ใส่เครื่องช่วยหายใจเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่ปอดหรือไม่


ใส่เครื่องช่วยหายใจเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่ปอดหรือไม่
อุบัติการณ์ ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม 1 โรงพยาบาลอุดรธานี โดย ภาณุ อดกลั้น , นันทกา เหล่าอรรคะ และ บุษบา ประสารอธิคม( 2552 ). บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเอกสารย้อนหลัง ( Retrospective Research ) ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยการใส่ท่อหายใจ และเครื่องช่วยหายใจ หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม 1 โรงพยาบาลอุดรธานี การวิจัยครั้งนี้รวบรวมข้อมูลในช่วงเวลา 1 ตุลาคม 2548 – 30 กันยายน 2551 รวมระยะเวลา 3 ปี การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ใช้ค่าสถิติ ไคสแควร์ทดสอบ (Chi-Square Tests) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. อัตราการติดเชื้อจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ จำแนกตามปี งบประมาณปี 2549 ร้อยละ 29.2 งบประมาณปี 2550 ร้อยละ 15.5 และ งบประมาณปี 2551 ร้อยละ 32.3 อุบัติการณ์การติดเชื้อจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ปี 2549 คิดเป็น 24.3 ปี 2550 คิดเป็น 15.8 ปี 2551 คิดเป็น 27.2 (หน่วยเป็นจำนวนครั้งที่ติดเชื้อต่อ 1,000 วันที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ) ตามลำดับ 2. ปัจจัยด้านบุคคล การรักษาพยาบาลบางประการ และด้านเชื้อก่อโรค ที่เกี่ยวข้องกับเกิดโรคปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม 1 โรงพยาบาลอุดรธานี พบว่า กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 69.7) อาการแทรกซ้อน(Complication) ที่พบร่วมกับ VAP คือ Phlebitis ร่วมกับ electrolyze Imbalance และอื่นๆ (ร้อยละ 41.3) โรคที่พบร่วมกันกับโรคที่เจ็บป่วยของผู้ป่วย คือ ภาวะความดันโลหิตสูงร่วมกับเบาหวาน (ร้อยละ 20.6) ในวันที่ผู้ป่วยเกิด VAP พบว่าใช้ชนิดท่อหายใจชนิด Endotracheal tube (ร้อยละ 67.1) อัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยเกิด VAP ร้อยละ 9 ผล Gram Stain พบเชื้อ (ร้อยละ 62.6) และเชื้อโรคที่พบส่วนใหญ่ คือ เชื้อ Gram - Bacilli (ร้อยละ 87.76) จำนวนชนิดของเชื้อโรคที่พบจากการตรวจ Gram Stain พบเชื้อโรค 1 ชนิด (ร้อยละ 65.16) จากการเพาะเชื้อในเสมหะ(sputum C/S) พบการติดเชื้อโรคในวันที่ 6 (ร้อยละ 20.6) และเฉพาะในช่วงระยะเวลา 10 วันหลังใช้ ventilator พบการติดเชื้อโรคสูงถึง ร้อยละ 90.9 การเกิด VAP ในผู้ป่วยที่ดึงท่อหายใจออกเอง และต้องใส่ใหม่ (ร้อยละ 11.6) ผล Culture and Sensitivity ในผู้ป่วย VAP พบว่าส่วนใหญ่มีเชื้อก่อโรค 2 ชนิด (ร้อยละ 33.3) เชื้อโรคที่พบจากการตรวจ Culture and Sensitivity มาก 3 อันดับแรกได้แก่ Acinetobacter baumanii (ร้อยละ 54.4 ) Pseudomonas aeruginosa (ร้อยละ 41.1) และ Klebsiella pneumoniae (ร้อยละ 37.8) ตามลำดับ ยาปฏิชีวนะที่ใช้ในการรักษามาก 3 อันดับแรกได้แก่ Meropenam (ร้อยละ 58.16) Sulperazone (ร้อยละ 40.82) และ Fortum (ร้อยละ 39.80) การใช้ยาปฏิชีวนะส่วนใหญ่มักสั่งใช้ 2 ชนิด (ร้อยละ 35.5) 3. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการ กับการเสียชีวิต ของผู้ป่วยโรคปอดอักเสบ จากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ด้วยค่าสถิติไคสแควร์ทดสอบ (Chi-Square Tests) โดยกำหนดค่า ที่ .05 พบว่ามี ตัวแปร 5 ตัวที่มีความสัมพันธ์กันกับการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคปอดอักเสบ จากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ได้แก่ 1) ระดับน้ำตาลในเลือด ( = 8.2352 ค่า P = .016 ) 2) ผล Arterial Blood Gas ( = 15.578 ค่า P = .004 ) 3) ผล ( = 5.535 ค่า P = .019 ) 4) ผล GCS ( = 29.628 ค่า P = .000) 5) Mode ของเครื่องช่วยหายใจ ( = 25.170 ค่า P = .000 )
หมายเลขบันทึก: 262418เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2009 10:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 13:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท