พัฒนาระบบงานประสานงานวิจัย


การปรับเปลี่ยนหรือการพัฒนาอะไรก็ตามย่อมต้องมีผลกระทบต่อส่วนรวมไม่มากก็น้อย แต่ขอให้เกิดจากความรัก, ความสามัคคี, ความเป็นธรรมและถือประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ปัญหาอุปสรรคก็น่าจะลดลง.....การพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของระบบคุณภาพ

          ในการประชุมคณะกรรมการศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาปรับระบบงานของงานประสานงานวิจัยในวันนี้ ซึ่งมี พญ.รุจนี ป็นประธาน มีการ ลปรร.กันระหว่างผู้เข้าร่วมการประชุม ได้แก่ พญ.บุษบัน, นพ.วิศิษฎ์, นพ.สุทัศน์, นพ.วีรวัฒน์, พญ.จุไร, พญ.จริยา, คุณชาติญา, คุณบุญช่วย, คุณสมคิด,  คุณไพเราะ, คุณนพนัฐ และคุณศุภิดา ระหว่างเวลา 12.00 - 13.30 น. ซึ่งประธานได้เปิดโอกาสให้มีการเสนอแนวทางในการปรับระบบงานเพื่อตอบสนองวิสัยทัศน์ยิ่งขึ้น และเสนอให้เลือกหัวหน้างานประสานงานวิจัยใหม่ เพื่อให้คนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารจัดการ ข้อสรุปจากการประชุมในวันนี้ ประธานจะนำเสนอคณะกรรมการบริหารสถาบันเพื่อพิจารณาต่อไป 

          สรุปข้อเสนอในระยะเร่งด่วน ขอให้แต่งตั้งหัวหน้างานประสานงานวิจัยใหม่ คือ นพ.วิศิษฎ์, รองหัวหน้างาน คือ นพ.วีรวัฒน์  ที่ปรึกษาด้านงานพิจารณาโครงร่างการวิจัยและผลประโยชน์งานวิจัย คือ พญ.รุจนี, ที่ปรึกษาด้านการหาทุนสนับสนุนการทำวิจัย คือ พญ.บุษบัน

          และน่าจะมีการปรับโครงสร้างของงานประสานงานวิจัย, หาอัตรากำลังมาเพิ่มที่เป็นพยาบาลวิชาชีพเพื่อรองรับภาระงานวิจัยที่กำลังเพิ่มขึ้น สร้างค่านิยมและพัฒนาพยาบาลประจำงานประสานงานวิจัยเป็น Project Manager และกำหนดระบบค่าตอบแทนผู้ปฏิบัติงานเป็น Standard Rate ที่จูงใจผู้ปฏิบัติงานและสามารถรักษาผู้ที่มีทักษะและสมรรถนะที่เหมาะสมไว้ได้ 

          สำหรับแผนระยะยาวคงต้องพิจารณากันให้รอบคอบยิ่งขึ้น เพราะการปรับเปลี่ยนหรือการพัฒนาอะไรก็ตามย่อมต้องมีผลกระทบต่อส่วนรวมไม่มากก็น้อย แต่ขอให้เกิดจากความรัก, ความสามัคคี, ความเป็นธรรมและถือประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ปัญหาอุปสรรคก็น่าจะลดลง

          "การพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของระบบคุณภาพ"

 

คำสำคัญ (Tags): #งานคุณภาพ
หมายเลขบันทึก: 26568เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2006 22:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น
ฝากขอบคุณคณะกรรมการค่ะ   ขอแผนที่ไม่นิ่งให้ด้วยนะคะ

ขอเสริมพี่มอม ประเด็นของการปรับแนวคิดที่จะมองงานวิจัยของบุคลากรเป็นงานวิจัยของสถาบันฯ  โดยที่ทุกคนควรเห็นคุณค่าของผู้ทำวิจัย และนำผลงานวิจัยไปเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาความดีความชอบ

สำหรับการทำงานของพยาบาลในโครงการวิจัยทางคลินิก (ใหญ่ๆ) พบว่าบทบาทของพยาบาลมีความจำเป็นมากและเหมาะสมกว่าวิชาชีพอื่นๆ ซึ่งลักษณะงานนอกจากจะได้ใช้ทักษะทางการพยาบาลอย่างเต็มเปี่ยมแล้ว ยังต้องมีทักษะอื่นๆ เช่น ภาษาอังกฤษ การประสานงาน เป็นต้น  เป็นการทำให้พยาบาลได้ดึงศักยาภาพของตนเองออกมาใช้อย่างสูงสุด ซึ่งการทำงานแบบนี้ไม่ใช่การรับใช้แพทย์หรือใคร แต่เป็นการทำงานที่สามารถเรียกได้ว่าเป็น "Project manager"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท