ข้าวสวย ตอน 11


"พวกเราทุกคนก็ควรจะกินข้าวสวยทุกเม็ดให้หมดไม่เหลือทิ้งจะทำให้เกิดการสื่อเชื่อมโยงให้เห็นความรู้สึกของคนไทยที่กินข้าวเป็นอาหารหลักที่มีความผูกพันธ์กับชาวนา"

ข้าวที่เรากินบางปีแม่ก็จะตำข้าวกินเองซึ่งใช้เวลาหน้าแล้งหลังจากการทำนา (กุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม) เท่าผมจำได้น่าจะ 3-4 ปี โดยใช้การสีที่ชาวบ้านทำขึ้นจากไม้ไผ่สานแล้วใช้ดินเหนียวใส่ไว้ด้านในทำให้หนักที่ทำเป็นที่กระเทาะเปลือกข้าวออกเวลาหมุนสีโดยแรงของคนในครอบครัวเรา

จากนั้นแม่ก็จะใช้กระโด้งฝัดเพื่อแยกเอาแกลบออกก่อนแล้วก็เอามาตำโดยใช้ครกที่ทำด้วยไม้พร้อมทั้งใช้สากตะลุมพุกตำลงไปเพื่อแยกเปลือกที่ยังออกไม่หมดและขัดข้าวให้ขาวมากขึ้นถึงจะตำนานสักเท่าไร ผมก็เห็นข้าวสารที่ผลิตจากบ้านของเราไม่ขาวเหมือนข้าวที่สีมาจากโรงสี และเมื่อตำได้ระยะหนึ่งเราก็เห็นมีรำข้าวเกิดขึ้นในครก แม่และพี่สาวผมก็ทำการร่อนเอารำข้าวแยกออกจากเม็ดข้าวสารที่มีแกลบปนอยู่ แม่และพี่สาวผมก็จะฝัดเอาแกลบออก  เราก็จะได้ข้าวสารที่พร้อมที่จะนำไปหุงให้เป็นข้าวสวย และภายหลังการสีข้าว บ้านเราพึ่งพาโรงสีที่พ่อเอาเกวียนบรรทุกข้าวเปลือกใส่กระสอบไปสีและบรรทุกข้าวสารกลับบ้านซึ่งเมื่อยี่สิบปีมานี้หนทางสะดวกมากขึ้นเราก็ใช้บริการรถยนต์ที่หาได้ง่ายมากอย่างเช่นปัจจุบัน

                พ่อ-แม่บอกเราว่าบ้านเราเมื่อมีข้าวฤดูใหม่ออกแล้วพวกเราจะได้กินข้าวใหม่ก่อนใคร  ข้าวใหม่จะมีกลิ่นและรสชาติดี หุงขึ้นหม้อและเหนียวเพราะว่ายังมียางข้าวอยู่หากเราเก็บข้าวเอาไว้นานรสชาติที่เรากินข้าวสวยก็เหมือนอย่างข้าวที่เราซื้อร้านค้ามาหุงในทุกวันนี้  ในวันนี้ทุกครั้งที่มีการเก็บเกี่ยวข้าวใหม่เสร็จพี่สาวผมก็ยังเอาข้าวสารใส่กระสอบเตรียมไว้ให้น้องๆทุกคนเมื่อได้กลับไปเยี่ยมพ่อ-แม่ที่บ้าน  พ่อ-แม่ยังได้บอกพวกเราเสมอว่ากว่าจะเป็นข้าวสวยให้เราได้กินนั้นได้ผ่านความพยายาม ความยากลำบากของชาวนาที่ได้ต่อสู้ด้วยตนเองมาตามธรรมชาติ ในการทำนามาตั้งแต่ไถ ปลูกข้าว ดูแล เก็บเกี่ยวได้เป็นเมล็ดข้าวเปลือก และสีเป็นข้าวสาร นำไปหุงเป็นข้าวสวยที่ชาวไทยทุกคนได้กินเป็นอาหารหลักในแต่ละมื้อ หากทุกครั้งที่เราเคี้ยวข้าวกิน พร้อมระลึกถึงความยากลำบากของชาวนาไทยทุกคน พวกเราทุกคนก็ควรจะกินข้าวสวยทุกเม็ดให้หมดไม่เหลือทิ้งจะทำให้เกิดการสื่อเชื่อมโยงให้เห็นความรู้สึกของคนไทยที่กินข้าวเป็นอาหารหลักที่มีความผูกพันธ์กับชาวนา  และก็จะไม่ทิ้งข้าวสวยที่เป็นผลผลิตสุดท้ายของชาวนาซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลผลิตของพ่อ

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #จิตวิวัฒน์
หมายเลขบันทึก: 266207เขียนเมื่อ 5 มิถุนายน 2009 21:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท