จากตัวชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่นสู่การสร้าง "สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน"โดย อ.ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม....เวทีAARตัวชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่น(4)


ชีวิตของเขาตั้งมั่นอยู่กับเงื่อนไขแห่งการ "ให้" . เขาแทบจะ “หยุดให้” ไม่ได้ บุคลิกภาพของเขา มีความไหลลื่นเปิดเผย มีความคงเส้นคงวา และมีลักษณะเฉพาะ ซึ่งเขาจะมีความรู้สึกดีก็ต่อเมื่อ ...วันแล้ววันเล่า เขาก็ยังมีความมั่นคงมากขึ้น

คนที่บูรณาการงานแห่งชีวิต  จะมีใจจดจ่ออยู่กับงาน  รับผิดชอบต่อชีวิต  ความสัมพันธ์ที่เขามีและสร้างสรรค์สิ่งต่างๆด้วยพลังที่ยิ่งใหญ่  และเต็มไปด้วยชีวิตชีวา  เขาทุ่มเททุกสิ่งที่มีให้กับภารกิจที่อยู่ตรงหน้า  เพราะว่าการให้แบบนี้คือวิถีที่เขาเป็น  ชีวิตของเขาตั้งมั่นอยู่กับเงื่อนไขแห่งการ  "ให้"  หรือพูดอีกลักษณะหนึ่งคือ  เขาแทบจะ  “หยุดให้”  ไม่ได้  บุคลิกภาพของเขา  มีความไหลลื่นเปิดเผย  มีความคงเส้นคงวา  และมีลักษณะเฉพาะ  ซึ่งเขาจะมีความรู้สึกดีก็ต่อเมื่อ   พลังของเขาถูกใช้อย่างมีวัตถุประสงค์  ทำให้พลังของเขาเพิ่มขึ้น  นอกจากนี้เนื่องจากเขามีวินัยในตัวเอง  เขาจึงพัฒนาความซื่อตรงของตัวเองขึ้นมา  ขณะเดียวกันความสามารถในการรับฟังคนอื่นก็ถูกบ่มเพาะ  ทำให้ความเข้าใจคนอื่นของเขาเพิ่มขึ้นด้วย  เพราะเขารู้ว่า  เขาต้องการอะไร  อะไรคือเรื่องจำเป็น  เพื่อที่เขาจะเป็นคนที่สมบูรณ์  เขาสามารถรับผิดชอบกับคุณค่าต่างๆที่เขาให้ความสำคัญ  วันแล้ววันเล่า  เขาก็ยังมีความมั่นคงมากขึ้น  และเขาก็ยังเรียนรู้ที่จะให้ความใส่ใจกับผู้คนและเรื่องราวต่างๆ..................

                                                                             Marsha  Sinetar

หลายคนอดสงสัยไม่ได้  ว่าทำไมผู้ทรงคุณวุฒิอย่างอาจารย์ไพบูลย์ท่านก็อายุมากแล้ว  เป็นอดีตผู้บริหารระดับสูงที่ผ่านการทำงานรับใช้ชาติบ้านเมืองในหลายบทบาท  รวมทั้งเคยมีบทบาทสำคัญทางการเมืองเป็นถึงรองนายกฯและรัฐมนตรีว่าการพัฒนาสังคมฯ  ที่สำคัญสุขภาพท่านก็ไม่ค่อยจะอำนวยด้วย   ท่านน่าจะได้พักผ่อนอย่างสุขสบาย   ทำไมท่านยังให้ความสำคัญกับงานชุมชน  โดยเฉพาะกับชุมชนเล็กๆอย่างงานการจัดทำตัวชี้วัดการพัฒนาระดับพื้นที่ของชุมชนบ้านเลือก  อ.โพธาราม  จ.ราชบุรี

ผมคิดว่าข้อคิดของ  Marsha  Sinetar  ข้างบน โดยเฉพาะ........เขาสามารถรับผิดชอบกับคุณค่าต่างๆที่เขาให้ความสำคัญ  วันแล้ววันเล่า  เขาก็ยังมีความมั่นคงมากขึ้น  และเขาก็ยังเรียนรู้ที่จะให้ความใส่ใจกับผู้คนและเรื่องราวต่างๆ..  สามารถสะท้อนความเป็นตัวตนท่านอาจารย์ไพบูลย์ได้เป็นอย่างดี    กับสิ่งที่ท่านเห็นว่ามีคุณค่า  จึงเป็นพันธกิจหรือความรับผิดชอบอันใหญ่หลวงของท่านอาจารย์ไพบูลย์  วัฒนศิริธรรม   ดังจะเห็นได้ในบทความของท่าน    ที่ว่า  

  เป้าหมายการพัฒนาจะเน้นเป้าหมายสูงสุดว่า ประชาชนหรือสังคมต้องอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน เมื่อมีการตั้งเป้าหมายชัดเจนแล้วก็จะสามารถกำหนดแผนงาน กำหนดนโยบาย กำหนดยุทธศาสตร์ แยกออกมาเป็นโครงการต่างๆ แล้วลงมือทำได้ ขณะเดียวกันถ้าจะให้การบริหารการพัฒนาเหล่านี้มีประสิทธิภาพ ได้ประสิทธิผล วิธีหนึ่งที่ดีมากๆ คือ การกำหนดตัวชี้วัด ซึ่งก็ควรจะมีตัวชี้วัดวัดผลของการพัฒนา นั่นคือ ความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน อาจเรียกว่า “ตัวชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน”  การอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันควรให้ประชาชนหลายๆฝ่ายที่อยู่ในแต่ละพื้นที่ร่วมกันกำหนดตัวชี้วัด ตั้งแต่หน่วยที่เล็กที่สุด คือ หมู่บ้าน ตำบล เทศบาล.......

                  

                  

                  

อาจารย์ไพบูลย์ได้เขียนบทความดังกล่าวไว้ใน blog/paiboon/260975  การพัฒนาประเทศสู่การเป็นสังคมอยู่เย็นเป็นสุข

 

หมายเลขบันทึก: 264591เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2009 12:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท