มะเร็งต่อมน้ำเหลือง


นอกเหนือจากการแบ่งชนิดของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแล้ว ผลการพยากรณ์ของโรค ยังขึ้นอยู่กับ ความแข็งแรง การดูแลสุขภาพตัวเองของคนไข้ด้วยมาก ๆค่ะ

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

 

คุยกับคุณน้องซานเรื่องนี้ จึงพอได้รับทราบมาว่า คนไม่รู้จักมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมากนัก เราอาจจะเคยได้ยิน มะเร็งเม็ดเลือดขาว บ่อยกว่า

เรามาพุดคุยกันเรื่องโรคนี้ คร่าว ๆ ก่อนนะคะ

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง หรือ Lymphoma เป็นมะเร็งที่ก่อเกิดมาจาก เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด lymphocytes ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเรา (immune system) ซึ่งมีแหล่งที่อยู่ในต่อมน้ำเหลืองนั่นเอง

คนไข้มักมาพบแพทย์ เนื่องด้วยมีก้อนเนื้อโตขึ้นในตำแหน่งของต่อมน้ำเหลืองเป็นส่วนใหญ่  บางชนิดก็มาแบบมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่เรียกว่า lymphoid leukemias คือมีอาการซีด โลหิตจาง ไข้ ติดเชื้อบ่อย ๆ

lymphoid leukemias พบในระบบหมุนเวียนของกระแสโลหิต หรือ ไขกระดูก ซึ่งเป็นแหล่งต้นกำเนิดของเซลล์ระบบโลหิตวิทยานั่นเองค่ะ

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองมีมากมายหลายชนิด มีรายละเอียดมากมาย คงไม่กล่าวถึงหมดในนี้นะคะ

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดแรกที่มีกล่าวไว้เป็นหลักฐาน คือ Hodgkin's lymphoma(HL) ตั้งแต่ปีค.ศ.1832 ตั้งแต่นั้นมามีการแบ่งอีกหลายชนิดค่ะ เช่นแบ่งแบบWorking formulation classification(ปีค.ศ.1982) หรือแบ่งแบบแบบ WHO (ปีค.ศ.2001) ซึ่งกล่าวถึง non-Hodgkin lymphoma (NHL)ไว้ด้วย ชนิดของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองยังแยกย่อยได้อีกหลายชนิด แล้วแต่ลักษณะทางพยาธิสภาพของเซลล์มะเร็งดังกล่าว

มีรายละเอียดชื่อชนิด ของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ที่ขอกล่าวถึงไว้นิดหน่อยคือ ถ้าเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด small lymphocytic lymphoma จะมีการพยากรณ์โรคดีมาก ในขณะที่บางชนิดเช่น  Burkitt's lymphoma จะค่อนข้างดุร้าย ลุกลามและเสียชีวิตได้เร็ว  (*วันก่อนอาจจะบอกคุณน้องซานผิดไปหน่อยค่ะ)

การพยากรณ์ของโรคจึงขึ้นกับความสำคัญของการให้คำวินิจฉัย จัดแบ่งกลุ่มจากการตรวจวินิจฉัยของ หมอ pathologist หลังจากการตรวจชิ้นเนื้อค่ะ

นอกเหนือจากการแบ่งชนิดของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแล้ว ผลการพยากรณ์ของโรค ยังขึ้นอยู่กับ ความแข็งแรง การดูแลสุขภาพตัวเองของคนไข้ด้วยมาก ๆค่ะ

 

 

จึงต้องมีตอนต่อ สำหรับข้อปฎิบัติตนของคนไข้ ผู้ดูแลคนไข้ และ ผู้ดูแล-ผู้ดูแลคนไข้(คำสุดท้ายนี่ ยืมของคุณหมอมัทนา มาค่ะ)

**ขอบคุณ วิกิพีเดีย ค่ะ**

หมายเลขบันทึก: 266224เขียนเมื่อ 5 มิถุนายน 2009 22:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 ตุลาคม 2013 21:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • แวะมาเรียนรู้ค่ะ
  • วันนี้ศิลาเข้าห้องสมุดยืมหนังสือเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพมาศึกษา ทั้งเรื่องอาหาร ธรรมชาติบำบัด อื่น ๆ อีกมากมาย
  • พอมาอ่านบันทึกของคุณภูสุภาก็รู้สึกว่าตรงกับอารมณ์ส่วนตัวตอนนี้ที่กำลังอยากศึกษาเกี่ยวกับสารพัดโรคใกล้ตัวอยู่พอดีค่ะ  คงไม่ใช่เรื่องบังเอิญแน่เลย 
  • ขอบพระคุณค่ะ
  • พอมาอ่านบันทึกของคุณภูสุภาก็รู้สึกว่าตรงกับอารมณ์ส่วนตัวตอนนี้ที่กำลังอยากศึกษาเกี่ยวกับสารพัดโรคใกล้ตัวอยู่พอดีค่ะ  คงไม่ใช่เรื่องบังเอิญแน่เลย 
  • PSila Phu-Chaya
    ไม่บังเอิญค่ะ ปกติพี่เขียนแบบนี้ไม่มาก เพราะค่อนข้างตัดสินใจยากว่า เขียนอย่างไรให้พอดี อ่านไม่ยุ่งยากมากไป ไม่น้อยไป
  • พอดีว่า น้องซานเขาอยากรู้เรื่องข้อควรปฏิบัติ จึงท้าวความกันหน่อยก่อน
  • แนะนำได้นะคะ อยากหัดเขียนแบบ ท่านอื่น ๆ ที่เขียนเกี่ยวกับสุขภาพได้ไหลลื่น สนุก ชวนติดตาม และได้นำไปใช้เป็นประโยชน์ได้ค่ะ
  • กำลังแอบไปอ่าน อ่าน และอ่านบันทึกคุณศิลานะคะ...ยังไม่ได้ ฝากอะไรเพราะ...;P
  • อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท