- ความเป็นมา จุดเริ่มต้นเริ่มของการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการหน่วยการเรียนรู้:สะสมหน่วยกิตบ้านุทุ่งขามมาจาก โครงการจัดการศึกษานอกโรงเรียนเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน เศรษฐกิจพอเพียงพ้นความยากจน บ้านทุ่งขาม หมู่ที่ 6 ตำบลใหม่พัฒนา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง โดยการจัดเวทีประชาคมค้นหาความต้องการ ทั้งหมด 6 เวทีด้วยกัน โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหา วิเคราะห์ความต้องการ จนได้ แผนชุมชนบ้านทุ่งขาม ประกอบไปด้วยความสามารถหลัก ความต้องการที่จะพัฒนา วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม นอกจากนั้นได้จัดทำแผนปฏิบัติการ แผนธุรกิจ แต่ละพันธกิจ และผู้รับผิดชอบแต่ละกิจกรรม รวมทั้งระบุระยะเวลาที่จะดำเนินการแต่ละกิจกรรม ซึ่งแต่ละกิจกรรมเกิดจากการจัดเวทีประชาคมทั้งหมด เป็นความต้องการที่แท้จริงของชุมชน ความต้องการที่จะพัฒนา มีอยู่ 3 ด้านด้วยกันคือ ความต้องการที่จะพัฒนาอาชีพ การเลี้ยงปลาในกระชัง การปลูกผักสวนครัว การทำสวนส้ม การทำสวนลำไย การปลูกพริก ความต้องการด้านพัฒนาสวัสดิการทางสังคมของชุมชน คือ การดูแลรักษาสุขภาพ การป้องกันโรคไข้เลือดออก และการรณรงค์ลดการดิ่มสุรา กองทุนหมู่บ้าน การพัฒนาแหล่งน้ำ การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำยาว การจัดทำบัญชีของกลุ่มออมทรัพย์ ความต้องการพัฒนาด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม โดยการส่งเสริมให้ทุกคนลด ละเลิกอบายมุข และปฏิบัติตนตามศาสนา เข้าวัดทุกวันพระ และร่วมกันอนุรักษณ์ประเพณีสรงน้ำพระธาตุดอยฮาง และพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว
- ทั้ง 3 พันธกิจ ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเกาะคา ได้จัดกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการที่ชุมชนได้วางแผนไว้ โดยผู้เรียนศึกษาเรียนรู้จากภูมิปํญญาในท้องถิ่น วิทยากรเป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ รวมทั้งการศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ภายนอก เมื่อได้จัดกระบวนการเรียนรู้ไปได้ระยะหนึ่ง ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเกาะคา จึงได้นำพันธกิจทั้ง 3 พันธกิจมาพัฒนาเป็นหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการหน่วยการเรียนรู้ โดยวิธีสะสมหน่วยกิต วิธีการเรียนรู้เรียนจากการปฏิบัติจริง ตามแผนปฏิบัติการทั้ง 3 พันธกิจ ไม่ได้มาพบกลุ่มหรือเข้าชั้นเรียน เหมือนการเรียนการสอนทั่วไป ทั้งนี้เนื่องจาก การจัดกระบวนการเรียนรู้ผู้เรียน ให้ความสนใจ และพยายาม ทดลอง ค้นคว้า นำเอาความรู้ต่าง ๆ มาประยุก์ใช้ในชีวิตประจำวันของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาชีพ การพัฒนาชุมชนและสังคม และด้านศาสนาศิลปวัฒนธรรม พัฒนาการต่าง ๆ ได้จากการเรียนรู้จากวิถีชีวิตของชาวบ้าน จริง ๆ เป็นการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงไม่จำเป็นต้องมาจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนอีก องค์ความรู้ที่เกิดในชุมชนก็เป็นสิ่งที่คนในชุมชนได้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนนอกโรงเรียนอำเภอเกาะคา มีหน้าที่เป็นผู้แนะนำ ที่ปรึกษา และอำนวยความสะดวกเท่านั้น องค์ความรู้ที่ผู้เรียนได้จากการปฏิบัติจริงนั้นก็จะถ่ายคืนให้กับผู้เรียนโดยไม่รู้ตัว โดยวิธีการสะสมหน่วยกิต จนครบตามหลักสูตรระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลายตามหลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียน หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ:สะสมหน่วยกิตนี้เป็นหลักสูตรท้องถิ่นที่พัฒนาขึ้นใช้เฉพาะบ้านทุ่งขาม ผู้เรียนก็จะได้วุฒิการศึกษาโดยไม่รู้ว่า สิ่งที่ตนเองต้องการพัฒนาอาชีพของตนให้พ้นความยากจน พัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งและยั้งยืน รวมทั้งการพัฒนาจิตใจ ศาสนาศิลปวัฒนธรรมนั้น ก็สามารถยกระดับการศึกษาของของคนในชุมชนได้
- การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการหน่วยการเรียนรู้ :สะสมหน่วยกิตบ้านทุ่งขาม มีทั้งหมด 5 หลักสูตรด้วยกันคือ
-
- หลักสูตรการเรียนการสอนแบบบูรณาการหน่วยการเรียนรู้: สะสมหน่วยกิตกลุ่มเลี้ยงปลากระชัง
-
หลักสูตรการเรียนการสอนแบบบูรณาการหน่วยการเรียนรู้: สะสมหน่วยกิตกลุ่มพริก
-
หลักสูตรการเรียนการสอนแบบบูรณาการหน่วยการเรียนรู้: สะสมหน่วยกิตกลุ่มลำไย
-
หลักสูตรการเรียนการสอนแบบบูรณาการหน่วยการเรียนรู้: สะสมหน่วยกิตกลุ่มสวนส้ม
-
หลักสูตรการเรียนการสอนแบบบูรณาการหน่วยการเรียนรู้: สะสมหน่วยกิตผักปลอดสารพิษ
-
การเรียนการสอนจะเป็นไปโดยธรรมชาติคือไม่มีห้องเรียน ห้องเรียนคือแม่น้ำ สวนผัก สวนลำไย สวนส้ม สวนพริก และแหล่งเรียนรู้ภายนอกอื่นๆ ครูผู้สอนของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเกาะคา ก็ไม่ได้ทำหน้าที่สอน มีหน้าที่ประสานงานวิทยากร อำนวยความสะดวก กำหนดวันให้ผู้เรียนมาพบกัน เพื่อเรียนรู้ร่วมกัน ประสานงานติดต่อภูมิปัญญาให้มาสาธิต ให้ความรู้ และลงมือฝึกปฏิบัติจริงในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ ต้องการแก้ปัญหาในการประกอบอาชีพกลุ่มต่าง ๆ คอยติดตาม สังเกตพฤติกรรมความเปลี่ยนแปลงผู้เรียนหลังจากได้เรียนรู้แล้ว ว่ามีพัฒนาการอย่างไร การวัดผลประเมินผลก็ดูจากชิ้นงานที่ได้ทำจริงในสวนของแต่ละคน การเรียนจึงไม่เหมือนกับการเรียนการสอนทั่วไป แต่เป็นการเรียนรู้อย่างเป็นไปโดยธรรมชาติ เพราะเป็นเรื่องที่ผู้เรียนสนใจ เป็นวิถีชีวิตประจำวันที่ผู้เรียนจะต้องปฏิบัติอยู่แล้ว ผู้เรียนจึงอยากศึกษา เรียนรู้ ค้นคว้าและทดลอง เพื่อนำไปปรับปรุงในอาชีพของเขาเอง และเพื่อพัฒนาชุมชนไปสู่วิสัยทัศน์ที่คนในชุมชนได้ร่วมกันกำหนดขึ้นคือ ภายในปี 2550 ชุมชนบ้านทุ่งขาม หมู่ที่ 6 มีรายได้ พออยู่พอกิน พึ่งตนเองได้ และมีค่านิยม คือ บ้านทุ่งขาม หมู่ที่ 6 ผักปลอดสารพิษ คิดพัฒนา พึ่งพาตนเอง เน้นศิลปวัฒนธรรม
-
ณราวัลย์ 2 พ.ค. 49
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ดร. ณราวัลย์ นันต๊ะภูมิ ใน Km กศน.เกาะคา ลำปาง
การจัดการเรียนการสอนแบบหน่วยการเรียน นับว่าเป็นกระบวนการค้นคิดเรื่องการสอนแบบใหม่ นับว่าเป็นการจัดการเรียนการสอนที่ควรสนับสนุน ซึ่งกลุ่มผู้เรียนนอกจากจะได้ความรู้ในการพัฒนาอาชีพให้มีรายได้เพิ่มแล้ว ยังส่งเสริม/สนับสนุนให้กลุ่มผุ้เรียน/ชุมชน ได้พัฒนาด้านศาสนา ศิลป วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และสวัสดิการทางสังคมด้วย
ขอชื่นชมผู้ค้นคิดแนวการจัดการศึกษานี้ด้วยค่ะ