อาชีพการทำนายังไม่หายไป จากไชยา


          ได้ลงไปดูแปลงพยากรณ์ศัตรูข้าว ในพื้นที่บ้านเหยียด หมู่ที่ 2 ตำบลป่าเว อำเภอไชยา ซึ่ง ตั้งอยู่ห่างจาก วัดสวนโมกขพลาราม ไปทางทิศเหนือ ประมาณ 3 ก.ม. คณะนิเทศงานที่นำโดยคุณจรัญ รอดศรีนาค และคณะคือ คุณสาธิต ดาราฤกษ์ คุณปุณยนุช เมฆศรี และหนุ่มร้อยเกาะ โดยมีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรจากอำเภอไชยา คุณสินธุ์ชัย ไวทยิน คุณพิชัย มุสิกะ และคุณสานิต ตันรักษา นำคณะจากจังหวัดไปดูกิจกรรม แปลงนาสาธิตการพยากรณ์ศัตรูข้าวเป็นโครงการส่งเสริมการเกษตรโครงการหนึ่งในปีนี้   ที่ตรงนี้เกษตรกรทำนาหว่าน ซึ่งขณะนี้เกษตรกรได้หว่านข้าว ไปแล้ว ประมาณ 15 - 20 วัน

    

         ได้นั่งคุยเสวนาแลกเปลี่ยนกันที่ศาลาเอนกประสงค์ของหมู่บ้าน ที่เป็นสวนป่าสาธารณะของชุมชน มีต้นไม้ที่ชุมชนอนุรักษ์ไว้ ร่มรื่นต้นใหญ่ๆ ทั้งนั้นเลย  ซึ่งอยู่ใกล้ๆกับแปลงนา  บรรยากาศเหมาะกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน  คณะได้มาวางแผนการปฏิบัติงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องการพยากรณ์ศัตรูข้าวในฤดูกาลนี้ ร่วมกับเกษตรกร เจ้าของแปลง โดยนัดเจอกันอีกครั้ง ในวันที่ 10 มิ.ย. นี้

 

และวันนี้ คุณจรัญ มีภารกิจอีกอย่างหนึ่ง คือ จะมาประสานขอข้าวกล้าของชาวนา ที่ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดฯ จะนำไปใช้สาธิตการทำนา ให้กับคณะ “ To be number one”   ได้ชม ที่ศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียงภาคใต้ ค่ายวิภาวดีรังสิต ในวันที่ 9 มิถุนายน 2552 นี้ เมื่อเจรจาพาทีตกลงกันเสร็จเรียบร้อย  เห็นว่ามีพี่น้องชาวนามากันหลายคน ผมจึงได้ชวนคุยเรื่องความเป็นมาและสถานการณ์การทำนาของที่นี่ จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งก็เจอชาวนาตัวจริง เสียงจริง เข้าพอดี คือ คุณป้าหีด (อุบล นิลจันทร์) อายุ 65 ปี ที่มีประสบการณ์ทำนามายาวนาน  โอกาสอย่างนี้หายากครับ  ไหน ๆ ก็เจอผู้มีประสบการณ์ แล้ว จึงถือโอกาสสืบค้นข้อมูลซะเลย  ใช้เวลาในวงสนทนาแลกเปลี่ยนประมาณชั่วโมงกว่า ๆ ได้ข้อมูลประวัติการทำนาของที่นี่มากพอสมควร เมื่อเห็นว่าเป็นการรบกวนเวลาของเกษตรกรมานานพอควร  และประกอบกับเวลา 4 โมงกว่าแล้ว พวกผมยังต้องใช้เวลาในการเดินทางกลับเข้ามาสำนักงาน ที่ในเมืองอีก ประมาณ 80 กม. จึง ขอบคุณป้าหีด และคณะ ที่ให้ข้อมูลและขอตัวกลับ 

     

         ป้าหีด อุบล นิลจันทร์            กับที่นา ที่มีเหลืออยู่ไม่มากแล้ว

ชาวนาที่นี่  ยังดำรงวิถีชีวิตแบบชนบท คือชาวนาที่มีนิสัยโอบอ้อมอารี มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แก่กัน ตกลงให้กล้าข้าวหอมมะลิ แก่คุณจรัญ  20 - 30 กำ  และจะถอนต้นกล้าให้ด้วย โดยรวมกันให้ รายละ 2 - 3 กำ (ถอนแยกข้าวพอดี) นัดให้มารับได้ในวันที่ 8 มิถุนายน 2552 นี้ ตอนบ่าย ๆ

 

ซึ่งคิดว่าเป็นเรื่องที่หาดู หาสัมผัสได้ยาก ในสังคมเมือง หรือสังคมกึ่งเมือง ในปัจจุบัน  ที่มีแข่งขันกันมากขึ้น เห็นแล้วชื่นใจ จริงๆ    ำหรับข้อมูลการทำนาของ ตำบล   ป่าเว อำเภอไชยา นั้น จะเรียบเรียงนำเสนอในโอกาสต่อไปครับ

 

                                                                                      ชัยพร  นุภักดิ์

                                                                                      03 มิ.ย. 2552

หมายเลขบันทึก: 265553เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2009 23:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

สวัสดีค่ะ

- นำฝนมาฝากคนทำนาค่ะ

- สุขกายสุขใจนะคะ

สวัสดีครับ P ครู พรรณา

  • นอนดึกจังครับ
  • ที่สุ1000 นาเยอะกว่า สุราด มากๆ

สวัสดีค่ะ

.แวะมาทักทายและอ่านบันทึกค่ะ

.แถวบ้านนาทราย ตำบลเลม็ด อำเภอไชยา เปลี่ยนที่นามาเป็นสวนปาล์มกันบ้างแล้วค่ะ

สวัสดีค่ะ

  • ในชุมชน..เขาต้องการความเข้มแข็งและมีความเอื้ออาทรอยู่เป็นทุนแล้วนะคะ 
  • เพียงแต่..ขอให้มีผู้นำที่สามารถ..ทุกอย่างก็จะเสริมสร้างความรักความสามัคคีได้ดียิ่ง ๆขึ้นไป
  • อยากมีโอกาสมาเทียวสวนโมกข์ จังค่ะ

หวัดดีครับ

อ่านแล้วคิดถึงไชยา

เคยไปรับราชการอยู่ ๑ ปี สมัยปี ๒๕๒๗-๒๕๒๘

ตำบลที่หนุ่มร้อยเกาะไปนั่น ตำบลเหวียด หรือเปล่า

คิดถึงครับ

สวัสดีครับ P คุณอุดมพันธ์

  • ที่นาถูกรุกราน ไปมากโขแล้วครับ
  • ไม่รู้จะแก้อย่างไร..

สวัสดีครับP คุณครูคิม

  • วันหน้าเดินทาง มาทางใต โดยรถยนต์ รถไฟ จะได้สัมผัสบรรยากาศ 2 ข้างทาง ได้เยอะเลยครับครู

 

สวัสดีครับ P ท่านอัยการชาวเกาะ

  • ชื่อบ้านเหยียด ครับ
  • ผมถามป้าหีด แล้วว่า ชื่อบ้าน ได้แต่ใดมา ท่านบอกว่า มีมาก่อนท่านเกิดอีก
  • ต.เหวียด เดี๋ยวนี้อยู่ในเขตอำเภอท่าฉางครับ
  • ท่านฯไม่มาเยี่ยมถิ่นเก่าบ้างหรือครับ

 

สวัสดีครับ

ตราบใดคนไทยยังกินข้าว อาชีพทำนายังไม่หายไปหรอกครับ แต่ทำไมชาวนายิ่งทำยิ่งจนก็ไม่รู้นะครับ ท่านหนุ่มร้อยเกาะ

สวัสดีครับP คุณเจษฎา กาพย์ไชย

  • ชาวนา กระดูกสันหลังของชาติ
  • ต้องรับภาระหนักเพื่อสังคม และชาวโลก

 

อย่าลืม KM การตลาดมังคุด ของ อ. พนมนะจ๊ะ

  • ในชุมชนยังมีทุนทางสังคมอยู่สูงมาก
  • ควรช่วยกันสนับสนุนให้อาชีพคู่บ้านคู่เมืองนี้ให้คงอยู่นะครับ
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีครับพี่ P วิไลวรรณ

  • จะพยายามหาเวลาว่าง ครับ

สวัสดีครับ คุณP เกษตร(อยู่)จังหวัด

  • ทำนา 1 ไร่ ใช้บริโภค ได้ 3 คน ต่อปี 4 ไร่ ได้หลายคนอยู่นะ


สวัสดีครับ คุณP สิงห์ป่าสัก

  • องค์ความรู้ มีเยอะ แต่ค่อยหมดไป ถ้าไม่มีใคร จัดการ เก็บรวบรวม มันไว้
  • จะมีอยู่อีกนานแค่ไหน

 

เรียนจบปริญญาตรีมาได้ก็เพราะทุ่งนาของพ่อแม่

วันใดข้างหน้ายังไงก็ต้องใช้ความรู้ที่เรียนมามาพัฒนา

ผืนนาของพ่อและแม่ให้ได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท