการวัด

                             3) ทักษะการใช้เลขจำนวน

                             4) ทักษะการจำแนกประเภท

                             5) ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา

                             6) ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล

                             7) ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล

                             8) ทักษะการพยากรณ์

                     ทักษะขั้นผสมผสาน 5 ทักษะ ได้แก่ ( พิมพันธ์  เดชะคุปต์ และพเยาว์  ยินดีสุข.  2548 : 9 )

                             9) ทักษะการตั้งสมมติฐาน

                             10) ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ

                             11) ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร

                     &

หมายเลขบันทึก: 266441เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2009 07:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

น่าจะมี สมบัติทางเคมีเป็นเกณฑ์ฝนกานจำแนกสาร

โอ้โห ความรู้แน่นเอี๊ยดจริง ๆ เลยน่ะค่ะ อิอิ

ใบความรู้จริง ๆ

โห เจ๋งสุดๆค่ะ ได้ข้อมูลบึมเลย

สุดยอดปัยเลย  ด้ายงานเยอะเลย

นางสาว อุ่นฤดี มงคลการ

โห อ่านแล้วมีสาระความสำคัญ

รบกวนสอบถามหน่อยนะครับ สสารกับสาร เหมือนหรือต่างกัน ครับไปอ่านหนังสือหลาย ๆ เล่มเขาก็บอกมันเหมือนกันเเต่ อีกหลาย ๆ เล่มก็บอกว่า สารคือเนื้อของสสาร ที่ศึกษาค้นคว้าจนทราบสมบัติเเละองค์ประกอบเหมือนกัน  ขอคำเเนะนำด้วยนะครับ เพราะ กลัว เด็ก ๆ จะ misconception ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท